วช. ร่วมอภิปรายประเด็นท้าทายการวิจัยโลก ระหว่างการประชุมใหญ่ Global Research Council (GRC) 2023 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ในฐานะ Governing Board ของ Global Research Council ได้เข้าร่วมการประชุมใหญ่ Global Research Council (GRC) 2023 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2566 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11 โดยมี Dutch Research Council (NWO) ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ São Paulo Research Foundation (FAPESP) ประเทศบราซิล ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ภายใต้หัวข้อหลัก “Rewards and Recognition” และ “Climate Change and Climate Change Initiative” โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานให้ทุนวิจัยในภูมิภาคต่างๆทั่วโลกจำนวน 63 ประเทศเข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย Asia– Pacific,Europe,Americas,Middle East and North Africa และSub-Saharan Africa
การประชุมหลักของ GRC 2023 จัดขึ้นในวันที่ 31 พค.และ 1 มิย. 2566 ณ Peace Palace โดยได้รับเกียรติจาก Dr. Robbert Dijkgraaf, Minister od Education, Culture and Science in The Netherlands กล่าวปาฐกถาและเปิดการประชุมฯ
พร้อมด้วยการต้อนรับจากประธาน GRC และเจ้าภาพการจัดงาน ประกอบด้วย Prof. Katja Becker, President of German Research Foundation (DFG), Germany/ Chair of GRC Governing Board ร่วมกับ Prof. Marcel Levi, President of the Dutch Research Council (NWO), ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ Prof. Marco Antonio Zago, President of São Paulo Research Foundation (FAPESP) ประเทศบราซิล
สำหรับการประชุมหลักใน 2 หัวข้อ คือ “Rewards and Recognition” และ “Climate Change and Climate Change Initiative” โดยมีการนำเสนอโดย Invited Speaker พร้อมด้วยการอภิปรายกลุ่ม การรายงานผล และการอภิปรายมุมมองของผู้บริหารหน่วยงาน ซึ่ง ดร.วิภารัตน์ฯ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นในกลุ่มย่อยเกี่ยวกับรางวัลและการยกย่องนักวิจัย ได้แก่ การสร้างเส้นทางอาชีพนักวิจัย บทบาทและการมีส่วนร่วมของนักวิจัยรุ่นใหม่ในเวทีโลก รวมถึงการประเมินคุณภาพของงานวิจัยและศักยภาพของนักวิจัยเพื่อสร้างการยอมรับในระดับนานาชาติ
นอกจากนี้ ดร. วิภารัตน์ฯ ได้ร่วมเป็น Chair และ Panelist ในการอภิปรายหัวข้อ “Climate Change and Climate Change Initiative” ของช่วงการอภิปรายกลุ่มย่อย และ Panel Discussion and Reflection โดยได้เสนอบทบาทและมุมมองในฐานะหน่วยงานให้ทุนวิจัยหลักของประเทศไทย ต่อการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นปัญหาท้าทายระดับโลก พร้อมทั้งสะท้อนผลจากการอภิปรายกลุ่มที่หน่วยงานให้ทุนควรตระหนักถึงและช่วยเร่งงานวิจัยในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการรวมกลุ่มเครือข่ายนานาชาติ การสนับสนุนงบประมาณการวิจัยด้าน climate change
อนึ่ง Global Research Council (GRC) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ประกอบด้วยการรวมตัวกันของหน่วยงานให้ทุนวิจัยหลักของประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อการแบ่งปันข้อมูลและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) และเปิดโอกาสให้ประเทศขนาดใหญ่และขนาดเล็กทำงานร่วมกันอย่างไร้พรมแดน ซึ่ง วช. เป็นหน่วยงานของประเทศไทยที่เข้าร่วม GRC ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง โดยมีคณะกรรมการบริหาร (Governing Board) ขององค์กรประกอบไปด้วยผู้บริหารของหน่วยงานสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งจากทั้ง 5 ภูมิภาค ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมของ GRC ตลอดจนให้ความเห็นในประเด็นสำคัญเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานให้ทุนประเทศต่างๆให้มีความเข้มแข็งเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่ท้าทายของโลก ซึ่ง ดร.วิภารัตน์ฯ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และมีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี