วช. นำผลงานวิศวกรสังคม มรภ.ชัยภูมิ พัฒนาชุมชนด้วยวิจัยและนวัตกรรม นำเสนอในกิจกรรมลงพื้นที่ ครม.สัญจร ณ จ.ชัยภูมิ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิท

วช. นำผลงานวิศวกรสังคม มรภ.ชัยภูมิ พัฒนาชุมชนด้วยวิจัยและนวัตกรรม นำเสนอในกิจกรรมลงพื้นที่ ครม.สัญจร ณ จ.ชัยภูมิ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิท












วันที่ 30 มิถุนายน 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำโดย ท่านศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานด้าน อววน. ภายใต้การประชุม ครม.สัญจร กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดชัยภูมิ ณ วัดบางอำพันธ์ บ้านหัวบึง ตำบลบ้านตาล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ


ในโอกาสนี้ ท่านศุภมาส อิศรภักดี รมว.อว.เยี่ยมชมนิทรรศการของ "วิศวกรสังคมของ มรภ.ราชภัฏชัยภูมิ" นำเสนอโดยนักศึกษาวิศวกรสังคม พร้อมด้วย อาจารย์ฤทธิชัย ผานาค ประธานสาขาวิชาบริหารธุรกิจ หัวหน้าโครงการ จาก มรภ.ชัยภูมิ


ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช.ร่วมสนับสนุนการนำนักศึกษาวิศวกรสังคมที่ผ่านกระบวนการบ่มเพาะ ให้สามารถแก้โจทย์ปัญหาในพื้นที่ และมีความพร้อมในคุณลักษณะการเป็น นักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน มาเสริมกระบวนการทำงานด้วยวิจัยและนวัตกรรม เพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม เพื่อร่วมสร้างทักษะการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ด้วยนวัตกรรมชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง


ทั้งนี้ ผลงานที่มาร่วมเสนอในส่วนของ วิศวกรสังคมของ มรภ.ชัยภูมิ ที่ได้ทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยวิจัยและนวัตกรรม อาทิ ผ้ามัดหมี่ไหมทอมือ, ตะกร้าถักเชือกลายต้นเสียว, ตะกร้าจักสาน, ส้มอยู่ไฟ, ปลาร้าบองผัดหมูสับ และวัฒนธรรมบุญต้นน้ำ เป็นต้น


การพัฒนาชุมชนด้วยแนวคิดวิศวกรสังคม ของ มรภ.ชัยภูมิ มีนักศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาควบคู่ไปกับการบริการวิชาการสู่ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลที่เกิดแก่นักศึกษาทางด้านการพัฒนา Soft Skills ตามแนวคิดวิศวกรสังคม ซึ่งเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาชุมชนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา สู่การสร้างนวัตกรรม ในรูปแบบของโครงงานพัฒนาชุมชน และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย สอดคล้องกับบริบทหรือความต้องการของชุมชน
Print

Categories