วช. เตรียมความพร้อม นิทรรศการ ’Colour of Culture – Exploring the Textiles of the Hilltribes’ งานวิจัยศิลปกรรมของไทยสู่พิพิธภัณฑ์นานาชาติ ณ Whitchurch Silk Mill สหราชอาณาจักร

วช. เตรียมความพร้อม นิทรรศการ ’Colour of Culture – Exploring the Textiles of the Hilltribes’ งานวิจัยศิลปกรรมของไทยสู่พิพิธภัณฑ์นานาชาติ ณ Whitchurch Silk Mill สหราชอาณาจักร

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำคณะนักวิจัยและทีมงาน เตรียมความพร้อมการจัดนิทรรศการ ในการนำงานวิจัยและศิลปกรรมไทยสู่พิพิธภัณฑ์นานาชาติ ณ พิพิธภัณฑ์โรงทอผ้าไหมวิทเชิร์ช (Whitchurch Silk Mill) สหราชอาณาจักร โดยมี Lady Louisa Portal  และ Ms. Sue Tapliss ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์โรงทอผ้าไหมวิทเชิร์ช ให้การต้อนรับ


พิพิธภัณฑ์โรงทองผ้าไหมวิทเชิร์ช (Whitchurch Silk Mill) นับว่าอัญมณีแห่งมรดกทางอุตสาหกรรมวัฒนธรรมของเมืองแฮมป์เชียร์ เป็นโรงสีน้ำสมัยศตวรรษที่ 19 ที่ทอผ้าไหมอังกฤษ โดยใช้เครื่องจักรสมัยศตวรรษที่ 19 และจัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อเปิดให้มีการเข้าชมกันอย่างกว้างขวาง


โดย วช.ได้เตรียมความร่วมมือระดับองค์กรกับ พิพิธภัณฑ์โรงทอผ้าไหมวิทเชิร์ช (Whitchurch Silk Mill) สหราชอาณาจักร  ในการนำเสนอนิทรรศการงานวิจัยศิลปกรรมไทยในชื่อ 'Colour of Culture – Exploring the Textiles of the Hilltribes' ซึ่งกำหนดจัดแสดง ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม - 23 มิถุนายน 2567 ณ Whitchurch Silk Mill ในครั้งนี้ 


ความร่วมมือในการจัดนิทรรศการ ระหว่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และพิพิธภัณฑ์โรงทองผ้าไหมวิทเชิร์ช ในครั้งนี้ ได้นำการจัดแสดงความหลากหลายของศิลปะพื้นบ้านชาวไทยภูเขา ที่มีชื่อเสียงในด้านเอกลักษณ์เฉพาะตัวและความเชี่ยวชาญพิเศษในการทอผ้า ภูมิปัญญาด้านเสื้อผ้า และเทคนิคการผลิตที่สวยงาม นิทรรศการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาศิลปะสิ่งทอในประเทศไทย รวมทั้งส่งเสริม และยกระดับให้เป็นศิลปะร่วมสมัยอีกด้วย


ผลงานนิทรรศการในครั้งนี้ วช.ได้สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อการขยายผลงานงานวิจัยด้านการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์และงานวิจัยศิลปะของไทยสู่นานาชาติ แก่ รศ.ดร.น้ำฝน ไล่ศัตรูไกล ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ศิลปะ และคณะนักวิจัย ในการดำเนินงาน พร้อมนี้ วช.มุ่งการส่งเสริมและสนับสนุนในสร้างมาตรฐานและการยอมรับในมรดกวัฒนธรรมของไทยด้วยวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งการดำเนินงานจะได้มีการนำศิลปะข้ามวัฒนธรรมระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร มาร่วมจัดแสดงกับงานวิจัยศิลปะของไทย ในพื้นที่พิพิธภัณฑ์ในสหราชอาณาจักรและประเทศไทยในงานวิจัยเชิงศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายในอนาคตอีกด้วย

Print

Categories