วช. ร่วมตรวจราชการโครงการตามแผนการตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566

  • 6 September 2023
  • Author: PMG
  • Number of views: 478
วช. ร่วมตรวจราชการโครงการตามแผนการตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566


วันที่ 4 กันยายน 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นางสาวสุกัญญา อามีน ผู้อำนวยการภารกิจขับเคลื่อนนโยบายโดยการวิจัย ร่วมตรวจราชการกับ ท่านสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะ ในโครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี พ.ศ. (2560 - 2579) ภายใต้โครงการตามแผนการตรวจราชการกระทรวงการ อว. ประจำปี พ.ศ. 2566 ในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยมี ผศ.พิเชษฐ์ จันทวี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม 74-206 อาคาร 74 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
นางสาวสุกัญญา อามีน ผู้อำนวยการภารกิจขับเคลื่อนนโยบายโดยการวิจัย กล่าวว่า วช. ในฐานะหน่วยงานในสังกัดจากกระทรวง อว. ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม และได้รับมอบหมายให้ร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ที่สอดคล้องกับภารกิจและหน้าที่ของ วช. ในการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้เข้าสู่ระบบการวิจัยและนวัตกรรม และตอบสนองพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 เพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ดังนั้น วช. จึงได้ดำเนินโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับการวิจัยในมิติใหม่และการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน
การตรวจราชการฯ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาครั้งนี้ ประกอบด้วย โครงการการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาดเห็ดแครงของวิสาหกิจชุมชนพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม หัตถกรรมบ้านกันใหญ่ โดย นางขนิษฐา พันชูกลาง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาโครงการวิจัยและนวัตกรรม ที่ได้รับการสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2565 ซึ่งเป็นข้อเสนอโครงการวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ผ่านการฝึกอบรมฯ รุ่นที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2564 และโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2566 ซึ่งเป็นข้อเสนอโครงการวิจัยของผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมฯ รุ่นที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2565 ร่วมนำเสนอรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานผ่านระบบประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) จำนวน 5 โครงการ ดังนี้
1) โครงการฐานข้อมูลทรัพยากรกุ้งเคยจากภูมิปัญญาท้องถิ่นการผลิตกะปิ เพื่อสร้างคุณค่าอัตลักษณ์กะปิเมืองนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย นางสาวจุฑามาศ ศุภพันธ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
2) โครงการการเสริมสร้างสมรรถนะด้านจิตวิทยาสำหรับครูประจำการโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล กรณีศึกษา: โรงเรียนบนพื้นที่เกาะในภาคใต้ของประเทศไทย โดย นายอรรถกร ภัทรจิตติกรกุล จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
3) โครงการการพัฒนาหลักสูตรการใช้กิจกรรมดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะทางดนตรี พฤติกรรม และบุคลิคภาพของเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กจังหวัดสงขลา โดย นายสุทธิรักษ์ เอียดปุ่ม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
4) โครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น ชุมชนบ้านถ้ำเสือและบ้านแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ โดย นางสาวจารุณี คงกุล จากมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และ
5) โครงการการติดตามการสะพรั่งของสาหร่ายทะเล โดยประยุกต์ใช้ระบบหุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก บริเวณสวนสาธารณะสะพานหิน จังหวัดภูเก็ต และแนวทางการนำมาใช้ประโยชน์ โดย นางสาวจันทนา แสงแก้ว จากมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ทั้งนี้ วช. จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลจากการตรวจราชการฯ ในครั้งนี้ จะแสดงให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการดำเนินงานวิจัยที่สามารถผลักดันให้ทุกภาคส่วน สามารถนำงานวิจัยไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไป
นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. ได้กล่าวชื่นชมและให้กำลังใจ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะแก่นักวิจัยทั้ง 6 โครงการ เพื่อให้โครงการดังกล่าวมีการบูรณาการความรู้ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่ เชิงสาธารณะ หรือเชิงนโยบายได้
Print
Tags:
Rate this article:
No rating
«December 2024»
MonTueWedThuFriSatSun
2526272829301
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
303112345