“ศุภมาส” นำนิทรรศการ ’Colour of Culture – Exploring the Textiles of the Hilltribes’ และความร่วมมือในการจัดการพิพิธภัณฑ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยวิจัยและนวัตกรรม

“ศุภมาส” นำนิทรรศการ  ’Colour of Culture – Exploring the Textiles of the Hilltribes’ และความร่วมมือในการจัดการพิพิธภัณฑ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยวิจัยและนวัตกรรม
นางสาวศุภมาส อิสรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำนิทรรศการ 'Colour of Culture – Exploring the Textiles of the Hilltribes' โชว์ผลงานศิลปกรรมพื้นบ้านของไทยที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์และความหลากหลายของวัฒนธรรม พร้อมความร่วมมือในการจัดการพิพิธภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ สู่สหราชอาณาจักร

พร้อมนี้ นายธานี ทองภักดี เอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน, ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, Ms.Sue Tapliss ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์โรงทอผ้าไหมวิทเชิร์ช, Deputy Lieutenant Lady Portal (Louisa), Professor Peter Pilgrim, Christine Betesford MBE และ รศ.ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ศิลปะและหัตถศิลป์  ตลอดจนบุคคลสำคัญของการบริหาร Whitchurch Silk Mill เข้าร่วมในกิจกรรมความร่วมมือระหว่าง อว.โดย วช. และพิพิธภัณฑ์โรงทอผ้าไหมวิทเชิร์ช (Whitchurch Silk Mill) เมืองวิทเชิร์ช มณฑลแฮมป์เชียร์ สหราชอาณาจักร 

ดร.วิภารัตน์ กล่าวว่า การวิจัยมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นรากฐานสร้างความรู้และเทคโนโลยี  เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาของคนในชาติและเพื่อการพัฒนาประเทศ นิทรรศการ 'Colour of Culture – Exploring the Textiles of the Hilltribes' เป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนทุนของ วช. ด้านศิลปะสร้างสรรค์ประเภทสิ่งทอที่ถูกถ่ายทอดผ่านการนำองค์ความรู้จากการศึกษาและวิจัยด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยในด้านเครื่องแต่งกายจากเส้นใยธรรมชาติที่มีสีสันอันเป็นอัตลักษณ์ โดย วช. มุ่งหวังให้ผลงานศึกษาวิจัยของไทยได้จัดแสดงสู่นิทรรศการระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นการส่งเสริมศักยภาพด้านการวิจัยของประเทศ ร่วมกับการอนุรักษ์ สืบทอดงานด้านศิลปวัฒนธรรมไทยในด้านเครื่องแต่งกาย สิ่งทอ และผ้าไหมไทยที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์และความหลากหลายของวัฒนธรรมในไทย

ในการลงนามครั้งนี้ กระทรวง อว. ให้การส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดขยายผลงานวิจัยและนวัตกรรม ของ วช. ตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะการสรรค์สร้างทุนทางวัฒนธรรม ยกระดับงานทางสังคมไปสู่ความยั่งยืน สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในวันนี้ เป็นการส่งเสริมศักยภาพด้านการวิจัยของประเทศในด้านงานศิลปกรรม ภูมิปัญญา และงานพิพิธภัณฑ์อย่างยั่งยืน และเป็นการอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมนโยบาย Soft Power เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยผ่านงานวิจัยด้านศิลปะ และโอกาสในการสร้างพื้นที่การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมของไทย เพื่อนำการออกแบบ กลไกส่งเสริมและพัฒนางานศิลปะ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

สำหรับกรอบแนวทางความร่วมมือที่เกิดขึ้น เป็นการบูรณาการความร่วมมือในการนำงานวิจัยและนวัตกรรมด้านศิลปะสร้างสรรค์ ส่งเสริมการพัฒนาและยกระดับงานวิจัยและนวัตกรรม สร้างความร่วมมือด้านวิชาการ โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมให้มีความเข้มแข็ง โดยครอบคลุมความร่วมมือในการวิจัยร่วมกันในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ การแลกเปลี่ยนในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านวิชาการ การวิจัยและนวัตกรรม กิจกรรม และคอลเล็กชันเพื่อการจัดพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการร่วมกันต่อเนื่องในอนาคต
Print

Categories