วช. ให้การต้อนรับคณาจารย์ และนักเรียน โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ และโรงเรียนนนทบุรีวิทยาลัย เยี่ยมชมศูนย์เกษตรวิถีเมือง วช.

วช. ให้การต้อนรับคณาจารย์ และนักเรียน โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ และโรงเรียนนนทบุรีวิทยาลัย เยี่ยมชมศูนย์เกษตรวิถีเมือง วช.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วันที่ 15 - 16 สิงหาคม 2567 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 ให้การต้อนรับ คณาจารย์ และนักเรียนโรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ และโรงเรียนนนทบุรีวิทยาลัย เยี่ยมชม และร่วมกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ดังนี้

🔹“การเพาะเลี้ยงเห็ดก้อนในครัวเรือน และการเพาะเลี้ยงไส้เดือนผลิตปุ๋ยใช้เอง” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลือพงษ์ ลือนาม จาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,
🔹“BCG โมเดลเศรษฐกิจใหม่ตามวิถีเมือง สู่การปฏิบัติเพื่อสังคมและชุมชน” โดย อาจารย์กัลยา นาคลังกา จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร,
🔹“การปลูกผัดสลัดกินเองในครัวเรือน” โดย นายจิรายุ พรหมเทวา จาก วิสาหกิจชุมชน, และ
🔹“การออกแบบพื้นที่กับเกษตรวิถีเมือง” โดย อาจารย์กฤษฎา พลทรัพย์ จาก บริษัท กรีนสเปซ อาคิเทค จำกัด
ให้เกียรติเป็นวิทยากรภายใต้โครงการ "การส่งเสริมความรู้การนำงานวิจัยตามแนวคิด BCG สู่การปฏิบัติเพื่อประโยชน์ต่อสังคม"
ศูนย์เกษตรวิถีเมือง วช. เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่การใช้ประโยชน์สำหรับการปลูกพืชในเมือง เพื่อทดลอง รวบรวม และสาธิตการใช้ประโยชน์นวัตกรรมและองค์ความรู้ในการเพาะปลูกพืชอาหาร ภายใต้แนวคิด Adaptive Reuse โดยนำนวัตกรรมจากงานวิจัยมากกว่า 30 เทคโนโลยี มาร่วมพัฒนาให้เกิดการผลิตพืชผักผลไม้ พร้อมนี้ วช. ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้นำวัสดุเหลือใช้จากการผลิต ที่เกิดจากแนวคิด Recycle Upcycle มาใช้เป็นนวัตกรรมในการพัฒนาพื้นที่ศูนย์เกษตรวิถีเมือง วช. ด้วย อาทิ อิฐบล็อกจากขยะโรงไฟฟ้า ยางมะตอยลาดพื้นถนนจากพลาสติกเหลือใช้ พร้อมกันนี้ วช. ยังให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมเพื่อการประหยัดพลังงานมาใช้ในการพัฒนาพื้นที่ อาทิ นวัตกรรมประหยัดพลังงานด้วยพลังงานลม นวัตกรรมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างเหมาะสม เป็นต้น เพื่อเป็นต้นแบบในการปลูกพืชในเมืองให้กับหน่วยงานต่าง ๆ นำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
Print

Categories