วช. เดินหน้านำทัพ ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมร่วมประกวดและจัดแสดงในงาน “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva”ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
วช. เดินหน้านำทัพ ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมร่วมประกวดและจัดแสดงในงาน “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva”ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้นำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยเข้าร่วมประกวด และจัดแสดงในงาน “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva” โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวเปิดงานการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมของประเทศ ที่ร่วมประกวดและจัดแสดงในงาน สิ่งประดิษฐ์นานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 48 โดยมี ศาสตราจารย์ (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิและอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ ดร.สมชาย โชคมาวิโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมทั้งผู้บริหาร และคณะนักวิจัย 38 หน่วยงาน เข้าร่วมในพิธีเปิด
ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งการจัดงานจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 26 – 30 เมษายน 2566 โดยภายในงานฯ มีผลงานเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการกว่า 1,000 ผลงาน
จากนานาประเทศกว่า 40 ประเทศ
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า หนึ่งในบทบาทและภารกิจที่สำคัญของ วช. คือการ ได้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานผู้มีอำนาจเสนอชื่อของประเทศไทย ที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานต่างประเทศในการเปิดรับสมัครพิจารณาคัดเลือกผ่านกระบวนการของ วช. และได้นำผลงานของนักประดิษฐ์ไทยเข้าสู่เวทีการประกวดแข่งขันและจัดแสดงในเวทีระดับนานาชาติงาน “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva” ในครั้งนี้นับเป็นโอกาสสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยในการได้แลกเปลี่ยนความรู้เทคโนโลยีและประสบการณ์กับนักประดิษฐ์และนักวิจัยจากนานาประเทศและได้เผยแพร่ผลงาน รวมถึงได้แสดงความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสายตาชาวโลกในปีนี้ วช. ได้สนับสนุนหน่วยงานเครือข่าย ด้านสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน จาก 38 หน่วยงาน มาร่วมนำเสนอ จำนวน 128 ผลงาน วช. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้แสดงศักยภาพของคนไทยที่มีความสามารถในด้านการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้นที่ไม่แพ้ชาติใดในเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาตินี้และเป็นจุดเริ่มต้นของการยกระดับให้ผลผลิตจากงานวิจัยและผลงานประดิษฐ์คิดค้นของคนไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ทั้งนี้ วช. ได้นำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงภายในงานดังกล่าว จำนวน 128 ผลงาน จาก 38 หน่วยงาน ทั้งในระดับเยาวชนและนักวิจัย นักประดิษฐ์ จากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ วิทยาลัยเทคโนโลยี
ไออาร์พีซี โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนพนมสารคาม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง บริษัท ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหาร ซีพีเอฟ จำกัด บริษัท ไอเดียทูเอ็กซ์เพิร์ท จำกัด บริษัท อาร์แอนด์ดี รีเสิร์ช อินโนเวชั่นแอนด์ ซัพพลาย จำกัด บริษัท ไอออนิค จำกัด บริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท 7 ดราก้อน อินโนเวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท วินโดร์ วิว จำกัด และบริษัท เลนส์ แอนด์ สมาร์ทคลาสรูม จำกัด
สำหรับ ผลงานที่ร่วมประกวดและจัดแสดง จำนวน 128 ผลงาน จาก 38 หน่วยงาน ดังนี้
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 23 ผลงาน
• ไฮโดรซิทลา: นวัตกรรมเครื่องดื่มที่สามารถป้องกันการเกิดนิ่วไต ช่วยยืดอายุขัย และชะลอวัย
• Aqua-Masculin: นวัตกรรมฮอร์โมนนาโนพร้อมใช้สำหรับสัตว์น้ำ
• กระบวนการเชิงนวัตกรรมเพื่อเพิ่มอายุของผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มด้วยนวัตกรรม PASS+28 Days
เพื่อเกษตรกรขนาดเล็กและขนาดกลาง
• ชุดทดสอบซีรั่มเพื่อระบุภาวะภูมิแพ้ไรฝุ่นในสุนัขภูมิแพ้ผิวหนังชนิดอาโทปีด้วยอิมโมโนโกลบูลินจีซับ
คลาสวัน
• ชุดทดสอบแบบไหลตามแนวราบอย่างอัตโนมัติร่วมกับเทคนิคเคมีไฟฟ้าสำหรับการตรวจวัดสารพันธุกรรมของโรคไวรัส ตับอักเสบบีด้วยการหยดตัวอย่างเพียงขั้นตอนเดียว
• นวัตกรรมชุดตรวจวัดปริมาณสารโลหะหนักด้วยวิธีไฟฟ้าเคมีที่ทำงานร่วมกับสมาร์ทโฟน
• กล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟนติดตั้งโพลาไรเซชันไขว้สำหรับจำแนกผลึกเกาต์
• AragoNano: นาโนแคลเซียมคาร์บอเนตชีวภาพจากขยะเปลือกหอยแมลงภู่
• AragoShine: เกล็ดแคลเซียมคาร์บอเนตชีวภาพที่เป็นประกายแวววาว
• Pearl Sand: ทรายประกายมุกจากขยะเปลือกหอยแมลงภู่
• CERO: AI for Carbon Footprint Recognition and Accreditation
• แป้งพิมพ์ผ้าพิกเมนท์ผสมไมโครแคปซูลน้ำมันตะไคร้หอมไล่ยุง
• ช็อคโกแลตที่ละลายที่อุณหภูมิสูงโดยไม่มีการเติมสารเติมแต่ง
• PlaiCoCo: มาสสำหรับผิวและร่างกายที่มีสารสกัดไพลและโกโก้
• Plavazen Gold: ครีมลดการอักเสบจากสารสกัดไพลอีมัลชั่นและทองคำคอลลาเจน
• บอร์ดเกมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ Meso Go Around เจาะเวลา ค้นหาอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
• การใช้ Slot Taper Joint: ความหลงใหลในของเล่นเล่าเรื่อง
• ตำนานเรื่องเล่าในผืนภาพ” ชุดกิจกรรมแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในจิตรกรรมฝาผนัง
• ไมอีโลซอฟต์: การพัฒนาระบบนับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติผ่านสมาร์ทโฟนโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมชนิดคอน โวลูชัน
• ไมโครซิสดีซีเอ็น: การประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเพื่อตรวจจับเซลล์หลายชนิดผ่านกล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อนด้วยตัว รับรู้ภาพ
• ต้นแบบอุปกรณ์เอฟพีจีเอสำหรับประมวลผลสร้างคืนความละเอียดสูงยิ่งยวดเวลาจริง
• นวัตกรรมการบันทึกโน้ตเสียงปาฬิจากพระไตรปิฎกสัชฌายะ
• ตัวรับรู้แบบสวมใส่สำหรับตรวจวัดสารบ่งชี้ทางชีวภาพในเหงื่อเพื่อบ่งชี้ภาวะสุขภาพโดยไม่ต้องเจาะผ่านผิวหนัง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 16 ผลงาน
• เซนเซอร์อัจฉริยะตรวจวัดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด
• อักษรโปรแกรมคอมพิวเตอร์รูปแบบเกม เพื่อช่วยสอนพยัญชนะไทยสำหรับเด็กที่มีปัญหาในการอ่าน
• เซลล์เมทริกซ์พลัส: อาร์เซเวน ศาสตร์แห่งการชำระล้างสารพิษครบวงจร
• เตียงปรับองศาอัตโนมัติควบคุมด้วยเสียงปอดและระบบสั่นสะเทือน
• เอ็น อาร์ ดี โดย ฮาชิ
• พี ดับบลิว สาม แอลแอล
• ฟีลลิ แคน พลัส
• ซุปเปอร์เคล
• นวัตกรรมจุลินทรีย์ทางการเกษตรเพื่อสูตรเชิงพาณิชย์
• HER2- Belive: เซ็นเซอร์แบบบูรณาการสำหรับการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมระยะแรกเริ่ม
• ซูเปอร์กรีน ยืดอายุผักผลไม้สด
• แบบจำลองการเตือนภัยแล้งด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อบรรเทาความเสียหายด้านเกษตรกรรม
• เส้นใยนาโน Shield Plus
• บ้านแสนอยู่ดี
• นวัตกรรมแผงกันแดดปรับได้อัตโนมัติแบบประหยัดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
• วีพีเซีย ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณหาบริเวณที่เหมาะสมในการผ่าตัดเจาะกะโหลกเพื่อระบายน้ำในสมอง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 2 ผลงาน
• สารชีวภาพกำจัดวัชพืชเพื่อการควบคุมผักตบชวา
• ไลน์บอทโรคข้าวเพื่อชาวนาไทย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 7 ผลงาน
• แป้งกากมะพร้าวไขมันต่ำ
• ดีเอ็นเอ Lab-on-disk แบบอัตโนมัติ
• ชุดตรวจดีเอ็นเอแถบคู่สำหรับสารท๊อกซินจากเชื้อคลอสตริเดียม
• ชุดตรวจ point-of-care ดีเอ็นเอแบบแถบสำหรับซิฟิลิส
• ตู้อบโอโซนฆ่าเชื้อแบบกึ่งอัตโนมัติ
• ยานพาหนะทางทันตกรรมสำหรับผู้ป่วย
• นวัตกรรมที่จับดินสอสติกเกอร์โฟม
มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 1 ผลงาน
• เตียงช่วยคลอดแบบพกพาและอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสำหรับทารกแรกเกิด
มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 1 ผลงาน
• เทคโนโลยีไอเซค: การผลิตผงโปรตีนจากแมลงเพื่อการบริโภคแบบอัตโนมัติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 5 ผลงาน
• อุปกรณ์ฝึกหายใจแบบชาญฉลาด
• นวัตกรรมการรักษา "มะเร็ง" ด้วยเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัด โดยการพัฒนาตัวกระตุ้นสัญญาณคู่รีคอมบิแนนท์
ดีเอ็นเอ CD28.40z ของไคเมอริคแอนติเจนรีเซปเตอร์
• ปัญญาประดิษฐ์สำหรับทำนายการได้ยินในเด็ก
• อุปกรณ์ถ่างสำหรับการผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้นในเด็ก PSURF-2
• เจลบอลน้ำลายเทียม
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 6 ผลงาน
• สารดับเพลิงผงเคมีแห้งจากวัสดุชีวภาพเหลือใช้ทางการเกษตร
• นาโนเซลลูโลสอิมัลชันยืดอายุผักผลไม้ที่สามารถบริโภคได้ จากผลพลอยได้ ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม
• สารสีชีวภาพจาก Monascus spp. สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแต่งสี
• นวัตกรรมการผลิตสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่จากเซลล์ว่านเพชรหึงสำหรับใช้ในเวชสำอาง
• เคอคูมินอยด์จากขมิ้นชันที่เสถียรและละลายน้ำได้ด้วยการกักเก็บในอะไมโลสจากแป้งข้าว
• ครีมกันแดดสารธรรมชาตินาโนไฮบริดป้องกันรังสียูวียับยั้งการปลดปล่อยอนุมูลอิสระ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 2 ผลงาน
• อาหารเพียวเร่โฮลมีลนุ่มพร้อมทาน สำหรับผู้ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
• 3 เอส เดนทัลแชมเบอร์
มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 1 ผลงาน
• แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 7 ผลงาน
• เฟอร์นิเจอร์สนามที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากกล่องบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มที่ใช้งานแล้ว: ซูชิคอลเลคชั่น
• ผลึกนาโนเซลลูโลสจากผักตบชวา
• เครื่องอัดอิฐบล็อกปูพื้นกึ่งอัตโนมัติต้นทุนต่ำด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน
• อนุภาคพอลิเมอร์ชีวภาพฉลาด: พอลิเมอร์ที่ตอบสนองต่อพีเอช กลิ่นหอม และสารลดแรงตึงผิวชนิดอนุภาค
ต้านเชื้อจุลชีพ
• ผลิตภัณฑ์เนื้ออบแห้งจากพืชต้นแบบจากการทดแทนด้วยเปลือกกล้วย
• นวัตกรรมเซลล์โฟโตอิเล็กโตรคะตะไลติกร่วมกับโซลาร์เซลล์ สำหรับการบำบัดน้ำเสียและระบบผลิตน้ำสะอาด
• นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชะลอวัยนาโนอิมัลชัน จากตำรับสมุนไพรไทยออร์แกนิกในรูปแบบแคปซูลนิ่ม
จากธรรมชาติ ภายใต้โครงการ Bio-Circular-Green Economy เพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยระดับโลก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 9 ผลงาน
• เครื่องจักรความร้อนผลิตกระแสไฟฟ้าจากวัสดุฉลาด
• เนื้อเยื่อเสมือนจริงสำหรับฝึกฉีดยาเข้าเส้นเลือดร่วมกับอัลตราซาวด์
• หมวกฉายแสงป้องกันอัลไซเมอร์
• การวิจัยและพัฒนาระบบการติดตามจับกุมคนร้ายโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
• การออกแบบและพัฒนาระบบเฝ้าระวังสำหรับตรวจสอบผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์โดยใช้เทคโนโลยี AIoT
• เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR)และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ระบบสุริยะของฉัน สำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง ทางการได้ยิน
• ชุดอุปกรณ์เสริมการพูดของเด็กที่มีพัฒนาการล้าช้าด้านภาษาและโครงสร้างด้วยหนังสือเสียงสำหรับเด็ก
• อุปกรณ์กายภาพด้วยคีตะมวยไทยประสานกับเกมปฏิสัมพันธ์
• อุปกรณ์เสริมกายภาพอัจฉริยะสำหรับบำบัดการการเคลื่อนไหวและกระตุ้นสมอง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 2 ผลงาน
• การออกแบบและพัฒนาหมอนรองคอต้นแบบในการตรวจจับเสียงกรนด้วยเทคนิคสมองกลฝังตัวสำหรับผู้สูงอายุที่มี ปัญหานอนกรน
• เกมกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 1 ผลงาน
• เครื่องผลิตออกซิเจน
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 3 ผลงาน
• เครื่องลดความชื้นข้าวเปลือกเคลื่อนที่ได้ใช้พลังงานความร้อนแบบไฮบริด
• รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์
• เครื่องอบอเนกประสงค์ประหยัดพลังงานเคลื่อนที่ได้
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จำนวน 4 ผลงาน
• เทคโนโลยีต้นทุนต่ำสำหรับการตรวจคัดกรองภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดด้วยปัญญาประดิษฐ์
• คิวเอ เพาส์: ระบบประกันคุณภาพเชิงทำนายสำหรับเครื่องเร่งอนุภาคในงานรังสีรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
• การคัดกรองมะเร็งเต้านมทางไกลโดยใช้ระบบบริหารจัดการภาพอัลตราซาวด์สามมิติอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ และปัญญาประดิษฐ์
• ออปติก: ระบบคัดกรองมะเร็งจากการวิเคราะห์ลายนิ้วมือด้วยเทคนิคดิจิตอลโฮโลกราฟีและปัญญาประดิษฐ์
วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี จำนวน 1 ผลงาน
• รถจักรยานยนต์พลังงานทดแทนด้วยลมอัด
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง จำนวน 1 ผลงาน
• การพัฒนาระบบติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหัวใจด้วยเทคนิค Deep Learning
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี จำนวน 2 ผลงาน
• นวัตกรรมวัสดุปลูกทางอากาศสำหรับซ่อมแซมป่าที่เกิดไฟป่า เลียนแบบลักษณะโครงสร้างผลน้อยหน่าเครือ
• การออกแบบนวัตกรรมกรองมลพิษอากาศโดยมีต้นแบบครีบจากการศึกษาลักษณะทางสรีรวิทยาของครีบวาฬหลังค่อม ร่วมกับลักษณะทางกายภาพของใบสนไซเปรสสำหรับเป็นส่วนเสริมล้อรถยนต์
โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จำนวน 2 ผลงาน
• DAMDA: อุปกรณ์การพัฒนาทักษะสําหรับผู้ป่วยภาวะออทิสติกผ่านกิจกรรมต่างๆ เเละการตรวจจับอารมณ์เเละ
การเคลี่อนไหว
• SDCare strap: สายรัดบำบัดความผิดปกติในการนอนหลับแบบไบโอฟีดแบค พร้อมระบบเทคโนโลยีเซนเซอร์
ผ่านการสั่นสะเทือน
โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จำนวน 1 ผลงาน
• สารสกัดเพคตินประสิทธิภาพสูงสำหรับดูดซับน้ำและดักจับไขมันจากเปลือกส้มเขียวหวาน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จำนวน 7 ผลงาน
• เครื่องตรวจจับอากาศยานไร้คนขับ (Drone Detector) รุ่นT-NET 1.0 DT
• Mama kara Baby Lotion: เทคโนโลยีผิวเสมือนจริงเพื่อการดูแลผิวแบบองค์รวม
• ไมโครไบโอมของผิวหนังทำงานโดยการผสมผสานของ พืชท้องถิ่น ที่ถูกอัพไซคลิ่งในผลิตภัณฑ์
“Skin solution series”
• สมุนไพรพรีไบโอติกขั้นสูงจากแนวทางความยั่งยืนสำหรับไมโครไบโอมในช่องปากใน “ยาสีฟันสมุนไพรเข้มข้น”
• ไบโอมิเมติกส์ ซีบีดี
• นวัตกรรมน้ำมันพืชฟังก์ชันผสมสารสกัดเคอร์คูมินอยด์
• นวัตกรรมนาโนแอนโดรกราโฟไลด์ สเปรย์ช่องปาก
สถาบันวิจัยวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จำนวน 2 ผลงาน
• ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความดันจากสารกลุ่มเพปไทด์ที่สกัดจากรำข้าวหอมมะลิและข้าวสีนิล
• ผลิตภัณฑ์เจลรักษาสิวจากเพปไทด์ที่สกัดจากข้าวหอมมะลิงอก
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) จำนวน 2 ผลงาน
• ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผลิตจากสารสกัดพริกไทยดำที่มีปริมาณพิเพอรีนในระดับต่ำในรูปแคปซูลนิ่มที่มีฤทธิ์
ยับยั้งมะเร็ง
• ไฮโดรเจลตอบสนองต่ออุณหภูมิบรรจุสารสกัดน้ำส้มควันไม้
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 3 ผลงาน
• โปรแกรมถอดรหัสสัญญาณความสั่นสะเทือน ค้นหา Bearing ที่มีความเสียหายในระยะเริ่มต้น
• เครื่องมือประกอบ Compressor Blade สำหรับเครื่องกังหันก๊าซ Siemens รุ่น V 94.3A หรือ SGT5-4000F
• ระบบวิเคราะห์และสั่งการระบบไฟฟ้าข้ามประเทศแบบอัตโนมัติผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะ และ ไอโอที
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 5 ผลงาน
• โครงเหล็กรองรับชุดเข้าปลายสายสำหรับเสาขึ้นสายเคเบิลใต้ดินระบบ 115 kV
• เครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติในสภาวะวิกฤต สำหรับชุดควบคุมหม้อแปลง AVR ในระบบจำหน่าย 22kV
• เครื่องป้อนสายพร้อมสารหล่อลื่นอัตโนมัติ
• ซุปเปอร์เครื่องปอกสาย
• เครื่องกังหับแบบแรงกระแทกจากเครื่องสูบน้ำ
การไฟฟ้านครหลวง จำนวน 1 ผลงาน
• Smart Energy: ระบบจ่ายไฟกลับอัตโนมัติ
การประปานครหลวง จำนวน 1 ผลงาน
• ยานสำรวจใต้น้ำไร้คนขับ
บริษัท ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหาร ซีพีเอฟ จำกัด จำนวน 1 ผลงาน
• โปรแกรมการตรวจสอบกลับเชื้อ Listeria monocytogenes
บริษัท ไอเดียทูเอ็กซ์เพิร์ท จำกัด จำนวน 1 ผลงาน
• เฮอร์บิสต้าร์® เซรั่มอนุภาคนาโนลิโปนิโอโซมสารสกัดลูกซัด
บริษัท อาร์แอนด์ดี รีเสิร์ช อินโนเวชั่นแอนด์ ซัพพลาย จำกัด จำนวน 1 ผลงาน
• นวัตกรรมสารสกัดกลุ่ม CBD และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพด้วยแสงคลื่นสั้นแบบต่อเนื่องจากกัญชงสำหรับ
ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
บริษัท ไอออนิค จำกัด จำนวน 1 ผลงาน
• นวัตกรรมกระบวนห่อหุ้มแบบแคปซูลในปุ๋ยจากกากของเสียเพื่อการปลดปล่อยสาระสำคัญอย่างช้าๆและลด
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
บริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 1 ผลงาน
• "เครื่องทำน้ำร้อนจากเครื่องปรับอากาศ PAC Frenergy”
บริษัท 7 ดราก้อน อินโนเวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 1 ผลงาน
• แม็กซ์ไลฟ์ อาย แคร์ พลัส
บริษัท วินโดร์ วิว จำกัด จำนวน 1 ผลงาน
• ประตู-หน้าต่างรุ่นติดตั้งเร็ว
บริษัท เลนส์ แอนด์ สมาร์ทคลาสรูม จำกัด จำนวน 1 ผลงาน
• กระถางปลูกผักอัตโนมัติ