วช. ร่วมการประชุมประจำปีครั้งที่ 24 ของชมรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกตะวันตก ระหว่างวันที่ 23 - 27 พฤศจิกายน 2567 ณ เมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล

วช. ร่วมการประชุมประจำปีครั้งที่ 24 ของชมรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกตะวันตก ระหว่างวันที่ 23 - 27 พฤศจิกายน 2567 ณ เมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล














สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ ดร.อัณณ์ณิชา โตกิจกล้าธวัฒน์ รักษาการที่ปรึกษาระบบวิจัย และคณะ เข้าร่วมการประชุม 24th FERCAP International Conference ณ เมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ระหว่างวันที่ 23

– 27 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งจัดโดยชมรมจริยธรรมการวิจัยในคน ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Forum for Ethical Review Committees in the Asian and Western Pacific Region : FERCAP) เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัย คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยและผู้กำหนดนโยบาย โดยจัดให้มีเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

การประชุมครั้งนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพิจารณาทางจริยธรรมในการปกป้องอาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจัย ส่งเสริมความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความร่วมมือและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยให้แนวทางปฏิบัติทางจริยธรรมในการวิจัยในมนุษย์ทั่วโลกมีความก้าวหน้ามากขึ้น
ในการประชุมประจำปี 2024 SIDCER Recognition Ceremony ได้มีการมอบประกาศนียบัตรและโล่ ให้กับ IRB/IEC/REC ของสถาบันต่างๆ ที่ได้ผ่านการตรวจรับรองคุณภาพ จำนวน 30 แห่ง ดังนี้
1. ประเทศไทย จำนวน 18 หน่วยงาน
2. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย จำนวน 2 หน่วยงาน
3. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ จำนวน 8 หน่วยงาน
4. สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) จำนวน 2 หน่วยงาน
นอกจากนี้ SIDCER-FERCAP ได้ประกาศรางวัลคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่มีการดำเนินงานยอดเยี่ยม ในระดับ
1. รางวัล Best Surveyor Award ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา ปรศุพัฒนา ศูนย์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. รางวัล Best Poster Award ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ผลลัพธ์ของการประชุมครั้งนี้มีทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบถึงประเด็นจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของการวิจัยด้านสุขภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทราบบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ในการส่งเสริมทางวิทยาศาสตร์และจริยธรรมการวิจัยที่ดี บทบาทของหน่วยงานกำกับดูแล และคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในการคุ้มครองอาสาสมัครตลอดจนรับทราบแนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข เพื่อสามารถนำมาพัฒนาแนวทางการดำเนินงานของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Print

Categories