วช. จัดการเสวนาเรื่อง “อุตสาหกรรมยางพาราไทยกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและการกีดกันทางการค้า”

วช. จัดการเสวนาเรื่อง “อุตสาหกรรมยางพาราไทยกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและการกีดกันทางการค้า”















วันที่ 26 กรกฎาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการประชุมหัวข้อ “อุตสาหกรรมยางพาราไทยกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและการกีดกันทางการค้า” โดย คุณสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม โดยจัดขึ้นภายในงาน อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE

THAILAND มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน ด้วยพลังสหวิทยาการ ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุม MR 204 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

คุณณกรณ์ ตรรกวิรพัท อดีตผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การกีดกันทางการค้าเป็นกระแสโลกที่เราต้องปรับตัว โดย EUDR (EU Deforestation Regulation: ข้อกฎหมายด้านการนำเข้าสินค้าที่มีส่วนในการตัดไม้ทำลายป่า) เป็นการแสดงแหล่งกำเนิดของยาง ถ้าสวนยางที่มี EUDR จะทำให้ได้ราคายางที่สูงกว่า ดังนั้นจึงควรมีการผลักดันให้ทำ EUDR ในสวนยางพาราเพิ่มมากขึ้น ถัดมา ดร.ชโย ตรังอดิศัยกุล รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยาง และกรรมการบริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องทั้งในทางบวกหรือลบภาคอุตสาหกรรมจะให้ความสำคัญโดยเฉพาะกับคู่ค้าที่ใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ภาคอุตสาหกรรมอยากให้มีการพัฒนาโจทย์วิจัยที่สามารถนำยางกลับมารีไซเคิลใหม่เพื่อเป็นการนำยางมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากขึ้น นอกจากนี้คุณอดิศักดิ์ กองวารี นายกสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย กล่าวว่า สิ่งที่ควรจะทำคือกลยุทธ์การบุก ไม่ใช่แค่กลยุทธ์การตั้งรับอย่างเดียว ทั้งนี้จากที่ผ่านมาการพัฒนางานวิจัยมีตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ แต่ควรพัฒนาเพิ่มเติมสำหรับงานวิจัยทางด้านการตลาดโดยการนำ Big data มาใช้เพื่อให้ครอบคลุมในทุกด้านมากยิ่งขึ้น
สุดท้ายนี้รองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ ผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา ได้กล่าวถึงมุมมองของนักวิชาการต่อกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมยางพาราและได้ให้แนวทางในการพัฒนางานวิจัยยางพาราเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัวเข้ากับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและการกีดกันทางการค้า โดยในส่วนของนักวิจัยต้องหาแนวคิดงานวิจัยให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งการพัฒนางานวิจัยที่จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายกับบุคลากรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำข้อดีของนักวิจัยแต่ละคนมาพัฒนางานวิจัยให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ กิจกรรมภายในงาน อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND มีการประชุม บรรยาย เสวนา Workshop ในหัวข้อต่าง ๆ มากกว่า 150 หัวข้อ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและศักยภาพของหน่วยงาน ในกระทรวง อว. ในการสร้างความแข็งแกร่งของสหวิทยาการในทุกด้าน ที่นำไปสู่การพัฒนากำลังคนที่มีความสามารถและพร้อมที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ความท้าทายของโลกยุคใหม่ไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
Print
«December 2024»
MonTueWedThuFriSatSun
2526272829301
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
303112345