วช. จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่ รุ่นที่ 5 ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2567”

วช. จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่ รุ่นที่ 5 ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2567”








เมื่อวันที่ 11 - 12 พฤษภาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่ รุ่นที่ 5 ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2567” ผ่านระบบประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมฯ ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชั้น 2 อาคาร วช. 1


นายสมปรารถนา สุขทวี กล่าวว่า วช. มีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ นักวิจัยรุ่นใหม่ในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 37 แห่ง โดยการส่งเสริมและพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่ ให้สามารถเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยได้ถูกต้องตามหลักของการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่มีคุณภาพและสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่เชิงสาธารณะหรือเชิงนโยบายได้ โดยตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา มีผู้ผ่านการฝึกอบรมฯ จำนวนทั้งสิ้น 481 คน จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง โดยในปีนี้ วช. ได้กำหนดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่ รุ่นที่ 5” ขึ้น จำนวน 3 ครั้ง โดยการฝึกอบรมฯ ครั้งที่ 1 ได้จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 15 – 17 มีนาคม 2567 และการฝึกอบรมฯ ในครั้งนี้ เป็นการฝึกอบรมฯ ครั้งที่ 2 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาจารย์ นักวิจัยรุ่นใหม่ในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏได้เรียนรู้ เข้าใจ หลักการ แนวคิดเชิงวิชาการ มาตรฐานการวิจัยและจริยธรรมการวิจัย รวมทั้งกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนการใช้งานระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ: NRIIS เพื่อการบริหารจัดการโครงการวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งแนวทางเขียนรายงานการวิจัย


ทั้งนี้ วช. ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มากด้วยความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ที่จำเป็น เหมาะสมและทันสถานการณ์ในปัจจุบัน ได้แก่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี ศาสตราจารย์ ดร.โกสุม จันทร์ศิริ ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช รองศาสตราจารย์ ดร.พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค รองศาสตราจารย์ ดร.ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ดร.นวดล เพ็ชรวัฒนา นางสาววาสนา น้อยนาช และนางสาวศยามน ไชยปุรณะ ร่วมบรรยายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ องค์ความรู้ที่สำคัญในการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยร่วมกัน อีกทั้ง ยังได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นอย่างดียิ่ง โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ จำนวนทั้งสิ้น 199 คน และ วช. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการฝึกอบรมฯ ในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกท่าน และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อเสนอต่อแหล่งทุนวิจัยต่าง ๆ ต่อไป
Print

Categories