เมื่อวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2567 Prof. Zhao Zhimin, Secretary General of Chinese Academy of Social Sciences, CASS ได้เป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการนานาชาติ “Dialogue for Asia-Pacific Peace and Development 2024” ณ Beijing International Hotel กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมกันนี้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง
ผู้อำนวยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับเชิญให้ร่วมกล่าวปาฐกถาพิเศษในการสัมมนาวิชาการนานาชาติในหัวข้อ “การเจรจาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาเอเชียแปซิฟิก พ.ศ. 2567” (Dialogue for Asia-Pacific Peace and Development 2024) เรื่อง “การเสริมสร้างวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างจีน-อาเซียน” (Strengthen the Culture and Social Relationship between China-ASEAN) ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับผู้บริหารและแทนระดับสูงจากองค์กรวิชาการและส่งเสริมการวิจัยอีก 2 ท่าน ได้แก่ Mr. Zhou Li อดีตรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Former Deputy Minister, International Department Central Committee of CPC) เรื่อง Review and Prospects for the International Situation in 2024 และ Prof. Chung-in Moon ที่ปรึกษาพิเศษอดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ด้านกิจการต่างประเทศและความมั่นคงแห่งชาติ Special Adviser for South Korea's Former President for Foreign Affairs and National Security เรื่อง From Collective Defense to Collective Security in Asia-Pacific : Call for Common Security and Open Regionalism
ดร. วิภารัตน์ฯ กล่าวว่า การสัมมนาวิชาการนานาชาติครั้งนี้มีความสำคัญและทันสมัย เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญได้ร่วมนำเสนอประเด็นสำคัญจากมุมมองของหลากหลายประเทศ ในประเด็นการขับเคลื่อนการพัฒนาและความร่วมมือในภูมิภาคจีน-อาเซียน โดยอาศัยศิลปะและวัฒนธรรมเป็นสะพานข้ามพรมแดน เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงถึงความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม สร้างความไว้วางใจ และความเคารพซึ่งกันและกัน ผ่านการจัดกิจกรรมความร่วมมือ ดังนี้
1. การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-อาเซียน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้ชื่นชมความสวยงามของศิลปะ ภาษา และวัฒนธรรม
2. กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครอบคลุมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม รวมถึงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัญหาความยากจน
3. การบูรณาการโครงการทางวัฒนธรรม ภายใต้โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เพื่อเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน
4. การส่งเสริมทักษะด้านในหลักสูตรภาษาจีนกลางในประเทศอาเซียนและศูนย์ภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศจีน
พร้อมนี้ ดร. วิภารัตน์ฯ ได้กล่าวถึง บทบาทของประเทศไทยโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและการเสริมสร้างทักษะของบุคลากรในอาเซียน ภายใต้โปรแกรม ASEAN Talent Mobility (ATM) โดยมีวิสัยทัศน์และมุมมองในการพัฒนาทักษะขั้นสูงของบุคลากรในอาเซียนผ่านประสบการณ์การทำงานในภาคธุรกิจ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการฝึกอบรม โดยมุ่งเน้นที่เทคโนโลยีก้าวหน้าและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม การเติบโตทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรในอาเซียน
ในประเด็นที่จะสร้างโอกาสและความร่วมมือกับจีนใน Dialogue Partner ของอาเซียน ในนโยบายของกระทรวง อว. มีประเด็นเชื่อมโยงที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาพัฒนาใน 5 สาขาสำคัญ ที่สอดคล้องกับการศึกษาพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประกอบด้วย
1) อุตสาหกรรม 4.0
2) โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
3) ปัญญาประดิษฐ์
4) พลังงานสะอาด
5) เทคโนลียีทางการแพทย์
การสัมมนาวิชาการนานาชาติ “Dialogue for Asia-Pacific Peace and Development 2024” จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยสถาบันวิจัยกลยุทธ์ระหว่างประเทศแห่งชาติ (National Institute of International Strategy, NIIS) ภายใต้สถาบันสังคมศาสตร์จีน (Chinese Academy of Social Sciences, CASS) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านการวิจัยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมุ่งเน้นการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ ร่วมกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในการสัมมนาครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมจำนวนกว่า 80 คน จาก 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย จีน เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย เวียดนาม ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และเนปาล