วช. ร่วมกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จัดเสวนาหัวข้อ “ความท้าทายของการแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนด้วยนวัตกรรมจากงานวิจัย” ในงานครบรอบ 65 ปี วช.

วช. ร่วมกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จัดเสวนาหัวข้อ “ความท้าทายของการแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนด้วยนวัตกรรมจากงานวิจัย” ในงานครบรอบ 65 ปี วช.

วันที่ 24 ตุลาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการบังคับใช้กฎหมายยาเสพติด และศูนย์การเรียนรู้ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จัดเสวนาหัวข้อ “ความท้าทายของการแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนด้วยนวัตกรรมจากงานวิจัย”  โดยจัดขึ้นในงานเนื่องในโอกาส วช. ครบรอบ 65 ปี ภายใต้แนวคิด “65 ปี วช. บูรณาการความรู้ เชิดชูนักวิจัย สร้างอนาคตไทย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” ณ ห้องประชุม จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อาคาร วช. 1

ศาสตราจารย์ พลตำรวจตรีหญิง ดร.พัชรา สินลอยมา หัวหน้าศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กล่าวถึง กลยุทธ์การแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนแบบเร่งด่วน (Quick win) ซึ่งเป็นประเด็น Big Rock ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมและกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนในทุกมิติ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันตำรวจเอก ดร.ธิติ มหาเจริญ รองคณบดีคณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ กล่าวเสริมว่า นวัตกรรมส่งเสริมการสร้างอาชีพที่เป็นผลผลิตจากงานวิจัย สามารถตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของเด็กและเยาวชน โดยมีการจัดทำแอปพลิเคชันสื่อกลางการสร้างโอกาสทางอาชีพ หรือ 3B-Job ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสทางอาชีพที่เปิดกว้างสำหรับเด็กและเยาวชนที่เคยกระทำความผิดอย่างเท่าเทียม รวมไปถึงการสร้างแหล่งเรียนรู้ด้านการตรวจสารเสพติดในเส้นผมในรูปแบบ e-Learning และ Video Content ความสำเร็จของการนำนวัตกรรมทางนิติวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง

พันตำรวจโทหญิง อัมพิกา ลีลาพจนาพร ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการบังคับใช้กฎหมายยาเสพติด กล่าวถึง นวัตกรรมการตรวจสารเสพติดในเส้นผม เป็นความท้าทายที่ก่อให้เกิดผลกระทบ (Impact) ต่อการพลิกโฉม (Disruption) กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน โดยมี “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข การตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่” ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 และเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 164 ง เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2563 โดยสาระสำคัญในหมวด 3 กำหนดให้มีการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในเส้นผมเพื่อตรวจสอบประวัติเกี่ยวกับการเสพสารเสพติดย้อนหลังของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ซึ่งมีพฤติการณ์หรือเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเสพสารเสพติด

พันตำรวจโท อนันต์ ประสงค์ใจสารวัตร (ป้องกันปราบปรามอาชญากรรม) ทำหน้าที่ชุมชนสัมพันธ์ สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง ได้กล่าวถึง สถานีตำรวจในฐานะหน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมายยาเสพติด มีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกมิติ และที่สำคัญได้ดึงภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของเด็กและเยาวชนอีกด้วย โดยมีดร.วิชิต แย้มยิ้ม นักวิจัยประจำศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการบังคับใช้กฎหมายยาเสพติดเป็นผู้ดำเนินรายการ

ทั้งนี้ การเสวนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติดที่กำลังส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในสังคมไทย โดยมุ่งเน้นการนำผลวิจัยและนวัตกรรมมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Print
Tags:
Rate this article:
No rating
«December 2024»
MonTueWedThuFriSatSun
2526272829301
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
303112345