วช. ร่วมตรวจเยี่ยมการดำเนินงานวิจัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ

  • 2 July 2023
  • Author: PMG
  • Number of views: 331
วช.  ร่วมตรวจเยี่ยมการดำเนินงานวิจัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ
วช. ร่วมตรวจเยี่ยมการดำเนินงานวิจัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ
วันที่ 28 มิถุนายน 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่บริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ผู้แทนจากสำนักงบประมาณ และผู้แทนจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของโครงการวิจัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และรับฟังข้อมูลการรายงานผลการดำเนินงานด้านการวิจัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมแม่ริม อาคารอำนวยการและบริหารกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม และ เทศบาลตำบลหนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ที่มุ่งเน้นการนำผลสำเร็จจากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้ในมิติต่างๆ ทั้งด้านนโยบาย เศรษฐกิจ สังคม/ชุมชน และด้านวิชาการ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาแก้ไขปัญหาเร่งด่วนสำคัญของประเทศ โดย วช. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) บริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคม สิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ปัญหาท้าทาย และปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม และยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานวิจัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้ ได้แยกโครงการวิจัยออกเป็น 2 กลุ่มเรื่อง คือ ด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านการเตรียมรับสังคมสูงวัย โดยเป็นโครงการวิจัยที่มีการใช้กลไกความร่วมมือของทุกภาคส่วน ระหว่างหน่วยงานวิจัย สถาบันการศึกษา และชุมชน เพื่อขับเคลื่อนผลผลิตและผลสำเร็จจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ วช. จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลจากการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานในครั้ง จะแสดงให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการดำเนินงานวิจัย ที่สามารถผลักดันให้ทุกภาคส่วน สามารถนำงานวิจัยไปใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไป
รศ.ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า วช. เป็นหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม (PMU) ที่ให้การสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านสังคมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งงบประมาณที่ใช้ในการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม เป็นงบประมาณได้รับการจัดสรรมาจากทางสำนักงบประมาณ และเพื่อให้การบริหารจัดการงบประมาณเกิดความคุ้มค่าและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ จึงได้มีกลไกการติดตามประเมินผลและรายงานผลความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงาน ซึ่งในแผนการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานในพื้นที่นี้ ถือเป็นครั้งที่ 2 ที่ทาง สกสว. ได้ร่วมตรวจเยี่ยมโครงการวิจัยในพื้นที่ร่วมกับสำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อร่วมรับฟังผลการดำเนินงาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงกลไกการผลักดันงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ โดยความร่วมมือจากหน่วยงานภาคการศึกษา และหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อสนับสนุนให้งานวิจัยเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาสำคัญของประเทศ
ทั้งนี้ โครงการวิจัยที่มาร่วมนำเสนอผลการดำเนินงาน ได้แก่ 1) โครงการ “การพัฒนานวัตกรรมการวัดและประเมินผลทักษะทางนาฏศิลป์ไทยสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโดยใช้ไคเนกต์และไมโครคอนโทรลเลอร์” โดย ดร.ศริยา หงษ์ยี่สิบเอ็ด จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2) โครงการ “ครูช่าง สล่าศิลป์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชียงใหม่” และโครงการ“สืบสานงานช่างศิลป์ ถิ่นเชียงใหม่” รศ.ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3) โครงการ “การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนัง อัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้มทางธรรมเนียมประเพณีล้านนาสู่งานศิลปกรรมร่วมสมัย” และ โครงการ “ลายคำประยุกต์ในงานศิลปะล้านนา: การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนังร่วมสมัยเพื่อการสืบถอดวิถีชีวิตชุมชนในพระพุทธศาสนา โดย ผศ.ปฏิเวธ เสาว์คง จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ 4) โครงการ “มีดี" พลังเกษียณ สร้างชาติ : นวัตกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาทักษะงานในยุคดิจิทัลสำหรับผู้สูงวัย โดย รศ.ดร.นัทธี สุรีย์ จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Print
Tags:
Rate this article:
No rating

Categories