วช. ร่วมวิศว จุฬา และคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ส่งมอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์ ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการภาคเหนือ

  • 24 July 2023
  • Author: PMG
  • Number of views: 406
วช. ร่วมวิศว จุฬา และคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ส่งมอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์ ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการภาคเหนือ
เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีส่งมอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก “sPace” คุณภาพสูง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ฝีมือนักวิจัยไทย ให้แก่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการ โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ร่วมส่งมอบเท้าเทียมไดนามิก “sPace” ให้ศาสตราจารย์ นายแพทย์มานิต ศรีสุรภานนท์ รองคณบดีด้านวิจัยและนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์ธนัฐ วานิยะพงศ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม วช. พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และตัวแทนผู้พิการภาคเหนือ เข้าร่วมในกิจกรรม ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก “sPace” ดังกล่าว ตอบโจทย์ความต้องการของ
กลุ่มผู้พิการ ให้ได้รับโอกาสในการนำนวัตกรรมที่มีความปลอดภัยและมีมาตรฐาน ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งจะช่วยให้บุคคลมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ทั้งในภาคระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ ที่จะช่วยผลักดันการให้ผู้พิการเข้าถึงโอกาสการใช้นวัตกรรมคุณภาพ ซึ่ง นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์ “sPace” มีคุณภาพสูง และพัฒนาโดยฝีมือนักวิจัยของไทย

โดย วช. ได้มอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก “sPace” ทั่วประเทศ จำนวน 200 ชุด โดยมอบให้โรงพยาบาลในกรุงเทพ 5 โรงพยาบาล และโรงพยาบาลในต่างจังหวัดได้แก่ ภาคใต้ 7 จังหวัด ภาคเหนือ 2 จังหวัด ภาคอีสาน 3 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 17 โรงพยาบาล ซึ่งเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส ผลิตโดยบริษัท มุทา จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ขึ้นทะเบียนสถานประกอบการผลิตและจดแจ้งผลิตภัณฑ์เท้าเทียมไดนามิกกับ อย.

สำหรับเท้าเทียมไดนามิก ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2566 และผ่านการทดสอบตามมาตรการสากล ISO 10328 จากประเทศเยอรมนี และทำการทดลองทางด้านทางด้านคลินิกโดยโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Print
Tags:
Rate this article:
No rating

Categories