วช. และ CASS ร่วมผลักดันกลไกส่งเสริมการวิจัยและวิชาการ ภายใต้ความร่วมมือศูนย์วิจัยจีน CASS-NRCT CCS ที่จัดตั้งขึ้น ณ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)

วช. และ CASS ร่วมผลักดันกลไกส่งเสริมการวิจัยและวิชาการ ภายใต้ความร่วมมือศูนย์วิจัยจีน CASS-NRCT CCS ที่จัดตั้งขึ้น ณ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)













เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันสังคมศาสตร์จีน(Chinese Academy of Social Sciences, CASS) จัดการนำเสนองานวิชาการไทย-จีน “Thai-Chinese Academic Presentation” ณ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ Profesor LI Zhifei, Director of Research Division, National Institute of International Strategy (NIIS, CASS) ร่วมกล่าวเปิดในพิธีเปิดการนำเสนองานวิชาการฯ
ดร. วิภารัตน์ฯ กล่าวว่า การนำเสนองานวิชาการครั้งนี้ เป็นการยกระดับการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการวิจัยภายใต้การจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยจีน CASS-NRCT CCS) ณ วช. ประเทศไทย เมื่อปี 2566 ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง วช. และ CASS โดยการนำเสนอในวันนี้จะส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ที่สร้างสรรค์ระหว่างนักวิจัยไทย-จีน ด้านสังคมและเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างสองประเทศ และในปี 2568 ที่จะถึงนี้ จะเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทย-จีน เนื่องในโอกาส "ปีทองแห่งมิตรภาพ" นี้ โดย วช. และ CASS จะร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการริเริ่มการวิจัยร่วมกัน ตลอดจนโครงการแลกเปลี่ยนนักวิชาการ ซึ่งเป็นเส้นทางสู่ความเข้าใจร่วมกันที่ดีขึ้น เพื่อจัดการกับความท้าทายระดับโลกร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น
Profesor LI Zhifei, Director of Research Division, National Institute of International Strategy (NIIS, CASS) กล่าวถึงความสำคัญของหน่วยงานวิจัยด้านยุทธศาสตร์ของจีน หรือ Chinese Academy of Social Sciences (CASS) และบทบาทหน้าที่ในการผลักดันประเด็นสำคัญไม่ว่าจะเป็นนโยบายทางการเมือง เศรษฐกิจ ปรัชญา รวมถึงมุมมองด้านต่างๆของอาเซียน และกล่าวถึงความร่วมมือระหว่าง วช.และ CASS รวมถึงการจัดตั้งศูนย์วิจัยจีนในประเทศไทย ณ วช. ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายในการสร้างชุมชนความร่วมมือไทย-จีน ผ่านกลไกการศึกษาวิจัย การแลกเปลี่ยนของนักวิจัยของทั้งสองประเทศ การสัมมนาวิชาการ ในขณะเดียวกัน ได้กล่าวถึงปี 2568 ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน และตอกย้ำถึงการเป็นครอบครัวเดียวกัน ชุมชนเดียวกัน สังคมเดียวกัน และการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกันอีกด้วย
นอกจากนี้ ภายในงานมีการนำเสนองานวิชาการไทย-จีน ภายใต้ 2 หัวข้อ ดังนี้
หัวข้อที่ 1 “การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือไทย-จีนด้านพระพุทธศาสนา” (China-Thailand Buddhist Exchange and Cooperation) โดยมี รศ.ดร. จตุวิทย์ แก้วสุวรรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอ เรื่อง ““Buddhism as a Bridge Connecting Thailand-China Relations in the Modern Era” และ Professor ZHANG Xu, Assistant Research Fellow, Institute of World Religions, CASS นำเสนอ เรื่อง “Buddhist Cultural Exchange and Cooperation between China and Thailand: Historical Background and Future Prospects”
หัวข้อที่ 2 “ความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-จีน และความทันสมัยของจีน” (China-Thailand Economic Cooperation and Chinese Modernization) โดยมี ดร.ภูมิพัฒณ์ พงศ์พฤฒิกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านสายงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นำเสนอ เรื่อง “ พร้อมด้วย Professor XIAO Yu, Associate Research fellow, National Institute of International Strategy, CASS นำเสนอ เรื่อง “Sino-Thai Economic Trade Cooperation under the Framework of BRI: Review and Outlook” และ Dr. ZHANG Qianyu, Assistant Research Fellow, National Institute of International Strategy, CASS นำเสนอ เรื่อง “Lancang-Mekong Innovation Corridor and Technological Cooperation between China and Thailand”
อนึ่ง การนำเสนองานวิชาการไทย-จีน “Thai-Chinese Academic Presentation” เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง วช. กับ CASS มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัยไทย-จีนได้นำเสนอผลงานวิชาการ ถือเป็นความสำเร็จก้าวแรกของ วช. และ CASS ในการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ด้านไทย-จีนศึกษา ที่ทั้งสองประเทศมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนา เศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรม และการศึกษา อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป
Print

Categories