วช. ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ The 14th Asian Conference of Lactic Acid Bacteria 2024 (ACLAB)

วช. ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ The 14th Asian Conference of Lactic Acid Bacteria 2024 (ACLAB)

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 แก่ โครงการการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาศูนย์กลางด้านความรู้เศรษฐกิจจุลินทรีย์และเทคโนโลยีชีวภาพ โดยมี รศ.ดร.สุทธิพันธุ์  แก้วสมพงษ์ สังกัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งโครงการดังกล่าว ในนามสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และ Asian Federation of Lactic Acid Bacteria (AFSLAB) เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ The 14th Asian Conference of Lactic Acid Bacteria 2024 (ACLAB) ระหว่างวันที่ 29 – 31 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรม เดอะ สุโกศลกรุงเทพมหานคร

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมดังกล่าว โดยมี Prof. Sung-Sik Yoon, Ph.D. President of the Asian Federation of Lactic Acid Bacteria (AFSLAB) กล่าวต้อนรับ รศ.ดร.สุนีย์ นิธิสินประเสริฐ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวรายงาน และ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเปิดการประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมจากเครือข่ายนักวิจัยต่างประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ มาเลเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย อินโดนีเซีย มองโกเลีย ไต้หวัน สิงคโปร์ อิหร่าน ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ ซึ่งภายในการประชุมมีการบรรยายพิเศษ และนำเสนอผลงานวิจัยและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพของแบคทีเรียกรดแลกติก ทั้งในรูปแบบ Oral Presentation และ Poster Presentation โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

1) Probiotics, Prebiotics, and Postbiotics

2) Microbial Genetics and Genomics for the Next Generation

3) Microbial Proteomics and Metabolomics

4) Microbiome and Host-Microbe Interaction

5) Upstream and Downstream Fermentation Technology for Foods and Feeds

6) Bio-process and Application of LAB

ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวยังเป็นเวทีสำหรับนิสิต นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ และสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นำเสนอผลงานวิจัยและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพของแบคทีเรียกรดแลกติก สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิชาการให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตลอดจนการผลักดันให้ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์และให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

Print
Tags:
Rate this article:
No rating

Categories