วช. เข้าพบผู้บริหารและศึกษาดูงาน สถาบัน Institut Français de la Mode; IFM เตรียมสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยเพื่อพัฒนางานด้านสิ่งทอและแฟชั่นของไทย ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส

วช. เข้าพบผู้บริหารและศึกษาดูงาน สถาบัน Institut Français de la Mode; IFM เตรียมสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยเพื่อพัฒนางานด้านสิ่งทอและแฟชั่นของไทย ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำคณะผู้บริหาร วช. เยือนสถาบัน Institut Français de la Mode; IFM สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยมี Mr. Xavier Romatet, Dean of IFM, Ms. Sylvie Ebel, Executive Director และผู้บริหารของ IFM ให้การต้อนรับ
สถาบัน Institut Français de la Mode; IFM เป็นสถาบันการศึกษาด้านแฟชั่นและอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ใหญ่ที่สุดของปารีส และมีชื่อเสียงในระดับโลก เปิดสอนในหลักสูตรการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก และมีศูนย์ฝึกอบรมสำหรับพัฒนาความรู้และสมรรถนะของผู้ทำงานในอุตสาหกรรมแฟชั่น รวมทั้ง IFM ยังเป็นศูนย์ความเชี่ยวชาญสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ แฟชั่น ที่มุ่งเน้นการบูรณาการความรู้และพัฒนาเทคนิคเฉพาะทางขั้นสูง และการบริหารจัดการอุตสาหกรรมแฟชั่นอย่างเต็มระบบ พร้อมนี้สถาบัน IFM ยังมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และองค์กรชั้นนำในแบรนด์ระดับโลก ที่จะสามารถพัฒนาบุคลากรและเทคนิคความรู้ด้านต่างๆได้อย่างทันสมัย พร้อมนี้ IFM ยังมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและวิจัยในประเทศต่างๆ ในการพัฒนางานประสิทธิภาพและคุณภาพของการออกแบบ การสร้างแบรนด์และการยกระดับผลิตภัณฑ์
ในการหารือระหว่าง Mr. Xavier Romatet, Dean of IFM, Ms. Sylvie Ebel, Executive Director และผู้บริหารของ IFM ร่วมกับ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิของ วช. และ รศ.ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ ศิลปะและหัตถศิลป์ ได้มีการยกประเด็นและหาแนวทางความร่วมมือระหว่าง IFM และ วช. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีแผนแลกเปลี่ยนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ การพัฒนาแบรนด์สินค้า และการบริหารจัดการสินค้าหัตถศิลป์ และแฟชั่นของไทย ซึ่งจากการเจรจาครั้งนี้ วช. มุ่งหวังว่าความร่วมมือที่จะเกิดขึ้น จะทำให้สถาบันการศึกษาของไทยและเครือข่ายผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้ยกระดับความรู้ทักษะและผลิตภัณฑ์หัตถศิลป์ สิ่งทอและอุตสาหกรรมแฟชั่น ให้มีสามารถสร้างมูลค่า และเกิดการพัฒนาวงการธุรกิจสิ่งทอ แฟชั่น ของไทยให้ได้รับโอกาสที่ดียิ่งขึ้น
ภายหลังการหารือผู้บริหารของ IFM ได้นำ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง พร้อมด้วยคณะเข้าเยี่ยมสถาบันฯ โดยได้ชมห้องเรียน และห้องปฏิบัติการในด้านต่างๆ ที่มีอุปกรณ์ทันสมัย อาทิ ห้องปฏิบัติการสร้างต้นแบบนวัตกรรม (Fabrication LAB : Fab LAB) ห้องปฏิบัติการแฟชั่น ตลอดจนห้องสมุดเฉพาะทางที่มีความสมบูรณ์แบบของสถาบันด้านแฟชั่นในฝรั่งเศส
Print

Categories