วช. ร่วมกับ มช. จัดงานแสดงความสำเร็จการพัฒนาทักษะ Soft Skills สำหรับบุคลากร ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 ตำบลต้นแบบ พัฒนางานสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากผู้สูงวัย

  • 27 February 2024
  • Author: PMG
  • Number of views: 210
วช. ร่วมกับ มช. จัดงานแสดงความสำเร็จการพัฒนาทักษะ Soft Skills สำหรับบุคลากร ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 ตำบลต้นแบบ พัฒนางานสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากผู้สูงวัย

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นางสาวศิรินทร์พร เดียวตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบวิจัย ร่วมงานแสดงความสำเร็จการพัฒนาทักษะ Soft Skills สำหรับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 ตำบลต้นแบบ ที่พัฒนางานสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชน จาก
ผู้สูงวัย ณ ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติ จากผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายวิษณุ วิทยวราวัฒน์ เป็นประธานเปิดกิจกรรม ซึ่งมีศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์
ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน รองศาสตราจารย์ ดร.ปรารถนา ใจผ่อง ผู้อำนวยการวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต เป็นผู้กล่าวรายงาน และนางสาวศิรินทร์พร เดียวตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบวิจัย ร่วมกล่าวแสดงความยินดี ต่อผลสำเร็จการดำเนินงาน
​นายวิษณุ วิทยวราวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นหน่วยงานที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมในระดับ ฐานราก โดยมีบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ขับเคลื่อนและบูรณาการองค์ความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการสนับสนุนและจากผลสำเร็จของความร่วมมือ
ที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการ ADVOCATE นี้ จะนําไปสู่การขับเคลื่อนท้องถิ่นของไทยอย่างเข้มแข็ง ด้วยบุคลากรของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศักยภาพพร้อม ทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุและประชาชนทุกช่วงวัย เข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตนำไปสู่การพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในโลกยุคใหม่ให้สามารถต่อสู้กับความ
ยากจนพร้อมเป็นกําลังขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจของประเทศชาติต่อไป
นางสาวศิรินทร์พร เดียวตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบวิจัย กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ทันต่อสถานการณ์โลก ด้วยเป้าประสงค์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสังคมไทยอย่างยั่งยืน โดยโครงการ “ADVOCATE” เป็นหนึ่งในโครงการวิจัยที่มีผลการดำเนินงานและเกิดผลกระทบสูงต่อการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้มีศักยภาพพร้อมในการพัฒนาผู้สูงวัยและคนในชุมชนอย่างเข้มแข็ง ด้วยระบบการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การทำงานและการพัฒนาท้องถิ่นของไทย รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยและสร้างรายได้ มุ่งสู่การเป็นชุมชนพึ่งตนเอง ยกระดับความเป็นอยู่ของผู้สูงวัยและคนในชุมชน
รองศาสตราจารย์ ดร.ปรารถนา ใจผ่อง ผู้อำนวยการวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสำคัญยิ่งในการสนับสนุนและส่งเสริมการดูแล ผู้สูงอายุ และด้วยวิสัยทัศน์รวมทั้งพันธกิจของวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการเสริมสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนในสังคม ยกระดับศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดทำโครงการการศึกษาแนวทางพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะการบริหารจัดการสำหรับบุคลากรของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยในชุมชนแบบมีส่วนร่วม โดยมีการสร้างความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills และ Management Skills แก่บุคลากรและผู้นำชุมชนของ อปท. จำนวน 80 คน ใน 8 พื้นที่นำร่อง จาก 4 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำพูน และจังหวัดน่าน ด้วยกระบวนการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะการ ทำงาน พร้อมแนะนำแนวทางต่อยอดการส่งเสริมธุรกิจและผลิตภัณฑ์จากผู้สูงวัยในชุมชน มากกว่า 30 ผลิตภัณฑ์ ผ่านโครงการนำร่อง 8 พื้นที่ เพื่อสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน
​นอกจากนี้ในงานยังมีการแสดงผลิตภัณฑ์ชุมชนและนวัตกรรมการเรียนรู้จากหน่วยงานเครือข่ายของ โครงการ มากกว่า 10 หน่วยงาน จาก 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน อาทิ ชมรมผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดเชียงใหม่ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น
ปัจจุบัน “ADVOCATE” ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills และ Management Skills แก่บุคลากรเพื่อการพัฒนากิจกรรมพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากผู้สูงวัยในชุมชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อสร้างรายได้หรือเกิดการสนับสนุนรายได้ให้กับกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (Pre-Aging) และผู้สูงอายุ อันนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยในชุมชนอย่างยั่งยืน
Print
Tags:
Rate this article:
No rating
«December 2024»
MonTueWedThuFriSatSun
2526272829301
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
303112345