วช. ร่วมเครือข่ายวิจัยภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลงพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร มุ่งต่อยอดความรู้และขยายผลด้วยวิจัยและนวัตกรรม

  • 16 September 2023
  • Author: PMG
  • Number of views: 428
วช. ร่วมเครือข่ายวิจัยภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลงพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร มุ่งต่อยอดความรู้และขยายผลด้วยวิจัยและนวัตกรรม


เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และคณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. ลงพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดสกลนคร เพื่อเยี่ยมชมการดำเนินงานด้านสัตว์เศรษฐกิจของศูนย์ศึกษาฯ โดยมี ศ.ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ รองประธานเครือข่ายวิจัยภูมิภาค: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะนักวิจัย ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

สำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดสกลนคร เกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษา ทดลอง และพัฒนาอาชีพด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมทางการเกษตรอย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้แนวทางไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม พระองค์มีพระราชดำริเกี่ยวกับสัตว์เศรษฐกิจที่ทางศูนย์ศึกษาฯ ทำการทดลองเมื่อสำเร็จแล้วให้ขยายผลสู่ราษฎร ซึ่งควรเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย อาหารสัตว์มีในท้องถิ่น ใช้เทคโนโลยีไม่ซับซ้อน ทนต่อสภาพแวดล้อม สามารถนำมาเป็นอาหารในครัวเรือน และมีกำไรเมื่อนำไปขาย ซึ่งทางศูนย์ศึกษาฯ ได้ดำเนินการและประสบความสำเร็จ คือ 4 ดำภูพาน ประกอบด้วย ไก่ดำภูพาน สุกรดำภูพาน โคดำ และกระต่ายดำ โดยโคดำหรือโคเนื้อภูพานเป็นโคที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาจากโคทาจิมะ (Tajima) ซึ่งเป็นสายพันธุ์วากิว หรือ โคญี่ปุ่น เป็นโคที่ให้เนื้อมีคุณภาพดี มีความนุ่มไขมันแทรกเกรดสูงกรดไขมันไม่อิ่มตัว

การเยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดสกลนคร ในครั้งนี้ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจะมีการต่อยอดความรู้ในการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในบริบทความต้องการของพื้นที่ โดยวช.เห็นโอกาสในการสนับสนุนการดำเนินงาน ในรูปแบบศูนย์วิจัยชุมชนที่เครือข่ายวิจัยภูมิภาคได้ดำเนินการอยู่ในแต่ละภูมิภาคต่อไป
Print
Tags:
Rate this article:
No rating

Categories