วช. เปิดสูตรสำเร็จ เศรษฐกิจสร้างสรรค์และนวัตกรรม ผลักดันสู่ Soft Power เครื่องมือสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

วช. เปิดสูตรสำเร็จ เศรษฐกิจสร้างสรรค์และนวัตกรรม ผลักดันสู่ Soft Power เครื่องมือสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

















วันที่ 26 สิงหาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดเสวนา “Soft Power : พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์” โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และนายชาคริต พิชญางกูร

ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน TCDC) ร่วมเสวนา ณ ห้องประชุม World Ballroom ชั้น 23โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานวิจัยแห่งชาติ ให้การสนับสนุน เรื่อง Soft Power ในส่วนของวิจัยและนวัตกรรมที่มีความเกี่ยวข้องต่อการสร้างโอกาสเชิงอัตลักษณ์วัฒนธรรมให้สอดคล้องกับกรอบการทำงานของแต่ละพื้นที่ วช. เห็นโอกาสของการพัฒนาสินค้าและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่สามารถพัฒนาให้เป็น Soft Power ได้เข้ามีส่วนร่วมค่อนข้างหลากหลาย การสนับสนุนการสร้างสรรค์ โครงการเหล่านี้ โดยเข้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว เช่น เทศกาลต่างๆ กิจกรรมอัตลักษณ์ของไทย ภาพยนตร์ และกิจกรรมที่สะท้อนวัฒนธรรมไทย การเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างโอกาสในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ผ่านการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง การสร้าง Soft Power การพัฒนาอัตลักษณ์วัฒนธรรม จะเป็นส่วนช่วยเสริมสร้าง Soft Power ของประเทศ ซึ่งมีผลต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างประเทศอีกทางหนึ่ง
ทาง วช. ใช้เป็นกรอบการทำงาน ในแผนวิจัยและนวัตกรรมเข้าช่วยทำให้ซอฟเพาเวอร์มีกระบวนและกลไกลสามารถขับเคลื่อนทั้งประเด็นเชิงนโยบาย วัฒนธรรม การสื่อสาร หรืองานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสามารถผนวกเรื่องเหล่านี้เข้าไว้ในด้านความคิดสร้างสรรค์และวัฒนธรรมการศึกษาวิจัย เพื่อส่งเสริมให้เกิดบทบาทเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศหรืออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย ประกอบด้วยกลุ่มสินค้า บริการ สื่อ ผลิตภัณฑ์ ดนตรี วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวสิ่งเหล่านี้มีความเชื่อมโยงทั้งที่เป็นความรู้ความเข้าใจในการมีส่วนร่วมของสังคม ซึ่งการพัฒนาด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยขับเคลื่อนจะเกิดการเพิ่มมูลค่าให้กับสังคมในแง่มุมต่างๆ ทั้งนี้ วช.ให้การสนับสนุนเชิงอัตลักษณ์ เชิงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในส่วนของการสร้างชุดความรู้ ความเข้าใจไปสู่คนในท้องถิ่นให้เกิดการเรียนรู้ ระหว่างคนภายนอกและคนในพื้นที่เข้าถึงประวัติศาสตร์เชิงคุณค่า เป็นโอกาสในการสร้างคุณค่าท้องถิ่นและสังคม
ดร.วิภารัตน์ กล่าวทิ้งท้าย ว่า “วช. สนับสนุนการวิจัยเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม โดยการค้นหาเพลงเก่าของชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาเรียบเรียงใหม่ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการเสริมสร้างสิ่งใหม่บนรากฐานสิ่งเก่า เพื่อรักษาเสถียรภาพและอัตลักษณ์ของสังคมไทยให้สืบทอดและคงอยู่ต่อไป ซึ่ง วช. ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมวัฒนธรรมดนตรีศึกษาเพลงพื้นบ้านของภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของไทย และสร้างสรรค์เป็น Soft Power ให้กับอัตลักษณ์ของพื้นที่จังหวัดด้วย นอกจากนี้ยังมีโครงการให้การสนับสนุน ศิลปะมวยไทย ในเชิงความรู้ความเข้าใจส่งเสริมการนำเอกลักษณ์และคุณค่าของมวยไทยไปสู่เวทีระดับโลก”
ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เปิดเผยว่า Soft Power ของคนไทย คือ รากเหง้าและประวัติศาสตร์ ที่มาที่ไปของคนไทย ที่รวมกันสร้างบ้านแปงเมือง จนทำให้เกิดวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ร่วมของชาวไทย ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) อันรุ่มรวยของไทย สามารถเกื้อหนุนการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ในทิศทางบวกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจฐานราก โดยพัฒนาทุนวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ทาง วัฒนธรรมของท้องถิ่น เป็นผลิตภัณฑ์และการบริการทาง วัฒนธรรมรูปแบบใหม่ที่ยังคงรักษาคุณค่าและอัตลักษณ์เดิมไว้ การฉายภาพอัตลักษณ์ใหม่ของชุมชนท้องถิ่นด้วยทรัพยากรทางวัฒนธรรม การส่งเสริมการหวนคืนของวัฒนธรรมพื้นถิ่นดั้งเดิมในพื้นที่ที่สูญหายไป ซึ่งเกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และการหลั่งไหลของเงินเข้าสู่พื้นที่เป็นจำนวนมาก ถือเป็นการพัฒนาพื้นที่โดยใช้วัฒนธรรมเป็นตัวจักรขับเคลื่อนที่เรียกกันว่า “เศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม” (Cultural Economy) จนนำไปสู่การร่วมสร้างสำนึกท้องถิ่นสืบทอดทุนทาง วัฒนธรรมไปยังคนรุ่นหลังต่อไป
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (LOCAL STURDY) ชุมชนท้องถิ่นของไทยมีศักยภาพเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ซึ่งทำให้คนในชุมชนท้องถิ่นอยู่รอดและเติบโตมาได้โดยไม่พึ่งพารัฐ โดยเฉพาะห้วงเวลาที่รัฐไทยยังไม่สามารถเข้าถึงชุมชนท้องถิ่นได้ ทว่าชุมชนท้องถิ่นก็สามารถ ดำเนินชีวิตอยู่มาได้ โดยเฉพาะการปรับตัวและการจัดการภายในของตัวเองได้ ภายใต้การหาจุดสมดุลย์พอดีในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดยฐานที่สำคัญของการเกิดพลังท้องถิ่น สามารถสร้างพลังขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นภายในชุมชนท้องถิ่น ประกอบด้วย ด้านฐานทรัพยากร เครือข่ายทางสังคมระบบความรู้ ระบบความเชื่อและคุณค่า การจัดการทุนวัฒนธรรม (CULTURE HERITAGE)เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากคุณค่าทางวัฒนธรรม โดยยังคงรักษา อนุรักษ์ สืบสาน ตลอดจนพัฒนาคุณค่าเดิมผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรมหลากหลายรูปแบบที่ทำให้เกิดรายได้หมุนเวียนกับชุมชนที่เป็นเจ้าของทุนทางวัฒนธรรม ทำให้เกิดการพัฒนาบนพื้นที่มีทั้งประวัติศาสตร์ดั้งเดิมและประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นใหม่ แต่การจะอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานและพัฒนาให้ได้ทั้งการรักษาคุณภาพและการสร้างมุลค่าในแต่ละพื้นที่นั้น จำเป็นต้องมี “การจัดการ” กับทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งรักษา ต้องอาศัยบุคลากรทางด้านงานวัฒนธรรมเพื่อให้งานด้านวัฒนธรรมยังคงมีการสืบทอดเพื่อรักษาสมดุลของทั้งคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม กรอบแนวคิดในการจัดการทุนทางวัฒนธรรมให้ความสำคัญกับองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 กลไกการจัดการ ส่วนที่2 การธำรงคุณค่าของทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นและส่วนที่ 3 การเสริมสร้างมุลค่าทางเศรษฐกิจจากรากฐานทุนวัฒนธรรม
นายชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน TCDC) กล่าวว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิด Soft Power โดยอาศัยปัจจัย ด้านวัฒนธรรม ค่านิยมและนโยบายต่างประเทศ Soft Power ถูกใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญของนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ของหลายประเทศ เพื่อเผยแพร่และขยายอิทธิพลทางวิถีชีวิต ประเพณี ตลอดจนรสนิยมในการบริโภคอุปโภค ผ่านตัวสินค้าและบริการที่ได้รับการพัฒนา ผลิต และสื่อสารด้วยความคิดสร้างสรรค์ เช่น ดนตรี ภาพยนตร์ แฟชั่น เกม อาหาร ฯลฯ ช่วยดึงดูดการลงทุน การท่องเที่ยว โดยปลายทางคือการส่งออกไปยังสากล “Soft Power คือกระบวนการ ไม่ใช่วัฒนธรรม ที่ช่วยสร้างอำนาจต่อรองในระดับนานาชาติของประเทศ ผ่านการดึงดูดทางวัฒนธรรมด้วยสื่อ การท่องเที่ยว หรือนโยบายต่างประเทศรูปแบบต่าง ๆ เพื่อแทรกซึมชุดความคิดและภาพลักษณ์ที่ประเทศนั้นต้องการให้ทั่วโลกจดจำ ซึ่งต้องผ่านการวางยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบ และกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในระยะยาว เปรียบเสมือน Soft Power เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์ชาติ”
ผู้อำนวยการองค์การมหาชน TCDC กล่าวเพิ่มเติมว่า Creativity กุญแจสำคัญ สู่ความสำเร็จ Soft Power ไทย กลไกขับเคลื่อนสำคัญในกระบวนการ การใช้ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ต่อยอดต้นทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ให้พัฒนาทั้งรายได้และคุณภาพชีวิตของผู้คน โครงสร้างสังคมที่ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้อย่างอิสระเสรี จึงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้คนไทยกล้าคิด กล้าดัดแปลง เกิดเป็นโมเดลธุรกิจที่สะท้อนภาพลักษณ์ใหม่ของประเทศไทย พาอัตลักษณ์ท้องถิ่นและของดีของไทยให้ไปสู่ระดับโลก
สำหรับผู้สนใจร่วมงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567” (Thailand Research Expo 2024) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 สิงหาคม พ.ศ.2567 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://researchexporegistration.com ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2567 รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://researchexpo.nrct.go.th/ หรือ โทรศัพท์ 0-2579-1370-9 ต่อ 151,517,518 ทั้งนี้การเข้าร่วมงานกิจกรรมสัมนาในหัวข้อต่างๆ ทางผู้จัดของสงวนสิทธิ์สำหรับผู้ลงทะเบียนผ่านระบบล่วงหน้าเท่านั้น
Print

Categories