วช. นำภูมิคุ้มกันบำบัดรักษาโรคมะเร็ง สร้างทางเลือกและความหวังของผู้ป่วยโรคมะเร็ง

วช. นำภูมิคุ้มกันบำบัดรักษาโรคมะเร็ง สร้างทางเลือกและความหวังของผู้ป่วยโรคมะเร็ง














วันที่ 27 กรกฎาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการประชุม หัวข้อ “เรื่องงานวิจัยสู่การพัฒนาการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดในประเทศไทยอย่างยั่งยืน” ซึ่งมี การบรรยาย The Era of Cancer Immunotherapy and Introduction to Thailand Hub of Talents in Cancer Immunotherapy โดย ศ. พญ. ดร.ณัฏฐิยา หิรัญกาญจน์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การบรรยาย

Development and Clinical Studies of CD19 CAR T cells for refractory lymphoma in Thailand โดยนพ.กรมิษฐ์ ศุภพิพัฒน์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การบรรยาย Development of Novel CAR T cells for Hematologic malignancies โดย พญ. ดร.วรรณกร ขอพันเลิศ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การบรรยาย Development of Novel CAR T cells for Solid Tumors โดย ผศ. ดร.มุทิตา จุลกิ่ง จากมหาวิทยาลัยมหิดล และการบรรยาย Novel Strategies to Tackle Solid Tumors โดย รศ. ดร.อุษรา ปัญญา จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นภายในงาน อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน ด้วยพลังสหวิทยาการ ณ MR203 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

พร้อมกันนี้ ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “Pathway towards Academic Use of Genetic Engineered Lymphocytes” โดย นพ.กรมิษฐ์ ศุภพิพัฒน์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ. นพ.ชินดล วานิชพงษ์พันธุ์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น นายมรกต ประภัสศิริพันธุ์ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ นพ.ภาสกร วันชัยจิระบุญ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา และเลขานุการคณะอนุกรรมการควบคุมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับการใช้ยีนและเซลล์ทางการแพทย์ เพื่อการรักษา ร่วมเสวนาในครั้งนี้ ซึ่งมี ศ. พญ. ดร.ณัฏฐิยา หิรัญกาญจน์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการเสวนาดังกล่าว เพื่อนำงานวิจัยที่เป็นวิธีการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดที่เรียกว่า CAR-T cell สู่การใช้จริงในผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด โดยพัฒนาการรักษาด้วยนวัตกรรมเซลล์บำบัดให้เกิดขึ้นได้จริงในประเทศไทย เป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และมีแผนให้มหาวิทยาลัยสามารถผลิต CAR-T cell ได้ในอนาคต ผ่านการควบคุมประสิทธิภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. ) เป็นความหวังในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งของไทยต่อไป
ทั้งนี้ กิจกรรมภายในงาน อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND ระหว่างวันที่ 22 – 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีการประชุม บรรยาย เสวนา Workshop ในหัวข้อต่าง ๆ มากกว่า 150 หัวข้อ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและศักยภาพของหน่วยงานในกระทรวง อว. ในการสร้างความแข็งแกร่งของสหวิทยาการในทุกด้าน ที่นำไปสู่การพัฒนากำลังคนที่มีความสามารถและพร้อมที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ความท้าทายของโลกยุคใหม่ไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
Print

Categories