วช. ให้ความสำคัญกับงานวิจัยท้องถิ่น (Community-Based Research: CBR) ในการเป็นกลไกสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิจัย ชาวบ้าน และคนในชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความรู้ การจัดการปัญหา และการพึ่งพาตนเองของชุมชน จากการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน และมุ่งเน้นให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนและ สร้างงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาในชุมชน ซึ่งผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นกลไกสำคัญในการนำไปเพิ่มศักยภาพงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และกำหนดแนวคิด และบทบาทของงาน CBR กับการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเด็นสำคัญ ได้แก่ การจัดการศึกษาบนฐานชุมชน การจัดการอาชีพและเศรษฐกิจชุมชน การจัดการทรัพยากรโดยชุมชน สุขภาพและการจัดการสวัสดิการชุมชน และการอนุรักษ์พื้นฟูศิลปวัฒนธรรมชุมชน ทั้งนี้ วช. จะใช้กลไกการทำงานวิจัยท้องถิ่นที่ได้ดำเนินการ และเสริมประสิทธิภาพให้เข้มแข็งขึ้น โดยความร่วมมือระหว่าง วช. และสถาบันคลังสมองของชาติ เพื่อขับเคลื่อนงานตามโจทย์ที่สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ