เพิ่มมูลค่าพลอยเกรดต่ำด้วย “ลำไอออน”

เพิ่มมูลค่าพลอยเกรดต่ำด้วย “ลำไอออน” เทคโนโลยีอนุภาคความร้อนต่ำพลังงานสูงทางเลือกใหม่เอาใจคนรักอัญมณี ให้ประสิทธิภาพดีกว่าการเผา “ใสกว่า-สีสดกว่า-ทุ่นเวลา-ไม่ทำให้พลอยแตก” เพิ่มราคาเศษพลอยไร้ค่าได้ 10 เท่า 

ผศ.ดร.ดวงแข บุตรกูล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีรายได้จาการส่งออกพลอยประมาณ 4 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งถือเป็นสัดส่วนรายได้ที่มากพอๆ กับสินค้าทางการเกษตรเช่น ข้าวหรือยางพารา เพื่อให้รายได้มวลรวมของประเทศมากขึ้น กลุ่มผู้ประกอบการอัญมณีจึงมีเป้าหมายร่วมกัน ที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกพลอยอันดับหนึ่ง ด้วยการรับซื้อพลอยหลายระดับจากทั่วโลกมาผ่านการปรับปรุงคุณภาพ ก่อนจะส่งออกขายอีกครั้งในชื่อของ “ทับทิมสยาม” อันเป็นที่ต้องการของคนทั่วโลก

แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าพลอยน้ำดีจากเหมืองไทยแท้หายากขึ้นทุกวัน ผศ.ดร.ดวงแข เผยว่า ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่จึงนิยมสั่งซื้อพลอยแซฟไฟร์ และเข้าไปทำธุรกิจพลอยจากเหมืองของประเทศอื่นๆ เช่น โมซัมบิก, พม่า, ลาว และแอฟริกา ซึ่งยังคงมีพลอยแซฟไฟร์อยู่มากแต่คุณภาพไม่ดีเท่า ก่อนจะนำส่งกลับมาปรับปรุงคุณภาพด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ของไทย ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความทันสมัยและทรงประสิทธิภาพเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ด้วยกรรมวิธีการเผา, การหุง และการฉายรังสี เป็นต้น

ผศ.ดร.ดวงแข กล่าวว่า การปรับปรุงพลอยแซฟไฟร์ซึ่งเป็นพลอยเนื้อแข็ง เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุด เพราะการให้อุณหภูมิที่สูงนับพันองศาเซลเซียสแก่พลอย จะทำให้โครงสร้างภายในซึ่งอาจมีมลทิน หรือสีรองที่มากเกินควรหายไป ทำให้พลอยมีสีสด มีความใส และมีความแข็งมากยิ่งขึ้น แต่ในบางกรณีการเผาก็อาจเป็นการทำลายโครงสร้างที่ดีของพลอยจนเกิดการแตกหัก และที่สำคัญการเผาต้องใช้เวลาในกระบวนการยาวนานหลายวัน หรือบางครั้งอาจนานนับเดือน

เพื่อพัฒนาเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพพลอย ทีมวิจัย มศว จึงมองหาเครื่องมือใหม่ๆ ที่มีความสามารถในการทำลายมลทิน เพิ่มสีสันให้แก่พลอยโดยไม่ทำลายโครงสร้างภายใน จึงมองหาเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงกับการฉายรังสีไล่มลทินในพลอยเนื้ออ่อนซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้วจากการดำเนินการของสำนักงานเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) จนทราบว่าที่ศูนย์วิจัยฟิสิกส์และลำอนุภาคและพลาสมา คณะฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีเครื่องไอออนที่จะปล่อยอนุภาคไนโตรเจนแบบความร้อนต่ำ พลังงานสูง ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้ประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าพลอยได้ เป็นที่มาของงานวิจัยในโครงการวิจัยการปรับปรุงคุณภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าพลอยเซฟไฟร์สีน้ำเงินธรรมชาติด้วยเทคโนโลยี ระหว่างนักวิจัย 2 สถาบัน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย  >>อ่านต่อ

559000001952210

4 total views, 4 views today

Print
Tags:
Rate this article:
4.8

Categories