วช.ชูงานวิจัยศาสตร์และศิลป์ เปิดตัวนิทรรศการ "ภาพบันดาล Art Decoded" ผสานศิลปะ สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

วช.ชูงานวิจัยศาสตร์และศิลป์ เปิดตัวนิทรรศการ "ภาพบันดาล Art Decoded" ผสานศิลปะ สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์


























วันที่ 4 กันยายน 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้การสนับสนุนแก่ สมาคมเพื่อการพัฒนาศิลปะและหัตถศิลป์ไทย ภายใต้โครงการวิจัย จัดงานนิทรรศการผสานศิลปะสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ “ภาพบันดาล Art Decoded” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (หอศิลป์เจ้าฟ้า) ตั้งแต่วันที่ 4 -27 กันยายน 2567 โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงาน ได้แก่ กรมศิลปากร, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป(หอศิลป์เจ้าฟ้า), ธนาคารไทยพาณิชย์, บริษัท เบเยอร์ จำกัด, บริษัท นีโอ คอร์ปอเรท จำกัด(มหาชน)

นิทรรศการ “ภาพบันดาล Art Decoded” เป็นการนำผลงานศิลปกรรมของศิลปินแห่งชาติ ศิลปินไทยที่ชื่อเสียง และศิลปินรุ่นใหม่ มาใช้กระบวนการศึกษาและวิจัย มาถอดความหมายและตีความใหม่ โดยนำทิศทางด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยมาเป็นหลักคิด สู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในการกล่าวเปิดงาน และ รศ.ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล นายกสมาคมเพื่อการพัฒนาศิลปะและหัตถศิลป์ไทย ได้กล่าวรายงานถึงเป้าหมายในการดำเนินโครงการ พร้อมนี้ ผู้เข้าร่วมงานเปิดนิทรรศกาา ประกอบด้วย นายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล รองอธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารสำนักงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลปินแห่งชาติและศิลปินที่มีชื่อเสียงด้านศิลปกรรม ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารของวช. ผู้บริหารจากสถาบันการศึกษาด้านศิลปะ ผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุน สื่อมวลชน ได้เข้าร่วมงานฯ
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า “นิทรรศการภาพบันดาล (Art Decoded) นับเป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการวิจัยการจัดนิทรรศการระดับนานาชาติและการศึกษาต้นแบบสินค้าที่ระลึกภายในพิพิธภัณฑ์เพื่อต่อยอด สู่สินค้าเชิงพาณิชย์จากฐานทุนวัฒนธรรมของไทย” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) นิทรรศการในครั้งนี้ เป็นการใช้กระบวนการศึกษาวิจัย โดยการนำผลงานของศิลปินชื่อดังทั้งไทยและต่างประเทศ มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยนักออกแบบไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของศิลปะในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและพัฒนาเศรษฐกิจ นอกจากนี้ นิทรรศการยังจะนำเสนอความงดงามของมรดกทางวัฒนธรรมไทย และศึกษาถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมไทยที่มีต่อศิลปะและการออกแบบ ที่มีคุณค่าและเป็นความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของศิลปกรรมไทย พร้อมนี้ ในการศึกษาวิจัย จะได้มีการสำรวจโอกาสและศักยภาพของงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในทิศทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของประเทศ มุ่งเน้นการนำศาสตร์และศิลป์ ความสำคัญของศิลปะและหัตถศิลป์ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ
รศ.ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล นายกสมาคมเพื่อการพัฒนาศิลปะและหัตถศิลป์ไทย และผู้จัดการนิทรรศการ กล่าวว่า นิทรรศการภาพบันดาล Art Decoded คือการถอดสุนทรียะจากเรื่องราวและผลงานของศิลปินแนวหน้า โดยนำมาเป็นแรงบันดาลใจและสร้างสรรค์เป็นผลงานใหม่ที่สามารถสัมผัสได้ในรูปแบบของต้นแบบสินค้าที่ระลึก ผ่านการออกแบบและนำเสนอความงดงามแบบใหม่ที่ต่อยอดจากผลงานของศิลปิน นิทรรศการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการวิจัยการจัดนิทรรศการระดับนานาชาติและศึกษาต้นแบบสินค้าที่ระลึกภายในพิพิธภัณฑ์เพื่อต่อยอดสู่สินค้าเชิงพาณิชย์จากฐานทุนวัฒนธรรมของไทย" มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการการทำงานทางศิลปกรรม กับการพัฒนาอุตสาหกรรมงานออกแบบหัตถกรรมไทย และสรรค์สร้างต้นแบบสินค้าที่ระลึกทีมีคุณค่าและยกระดับผลิตภัณฑ์ของไทยไปสู่เวทีเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับโลก โดยมีผลงานจากศิลปินแนวหน้าทั้ง 11 ท่านที่มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดสุนทรียะและเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์เป็นต้นแบบสินค้าที่ระลึกใหม่ ได้แก่
ศ. (เกียรติคุณ) ปรีชา เถาทอง, Emer. Prof. Peter Pilgrim, ศ. (เกียรติคุณ) ปริญญา ตันติสุข,รศ. ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ, คุณสมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์, ศ. สุธี คุณาวิชยานนท์, คุณชลิต นาคพะวัน, รศ. กันจณา ดำโสภี, ผศ. ชัยพร ระวีศิริ, Konstantin Ikonomidis และคุณยุรี เกนสาคู
ทั้งนี้ กิจกรรมภายในงานยังมีการบรรยาย ในหัวข้อ “การสร้างคุณค่าในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เทียบเท่ากับระดับสากล” โดย V.ronique Delignette-Schilling ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสำหรับผู้บริหาร (Executive MBA) ด้านการจัดการแฟชั่นระดับโลกที่French Institute of Fashion (IFM) สาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและการวิจัยประยุกต์สำหรับอุตสาหกรรมแฟชั่น สินค้าหรูหรา การออกแบบและอุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั่วไป ในปี 2017 IFM ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 1 ของโลกสำหรับหลักสูตรปริญญาโทด้านธุรกิจแฟชั่น และอันดับ 2 ของโลกสำหรับหลักสูตรปริญญาโทด้านการออกแบบแฟชั่นในประเทศ
นิทรรศการ “ภาพบันดาล Art Decoded” เปิดให้เข้าชมฟรี ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 27 กันยายน 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (หอศิลป์เจ้าฟ้า)
Print
«September 2024»
MonTueWedThuFriSatSun
2627282930311
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30123456