สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดงานแถลงข่าว จับตาวิกฤตยางพาราไทย : ยางและไม้ยางพาราไทยกับการถูกกีดกันทางการค้าด้วย “มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 15 สกสว. เพื่อสรุปสถานการณ์ของยางพาราไทยในปัจจุบันและนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาหลังไทยถูกกีดกันทางการค้า ด้วย “มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี”
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า สถานการณ์ล่าสุดในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา พบว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านยางรถยนต์ (มิชลิน) ของประเทศฝรั่งเศส และเฟอร์นิเจอร์ (อิเกีย) ของประเทศสวีเดน ได้ประกาศว่าในอีก 2 เดือนข้างหน้า ทั้ง 2 บริษัทจะไม่ซื้อยางพารา และไม้ยางพาราที่มีการบุกรุกป่า และในขณะเดียวกันยังมีบริษัทจากต่างประเทศอีกหลายประเทศเริ่มมีการเคลื่อนไหวที่จะไม่ยอมรับยางพารา และไม้ยางพาราของไทยจากสวนยางที่ไม่ได้รับรองการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานนานาชาติ ทั้งมาตรฐาน FSC, มาตรฐาน PEFC และมาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มอก. 14061 ทั้งนี้ เนื่องจากกระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกำลังเป็นประเด็นที่สำคัญของโลก ด้วยเหตุนี้ วช. และ สกสว.ได้มองเห็นความจำเป็นในการเตรียมความพร้อม จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาและเตรียมความพร้อมให้เกษตรกรสวนยางทั้งรายเล็กและรายใหญ่เพื่อให้ปรับตัวและสามารถจัดการกับสวนยางให้สอดคล้องกับมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานนานาชาติ
ด้านศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า สืบเนื่องจากยางพาราไทยมีราคาตกต่ำอย่างมาเป็นเวลานานกว่า 5 ปี ทำให้ชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อน ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ประเทศ ผู้ซื้อยางและไม้ยางพารายังพยายามกดให้ราคาถูกลงอีก โดยใช้ข้อกีดกันทางการค้าอื่นที่ไม่ใช่ภาษี (Non tariff barriers) โดยประเทศผู้ซื้อจะอ้างอิงมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน ทั้ง Forest Stewardship Council (FSC) และ Program for the Endorsement of Forest Certification (PEFC) สกสว. ได้ตระหนักถึงปัญหาการกีดกันทางการค้าดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งในขณะนั้น สกว. (ชื่อ เดิมของ สกสว.) ได้ให้ทุนสนับสนุนการทำวิจัย ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน เพื่อจัดทำมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบการจัดการรวมทั้งขนบธรรมเนียม และวิถีชีวิตของชาวสวนยางไทย โดยต้องเป็นที่ยอมรับขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศทั้ง FSC และ PEFC อาทิ มาตรฐานการจัดสวนป่าไม้อย่างยั่งยืน มอก.14061, FSC Thailand (มาตรฐาน FSC ที่เหมาะสมกับประเทศไทย)
ผศ.ดร.ขวัญชัย ดวงสถาพร หัวหน้าภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้กล่าวถึงวิกฤตการรับรองมาตรฐานการจัดการสวนยางพาราในประเทศไทย 6 ประการ ได้แก่
- 1. ผลสืบเนื่องจากปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมโลกที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นส่งผลต่อการเร่งให้มีมาตรฐานการจัดการสวนยางพารา
- 2. สถานการณ์การส่งออกผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราในระยะยาวอยู่ในสถานภาพที่มีความเสี่ยงสูง
- 3. ประเทศไทยมีพื้นที่สวนยางพาราที่มีการจัดการและได้รับการรับรองตามมาตรฐานการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติเพียงร้อยละ 0.5 ของพื้นที่สวนยางพาราทั้งประเทศ
- 4. มาตรฐานการรับรองการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติตามเงื่อนไขของผู้ซื้อมีหลายมาตรฐาน
- 5. ผู้ทำสวนยางพาราและผู้ประกอบธุรกิจไม้ยางพาราส่วนใหญ่ไม่เข้าใจในมาตรฐานการรับรองการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติที่ดีพอ และ
- 6. มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรับรองของ FSC จากเวอร์ชั่น 4 เป็น เวอร์ชั่น 5 ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งมีเงื่อนไขเพิ่มมากขึ้นในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรฐาน
ซึ่ง ผศ.ดร.ขวัญชัย ดวงสถาพร ได้เสนอแนะแนวทางเพื่อตอบโจทย์เร่งด่วนของวิกฤตยางพาราไทยบนพื้นฐานงานวิจัย 6 ประการ ได้แก่
- 1. กำหนดเป็นวาระแห่งชาติเร่งด่วนในการพัฒนาศักยภาพของการทำสวนยางพาราทั้งระบบเพื่อให้ได้รับการรับรองการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติ
- 2. กำหนดหรือสร้างองค์กรที่มีภารกิจในการรับมือ เจรจา และสร้างการรับรู้กับผู้เกี่ยวข้อง เช่น การยางแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ มหาวิทยาลัย
- 3. พัฒนาศักยภาพและสร้างความพร้อมของผู้ทำสวนยางพารา ผู้ประกอบธุรกิจไม้ยางพารา และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ให้ได้รับการรับรองการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติโดยด่วน
- 4. สร้าง Forest Management Standard for Thailand บนพื้นฐานของงานวิจัย ที่ได้รับการรับรองจาก FSC หรือ PEFC
- 5. เร่งวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมของการจัดการสวนยางพาราที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบในประเทศไทย เช่น การปลูกเชิงเดี่ยว และการปลูกพืชร่วมยางพารา เพื่อรองรับการตรวจมาตรฐาน ภายใน 1-2 ปี และ
- 6. ผลักดัน เร่งรัด และเพิ่มศักยภาพให้สวนยางพาราไทยผ่านมาตรฐานการรับรองการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติตามปริมาณและความต้องการของผู้ซื้อภายใน