วช. จัดเสวนา “วิกฤตภัยแล้งและแนวทางแก้ไข

วันที่ 20 กรกฎาคม 2558 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (สพภ.) จัดการเสวนา เรื่อง “วิกฤตภัยแล้งและแนวทางแก้ไข”  ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร  จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการเสวนา   

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการ วช. เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อประชากรเป็นอย่างมาก ทั้งอุทกภัย แผ่นดินไหว และภัยแล้ง โดยภัยธรรมชาติเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของภูมิอากาศ เช่น ปริมาณฝน อุณหภูมิ และความชื้น ดังจะเห็นได้จากสภาวะอากาศในฤดูร้อนที่ร้อนมากกว่าปกติ และปริมาณน้ำฝนที่น้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญในตลาดโลก รวมทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ภาวะการขาดแคลนน้ำอย่างหนักจากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและเขื่อนขนาดใหญ่ของไทยลดลง ทำให้ไม่เพียงพอสำหรับการทำนาปลูกข้าวของเกษตรกร ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงพยายามหามาตรการเพื่อบรรเทาภัยแล้งและประหยัดน้ำในช่วงหน้าแล้ง เช่น ลดปริมาณการระบายน้ำจากเขื่อนหลักลง ชะลอการปลูกข้าวนาปีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นต้น

_DSC0016 _DSC0020 _DSC0060 _DSC0069

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของวิกฤตภัยแล้ง จึงร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (สพภ.) จัดการเสวนาครั้งนี้เพื่อหาแนวทางแก้ไขสถานการณ์วิกฤตภัยแล้งและเป็นเวทีเผยแพร่ความรู้จากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับวิกฤตภัยแล้ง เพื่อให้ได้แนวทางการแก้ไขสถานการณ์วิกฤตภัยแล้งในประเทศไทยต่อไป

63 total views, 63 views today

Print
Tags:
Rate this article:
No rating

Categories