วช. ร่วมกับ เครือข่ายวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดระดมความเห็นการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ

  • 26 April 2023
  • Author: PMG
  • Number of views: 2069
วช. ร่วมกับ เครือข่ายวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดระดมความเห็นการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย กองมาตรฐานการวิจัยและสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ เครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดการประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุม เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 ณ โรงแรม เดอะ คาวาลิ คาซ่า รีสอร์ท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โดยการประชุมดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 21 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมระดมความคิดเห็น จำนวน 86 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ เครือข่ายภูมิภาคด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ 4 ภูมิภาค มหาวิทยาลัยแม่ข่าย (node) และมหาวิทยาลัยแม่ข่ายขนาดกลาง (M-node) ด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ จำนวน 15 แม่ข่าย และกรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ สร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อการตกลงยอมรับร่วมในการตรวจประเมินรูปแบบ Peer Evaluation ทั้งนี้ จากการระดมความคิดเห็น ทำให้ วช. ได้แนวทางการดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการในระยะต่อไป เช่น การขยายมหาวิทยาลัยแม่ข่ายขนาดกลางเพิ่มเติมอีก 5 แห่ง เพื่อให้การดำเนินงานมีความครอบคลุมมากขึ้น แนวทางการสร้างความร่วมมือผ่านการลงนาม MOU ระหว่าง วช. และ เครือข่าย-แม่ข่าย การกำหนดเจ้าภาพการประชุมวิชาการประจำปีเครือข่ายมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ปี 2567 ซึ่งได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การชี้แจงและทำความเข้าใจการรับรองห้องปฏิบัติการรูปแบบ Peer Evaluation การจัดทำใบรับรองนักวิจัยที่ดำเนินงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีเพื่อประกอบการเสนอขอรับทุนวิจัย ในระบบ NRIIS เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงประเด็นความท้าทายสู่ความยั่งยืน อาทิ การดึงห้องปฏิบัติการและมหาวิทยาลัยที่ยังไม่อยู่ในระบบเข้าสู่ระบบ โดยการสร้างระบบ register หน่วยบริหารจัดการความตกลงร่วม Certification Body (CB) และหน่วยฝึกอบรมบุคลากร การพัฒนากลไกการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้ห้องปฏิบัติการเข้าร่วมโครงการ การเชื่อมโยงกับกลไกการสนับสนุนทุนวิจัย และกระตุ้นให้เกิดการพึ่งพาตนเอง การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ประเมิน รวมไปถึงการยกระดับ มอก.2677-2558 เป็น ISO (international standard)
Print
Tags:
Rate this article:
No rating

Categories