รางวัลนักคิดสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี 2559

20160206_171857-1

การประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้นในระดับเยาวชนภายใต้โครงการ “รางวัลนักคิดสิ่งประดิษฐ์รุ่นใหม่” ขึ้น เพื่อเป็นเวทีให้เยาวชนได้ร่วมแข่งขันประกวดสิ่งประดิษฐ์ และนำเสนอแนวคิดในการประดิษฐ์ผลงาน มีเยาวชนทั้งนักเรียนและนักศึกษาทั่วประเทศนำผลงานเข้าร่วมแข่งขัน แบ่งประเภทรางวัล เป็น ๓ ประเภท คือ ประเภทมัธยมศึกษา เข้าประกวดใน ๓ กลุ่มเรื่อง ประเภทอาชีวศึกษา เข้าประกวดใน ๓ กลุ่มเรื่อง และอุดมศึกษา เข้าประกวดใน ๔ กลุ่มเรื่อง   ระดับมัธยมศึกษา ดังนี้ กลุ่มเรื่องที่ ๑ สิ่งประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน รางวัลชนะเลิศ  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เครื่องล้างแอร์ระบบอัตโนมัติ” จากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมวัสดุทดแทนไม้เชิงวิศวกรรมคุณภาพสูง ฆ่าเชื้อ MERS ต้านอนุมูลอิสระเสริมความงามจากกากเบียร์” จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เครื่องหล่อเทียนมหัศจรรย์” จากโรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์ จังหวัดพิจิตร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๓ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ก้อนพลังงานกากกาแฟนาโน” จากโรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา จังหวัดระยอง กลุ่มเรื่องที่ ๒ สิ่งประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนและการเรียนรู้ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “แอพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาดาราศาสตร์” จากโรงเรียนตากพิทยาคม จังหวัดตาก รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ถุงมือสัญญาณจราจร” จากโรงเรียนสุราษฏร์พิทยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี และผลงานเรื่อง “กล้องจุลทรรศน์อัจฉริยะ” จากโรงเรียนตะโหมด จังหวัดพัทลุง รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “รถบังคับด้วยระบบเอฟพีวีและวิทยุบังคับเพื่อใช้งานสำรวจพื้นที่ตามลักษณะภูมิประเทศ” จากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๓  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “คีมจับกิ๊ปเดินสายไฟอเนกประสงค์ 5 in 1” จากโรงเรียนสุวรรณคูหาพิทยาสรรค์ จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มเรื่องที่ ๓ สิ่งประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาที่เกิดจากภูมิปัญญาไทย รางวัลชนะเลิศ  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “พลังคู่กะเทาะล้าง 3 in 1” จากโรงเรียนกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ตู้ผึ่งและอบยางแผ่นอัตโนมัติ” จากโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาเครื่องปั่นด้ายเพื่อกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง แบบ ๓ หัวปั่น” จากโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๓  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เฟืองสร้างลายทอเสื่อ” จากโรงเรียนกระเบื้องนอกพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา20160206_165402

ระดับอาชีวศึกษา ดังนี้ กลุ่มเรื่องที่ ๑ สิ่งประดิษฐ์เพื่ออุตสาหกรรม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์เปิดฝาถังเอนกประสงค์” จากวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด จังหวัดระยอง รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เตาชีวมวลไฮบริด” จากวิทยาลัยเทคนิคหนองคาย จังหวัดหนองคาย รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เครื่องถอดและบดวาล์วรถยนต์แบบวาล์วเยื้องหนีศูนย์กึ่งอัตโนมัติ” จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๓  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เครื่องย่างจับหลักกึ่งอัตโนมัติ” จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

กลุ่มเรื่องที่ ๒ สิ่งประดิษฐ์เพื่อสังคม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เครื่องทำลายกระจกรถยนต์ในกรณีรถยนต์ตกน้ำ” จากวิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “รถตรวจการณ์ด่านตรวจเพื่อความมั่นคง” จากวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “รถสามล้อสำหรับคนพิการขา” จากวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๓  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เครื่องมือช่วยค้นหาผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยเครื่องโซน่าร์ 2” จากวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลีเทคนิคลานนา จังหวัดเชียงใหม่

กลุ่มเรื่องที่ ๓ สิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ รางวัลชนะเลิศ  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน” จากวิทยาลัยสารพัดช่างสี่พระยา (ในวัดแก้วแจ่มฟ้า) กรุงเทพฯ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ จะได้รับเงินรางวัล  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์เก็บขยะ” จากวิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เครื่องเพิ่มความชื้นอัตโนมัติสำหรับห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ”
จากวิทยาลัยสารพัดช่างสี่พระยา (ในวัดแก้วแจ่มฟ้า) กรุงเทพฯ  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๓  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์คว้านเมล็ดลำไย” จากวิทยาลัยเทคนิคชัยนาท จังหวัดชัยนาท เชียงใหม่

กลุ่มเรื่องที่ ๔ สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นจินตนาการสำหรับอนาคต รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๓  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “รถพลังงานลม” จากวิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี จังหวัดระยอง 

20160206_170407ระดับอุดมศึกษา ดังนี้ กลุ่มเรื่องที่ ๑ สิ่งประดิษฐ์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ รางวัลชนะเลิศ  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ระบบตรวจสอบการแพร่กระจายของสารพิษทางอากาศและภาคพื้นดินเคลื่อนที่ด้วยหุ่นยนต์แบบล้อ” จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ชุดติดตั้งเพื่อเพิ่มศักยภาพรถเข็น” จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) จังหวัดปทุมธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ระบบผลิตไฮโดรเจนชีวภาพจากของเสียอินทรีย์และน้ำเสียโดยการบูรณาการกระบวนการหมักแบบไร้แสงกับกระบวนการอิเล็คโตรไลซิสชนิดใช้ตัวเร่งชีวภาพที่อุณหภูมิสูง” จากมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง จังหวัดพัทลุง รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๓  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เครื่องวัลคาไนซ์ยางรองฐานเครื่องจักรด้วยระบบไมโครเวฟกับการพาความร้อนที่ผิว” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จังหวัดนครปฐม

กลุ่มเรื่องที่ ๒ สิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข รางวัลชนะเลิศ  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “อินโนไมโครทิวบ์” หลอดเก็บเลือดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดปริมาณน้อย” จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) จังหวัดปทุมธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ชุดโคมไฟแอลอีดีกำลังสูงแบบพกพาสำหรับแก้ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด” จากมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เตียงเอียงที่ปรับเคลื่อนที่ได้หลายทิศทางสำหรับผู้ป่วยติดเตียง” จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) จังหวัดปทุมธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๓ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “การตรวจสุขภาพด้วยเลือดจากปลายนิ้ว” จากมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

กลุ่มเรื่องที่ ๓ สิ่งประดิษฐ์ด้านเกษตรศาสตร์ รางวัลชนะเลิศ  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เครื่องอบแห้งแบบฟลูอิดไดซ์เบดร่วมกับปั้มความร้อนระดับใช้ในการทดลอง เพื่อการอบแห้งข้าวเปลือกงอกและธัญพืชต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ” จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ระบบฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืชระดับโมเมนตัมต่ำระยะไกลด้วยวงแหวนอากาศหมุนบนหุ่นยนต์พลังงานแสงอาทิตย์” จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เครื่องดำนาขนาดเล็ก” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๓  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ประสิทธิภาพของการปรับปรุงระบบไบโอรีแอคเตอร์โดยการสร้าง Peristaltic pump ที่ควบคุมด้วยระบบไมโครคอลโทรเลอร์ และการฆ่าเชื้อด้วยเทคนิค ClO2 สำหรับการขยายพันธุ์พืชในหลอดทดลองจำนวนมาก” จากมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส

กลุ่มเรื่องที่ ๔ สิ่งประดิษฐ์กลุ่มศิลปะและการออกแบบ รางวัลชนะเลิศ  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ไทยแวนส์” การออกแบบป้ายสัญลักษณ์ แอปพลิเคชันและวิดีโออินฟอร์เมชั่น โมชั่นกราฟิก เพื่อแสดงจุดจอดรถตู้โดยสารบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “แอพพลิเคชั่นเสียงวรรณยุกต์ไทย” จากมหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “กระเป๋าเป้ 3 in 1” จากมหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๓  ได้แก่ ผลงานเรื่อง “กระเป๋าเปลี่ยนรูปแบบ” จากมหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม

20160206_171521

รางวัล Special Prize จำนวน ๔ รางวัล พิจารณาจากผลงานที่เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการในแต่ละกลุ่มเรื่อง ดังนี้ กลุ่มสิ่งประดิษฐ์เพื่อสังคมและคุณภาพชีวิต ได้แก่ ผลงานเรื่อง “แผ่นแอนติเจลและชุดน้ำยางสำหรับตรวจหาแอนติบอดี ผู้ป่วยโรคพยาธิตัวจี๊ด” โดย ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงผิวพรรณ มาลีวงษ์ แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มสิ่งประดิษฐ์เพื่ออุตสาหกรรม ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ปั๊มน้ำแบบเคลื่อนที่ได้แบบใช้ดีซีมอเตอร์ไร้แปรงถ่าน” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนะ เยี่ยงกมลสิงห์ แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้า กลุ่มสิ่งประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะอาชีพสำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษา โดย STEM Education และ Project – based Learning (PjBL)” โดย นายอภิชิต เสมศรี แห่งวิทยาลัยเทคโนโลยีไทย – ไต้หวัน       กลุ่มสิ่งประดิษฐ์เพื่อการใช้งานในอนาคต ได้แก่ ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมเครื่องมือสำรวจ ชลประทาน” โดย นายเลิศชัย ศรีอนันต์และคณะ แห่งกรมชลประทาน และผลงานนี้ยังได้รับรางวัลรางวัล The Best of Special Prize อีกด้วย

20160206_164117

No views yet

Print
Tags:
Rate this article:
No rating

Categories