คณะนักวิจัย นักวิชาการไทย-จีน ร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในประเด็นท้าทาย “ครบรอบ 10 ปี กรอบความร่วมมือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (The 10th Anniversary of the B&R Initiative and China-Thailand” ในระหว่างการสัมมนา
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะนักวิจัย นักวิชาการของไทย เข้าร่วมในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในระหว่างงานสัมมนายุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 26 - 27 พฤศจิกายน 2566 ณ Chen Yankui Building มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน
การประชุมหัวข้อที่ 2 ครบรอบ 10 ปี กรอบความร่วมมือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (The 10th Anniversary of the B&R Initiative and China-Thailand Cooperation)
Session Chair
รศ.ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- Prof. Song Qingrun วิทยาลัยภาษาต่างประเทศ กรุงปักกิ่ง นำเสนอเรื่อง “การพัฒนาความสัมพันธ์ทางการฑูตและความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างจีนและไทย นับตั้งแต่มีการเสนอแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเมื่อ 10 ปีก่อน” กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ ในระดับทางการฑูตและความมั่นคง พร้อมเสถียรภาพของทั้งสองประเทศและระดับภูมิภาค
- ผศ.ดร. เมธินี จรรยาสุภาพ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นำเสนอเรื่อง “การพัฒนาวัสดุการตรวจวัดทางชีวภาพเพื่อเป็นจุดดูแลผู้ป่วยสำหรับการตรวจวินิจฉัยและการตรวจประเมินในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” กล่าวถึงการต่อยอดการรักษาของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ผ่านโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง โดยการค้นคว้าวิจัยและสร้างเครื่องมือตรวจวัดที่ทันสมัยจากวัสดุใหม่ๆ
- Assoc. Prof. Zhou Fangye สถาบันวิจัยกลยุทธ์ระหว่างประเทศแห่งชาติ สถาบันสังคมศาสตร์จีน
นำเสนอเรื่อง “โครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และโอกาสใหม่ในการสร้างชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีนและไทย” กล่าวถึงความประสบความสำเร็จของจีนและไทยในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าภายใต้กรอบ "Belt and Road Initiative"
- ดร.ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นำเสนอเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงการขนส่งทุเรียนไทยไปจีนภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจ BRI” นำเสนอเกี่ยวกับทุเรียนไทยกลายเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย และ BRI economic coridors ภายใด้แผนงาน The China-Indochina Peninsula economi Comridor (CICPE-) เป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้การเชื่อมต่อการคมนาคมทำให้เกิดเส้นทางการส่งออกทุเรียนใหม่จากไทยสู่ประเทศจีน
- คุณยุวดี คาดการณ์ไกล รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน นำเสนอเรื่อง “BRI: พลังการเชื่อมต่อ สร้างเศรษฐกิจเมืองและภูมิภาค” กล่าวถึงข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (BRI) ของจีน ที่เป็นพลังเชื่อมต่อที่ขับเคลื่อนในระดับโลก โดยให้การสนับสนุนการพัฒนาเมือง ความร่วมมือ BRI ในอนาคต