วช. ร่วมกับกรมชลประทาน นำเครื่องมือการบริหารจัดการน้ำ จากผลสำเร็จงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ลุมน้ำสำคัญ ภายใต้ MOU และกรอบความร่วมมือ

วช. ร่วมกับกรมชลประทาน นำเครื่องมือการบริหารจัดการน้ำ จากผลสำเร็จงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ลุมน้ำสำคัญ ภายใต้ MOU และกรอบความร่วมมือ




















วันที่ 9 สิงหาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การขยายผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ”

เพื่อร่วมมือกันขับเคลื่อนและขยายผลงานวิจัยด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ณ ห้องประชุมดงตาล ชั้น 4 อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำภู กรมชลประทาน

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. ในฐานะหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดขยายผลงานวิจัยและนวัตกรรม และถ่ายทอดองค์ความรู้งานวิจัยและนวัตกรรม โดยเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกับกรมชลประทาน เพื่อขับเคลื่อนและขยายผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างองค์กรผู้ใช้น้ำและภาคีหน่วยงานระดับท้องถิ่น จังหวัด ซึ่งเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม ซึ่ง วช. ได้ให้การสนับสนุน โดยทุนเพื่อการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization: RU) ซึ่งมุ่งเน้นต่อยอดโครงการเพื่อให้เกิดการนำไปใช้ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งต้องการความร่วมมือในการขยายผลงานวิจัยจากกรมชลประทาน รวมถึงหน่วยงานเครือข่าย เช่น มหาวิทยาลัยที่เป็นต้นทาง ในการทำงานควบคู่กันเพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การบูรณาการในทุกมิติ เช่น การวางแผนการใช้น้ำผ่านกลไกความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทาน พร้อมขับเคลื่อนและขยายผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบโดยมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อนำไปสู่การบูรณาการเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำพร้อมทั้งแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนอย่างรวดเร็วและทั่วถึงเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนได้อย่างทันท่วงที
รศ. ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ผู้อำนวยการแผนงานการนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ (RU) ด้านการบริหารจัดการน้ำ วช. ได้กล่าวถึง ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของขับเคลื่อนและขยายผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ เพื่อร่วมมือกับ กรมชลประทาน ในการต่อยอดผลสำเร็จจากแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม แผนงานการบริหารจัดการน้ำ โดยมีกลไกในการกำกับ และสนับสนุนการทำงานร่วมกันผ่านบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือการขยายการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยสู่ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระหว่าง วช. และ กรมชลประทาน เพื่อให้เกิดกิจกรรมการถ่ายทอดผลสำเร็จของโครงการวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานหลักที่มีภารกิจด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการดำเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยวิชาการ กับหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลอง และโครงการชลประทานวังบัว เป็นตัวอย่างที่จะทำให้เกิด feedback ที่จะนำมาพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมให้ตรงกับบริบทการทำงาน ณ หน้างานจริง เพื่อให้ง่ายต่อเจ้าหน้าที่ในช่วงสามปีจากนี้ไป
รศ. ดร.บัญชา ขวัญยืน จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ผศ. ดร.ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้บรรยายถึง แนวทางการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยที่จะขับเคลื่อนและขยายผลร่วมกันนั้น และรายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในพื้นที่ลุ่มน้ำและโครงการชลประทานแม่กลอง และโครงการชลประทานวังบัว จะนำไปสู่กับรับมือกับสถานการณ์น้ำต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงทีเพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศ
ทั้งนี้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวฯ เป็นการร่วมมือของสองหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนและขยายผลงานวิจัยด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำไปสู่การใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มความสามารถและพัฒนากลไกในบริหารจัดการน้ำระดับในระดับหน่วยงานที่จะเชื่อมโยงถึงท้องถิ่น – จังหวัด-ลุ่มน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำระดับประเทศให้ดีขึ้น
Print
«November 2024»
MonTueWedThuFriSatSun
28293031123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829301
2345678