วช. ลงนาม MOU พัฒนาระบบสารสนเทศการวิจัย ร่วมกับ สนง.รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 25588  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศการวิจัยสู่ระบบบริการภาครัฐที่ใช้งานร่วมกัน (Common Service) ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2558 (Thailand Research Expo 2015)”  ณ เวที Highlight Stage ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ (ชั้น 22) โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

_DSC0396นางสาวสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ รองเลขาธิการ วช. เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีภารกิจตามกฎหมายในการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยของประเทศ รวมทั้งจัดระบบเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัย ภารกิจดังกล่าวมีความเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น เมื่อ วช. ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเจ้าภาพในการปฏิรูประบบวิจัยเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อวิสัยทัศน์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ใช้ชื่อในภาพรวมว่าเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) โดยขอบเขตการปฏิรูประบบวิจัยที่มีทั้งหมด 9 มิติ นั้น เรื่องของระบบสารสนเทศการวิจัยถูกจัดไว้ในมิติโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อปฏิรูปให้มีฐานข้อมูล การบริหารจัดการ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยให้ได้ประโยชน์สูงสุด และให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเหมาะสม

การปฏิรูปด้านข้อมูลการวิจัยดำเนินการโดยสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศที่ผลักดันโดย สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) โดยเฉพาะในแนวทางของการพัฒนาจากยุครัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไปสู่รัฐบาลดิจิทัลเพื่อสนับสนุนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ เป็นยุคแห่งการปฏิรูประบบสารสนเทศการวิจัยสู่ Open Data ในฐานะข้อมูลของภาครัฐที่สามารถนำมาใช้ได้โดยอิสระ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และแจกจ่ายได้โดยใครก็ตาม แต่ต้องระบุแหล่งที่มาหรือเจ้าของงานและต้องใช้สัญญาหรือเงื่อนไขเดียวกันกับที่มาหรือตามเจ้าของงานกำหนด

ด้วยแนวทางดังกล่าว ระบบสารสนเทศการวิจัยของประเทศซึ่งประกอบด้วยฐานข้อมูลจำนวนมากจึงได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมีมาตรฐานทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลผลงานวิจัยระหว่างฐานข้อมูลของหน่วยงานต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบดังกล่าวนี้ นำไปสู่ความต้องการโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เพียงพอและมีความมั่นคงปลอดภัยสูง การนำระบบสารสนเทศการวิจัยที่มีปริมาณข้อมูลขนาดใหญ่เข้าไว้ในระบบคลาวด์ภาครัฐ (G-Cloud) ซึ่งให้บริการโดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) จึงเป็นการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญของระบบสารสนเทศการวิจัยในการก้าวเข้าสู่ยุครัฐบาลดิจิทัล

_DSC0418

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

 

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

        สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์  (องค์การมหาชน) (สรอ.)

R&D Digital Gateway 

จากฐานข้อมูลต่างๆ ระบบสารสนเทศการวิจัย ทำให้เกิดการรวมระบบที่เรียกว่า Research and Development Digital Gateway (R&D Digital Gateway) เป็นการพัฒนาระบบที่เป็นเว็บพอร์ทอล (Web Portal System) สำหรับข้อมูลด้านการวิจัยทั้งหมดที่ถูกจัดเก็บอยู่ในระบบต่างๆ ในศูนย์สารสนเทศการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

รูปแบบการทำงานของระบบ R&D Digital Gateway 

เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลงานวิจัยทั้งหมดได้จากจุดเดียว (One Search) เช่น เมื่อค้นหาคำว่า   “ข้าว” ระบบจะทำการค้นหาจากทุกระบบพร้อมแสดงผลลัพธ์ที่ได้ ซึ่งเป็นระบบค้นหาแบบ One Search ส่งผลให้ทุกข้อมูลที่มีอยู่ในระบบสามารถแสดงได้ในจุดเดียวกัน

นอกจากนี้ ระบบจะนำผลลัพธ์จากการค้นหาที่ได้ทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์และแสดงผลการค้นหาในรูปแบบของ Dashboard เพื่อให้เห็นถึงการเปรียบเทียบเชิงปริมาณ ในมิติต่างๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์จากผลลัพธ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ประโยชน์

  1. สร้างโอกาสให้นักวิจัยได้มีทางเลือกที่หลากหลายในการใช้บริการและการเข้าถึงข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา
  2.  นักวิจัยจะได้รับการบริการจากภาครัฐที่ดียิ่งขึ้น เช่น มีความสะดวก รวดเร็ว และได้รับเอกสารที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
  3. ลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและการบริการด้านการวิจัยและพัฒนาของรัฐของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มนักวิจัย ผู้บริหารจัดการการวิจัย ประชาชนทั่วไป องค์กรของทั้งภาครัฐและเอกชน
  4. ลดความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ และเพิ่มความโปร่งใสในการให้บริการและการบริหารจัดการด้านการวิจัยและพัฒนา ทั้งการรับรู้ข่าวสาร การขอรับทุน การพิจารณาโครงการวิจัย การติดตามความคืบหน้าใน การดำเนินการ รวมทั้งการเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นต่อระบบบริหารจัดการ

5. เพิ่มความเชื่อมั่นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการด้านการวิจัยและพัฒนาในการรับบริการอย่างปลอดภัยและเป็นส่วนตัว

10 total views, 10 views today

Print
Tags:
Rate this article:
No rating
«December 2024»
MonTueWedThuFriSatSun
2526272829301
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
303112345