วช. เข้าพบและหารือกับเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ในประเด็นเรื่องการร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยทางถนนเพื่อลดอุบัติเหตุและการเสียชีวิต

วช. เข้าพบและหารือกับเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ในประเด็นเรื่องการร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยทางถนนเพื่อลดอุบัติเหตุและการเสียชีวิต

วช. เข้าพบและหารือกับเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ในประเด็นเรื่องการร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยทางถนนเพื่อลดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

 

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นางสาวสตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 พร้อมด้วย คณะผู้ตรวจสอบทางวิชาการ แผนงานความปลอดภัยทางถนนของ วช. ประกอบด้วย ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล  รศ.ดร.ศรัณย์ วรรธนัจฉริยา รศ.เอกพร รักความสุข นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ และนายธงชัย พงษ์วิชัย พร้อมทั้ง นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ หัวหน้าโครงการวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยบูรณาการทุกภาคส่วน เพื่อลดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตในเขตสุขภาพที่ 6 ให้สอดคล้องกับเป้าหมายแผนแม่บทฉบับที่ 5 เข้าร่วมการประชุมหารือกับเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อหารือความร่วมมือในการพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยทางถนนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้วยงานวิจัยโดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อลดอุบัติเหตุและการสูญเสียชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม ณ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

 

การประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมประชุมและหารือในประเด็นการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยทางถนนซึ่งเป็นปัญหาสำคัญโดยเฉพาะในเขตสุขภาพที่ 6 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุดในประเทศ ซึ่งเกิดผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนสร้างภาระทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาล โดยกล่าวถึงปัญหาหลักของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในปัจจุบัน เกิดจากการขาดกลไกการสืบสวนอุบัติเหตุที่ชัดเจน ระบบการจัดการข้อมูลที่ยังไม่ครอบคลุม พร้อมได้เสนอแนวคิดการดำเนินการที่จะนำไปสู่เป้าหมายได้ก็คือการสร้างกลไกที่ชัดเจน บูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ EEC และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ที่เน้นคุณภาพชีวิตและการลดความสูญเสียในพื้นที่เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินการต่อไป

 

นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ หัวหน้าโครงการวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง "การวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยบูรณาการทุกภาคส่วน เพื่อลดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตในเขตสุขภาพที่ 6" ได้นำเสนอโครงการวิจัยโดยมีเป้าหมายในการลดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตตามแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนนฉบับที่ 5 และมุ่งเน้นการพัฒนากลไกการจัดการความปลอดภัยทางถนนในเขตสุขภาพที่ 6 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่จังหวัดในเขต EEC ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ตราด และอื่นๆ โดยใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์จากระบบสารสนเทศแบบ Realtime เพื่อพัฒนาแบบจำลองการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วย Machine Learning และการจัดทำ Dashboard ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน นอกจากนี้ โครงการยังมุ่งเน้นการสร้างกลไกบูรณาการระหว่างหน่วยงานทุกระดับ เช่น โรงพยาบาล สำนักงานประกันสังคม และภาคเอกชน เพื่อจัดการอุบัติเหตุอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสอบสวนอุบัติเหตุรายกรณีในช่วงเวลาสำคัญ (Golden Period) เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงและพัฒนานโยบายแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด

 

การประชุมในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดต้นแบบและแนวทางการจัดการความปลอดภัยทางถนนที่ วช. ได้ดำเนินการสำเร็จในเขตสุขภาพที่ 8 และ วช. มีเป้าหมายที่จะพัฒนาความร่วมมือให้เกิดการทำงานร่วมกันกับผู้ส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนให้งานวิจัยและนวัตกรรมนำไปสู่การประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยทางถนนและลดการสูญเสียของประเทศไทยได้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดความยั่งยืนต่อไป

 

Print
Tags:
Rate this article:
No rating
«January 2025»
MonTueWedThuFriSatSun
303112345
6789101112
13141516171819
20212223242526
272829303112
3456789