สุดยอดนวัตกรรมของคนรุ่นใหม่ คว้ารางวัลการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ในมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ปี 2567

สุดยอดนวัตกรรมของคนรุ่นใหม่ คว้ารางวัลการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ในมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ปี 2567






















วันที่ 28 สิงหาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบรางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2567 ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ภายในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 : Thailand Research Expo 2024” ณ เวทีกิจกรรม Highlight Stage ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ชื่นชมในความคิสร้างสรรค์ ความพยายาม และความมุ่งมั่นของสายอุดมศึกษา ที่ได้ทุ่มเทเวลาและพลังกาย พลังใจ ในการพัฒนาผลงานอันทรงคุณค่าเหล่านี้ ผลงานของสายอุดมศึกษาไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อวงการการศึกษาและการวิจัยเท่านั้น แต่ยังมีศักยภาพในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม และเศรษฐกิจของประเทศชาติ ความสำเร็จของสายอุดมศึกษา อีกทั้งเป็นเครื่องหมายแห่งความทุ่มเทและความมุ่งมั่นในการศึกษาและวิจัย สะท้อนถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของเยาวชนไทยในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะขับเคลื่อนประเทศชาติไปข้างหน้าอีกด้วย
โดยการแบ่งการตัดสินเป็น 2 ระดับ ดังนี้
- ระดับปริญญาตรี
กลุ่มเรื่องที่ 1 ด้านเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
ระดับดี ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ฟิล์มพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ผสมคาร์บอนดอทจากน้ำตาลทราย สำหรับเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารต้านเชื้อแบคทีเรีย” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
กลุ่มเรื่องที่ 2 ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์
ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานเรื่อง “การออกแบบพัฒนาอุปกรณ์ถ่างขยายสำหรับการรักษามะเร็งท่อน้ำดี ณ ตำแหน่ง Perihilar” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
กลุ่มเรื่องที่ 3 ด้านวิศวกรรมศาสตร์เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และอุปกรณ์อัจฉริยะ
ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานเรื่อง ”ระบบเซนเซอร์ตรวจวัดการเคลื่อนไหวพร้อมเกมสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับผู้ใช้วีลแชร์“ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มเรื่องที่ 4 ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีวัสดุ และ BCG Economy Mode
ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานเรื่อง ”ขดลวดค้ำยันหลอดเลือดแดงคาโรติดจากวัสดุฉลาดที่ขยายตัวได้เองสำหรับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง“ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
และกลุ่มเรื่อง 5 ด้านคุณภาพชีวิตและ Soft Power
ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานเรื่อง ”นวัตกรรมการออกแบบเครื่องประดับ โดยใช้ทฤษฎี Deconstruction และทฤษฎี Modular ด้วยแนวคิดการผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดวัฒนธรรม
( Reproduction for Culture Transmission) เพื่อสร้าง แบรนด์เครื่องประดับไทยสู่สากล “ออริไทย (Orithai)”” จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ระดับบัณฑิตศึกษา
กลุ่มเรื่องที่ 1 ด้านเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมชุดตรวจแถบสีความไวสูงสำหรับตรวจปลาที่ติดเชื้อ TiLV” จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
กลุ่มเรื่องที่ 2 ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์
ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานเรื่อง “KKU AI Measurement Acetabular Cup Angle: ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวัดมุมของชิ้นส่วนเบ้าสะโพกเทียม“ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มเรื่องที่ 3 ด้านวิศวกรรมศาสตร์เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และอุปกรณ์อัจฉริยะ
ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานเรื่อง ”รถตรวจการณ์ทางรถไฟแบบอัตโนมัติ“ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
กลุ่มเรื่องที่ 4 ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีวัสดุ และ BCG Economy Mode
ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานเรื่อง ”นวัตกรรมสิ่งทอหมุนเวียนจากเศษเหลือทิ้งเปลือกทุเรียนสู่สินค้าเครื่องแต่งกายต้านเชื้อแบคทีเรีย“ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และกลุ่มเรื่อง 5 ด้านคุณภาพชีวิตและ Soft Power
ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานเรื่อง ”นวัตกรรมการพัฒนาเส้นใยบัวหลวงผ่านกระบวนการพลาสมา“ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และยังมีการมอบเหรียญรางวัล(ทอง/เงิน/ทองแดง) ของผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2567
การมอบรางวัลการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2567 วช. หวังว่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนให้เป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพและศักยภาพ สามารถเผยแพร่สู่สาธารณชนและการแข่งขันในเวทีระดับชาติและนานาชาติ และส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาได้มีเครือข่ายด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน อีกด้วย
Print

Categories