อว.นำวิจัยประสานการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ผ่านดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า ณ พื้นที่ลือเลื่องแหล่งอารยธรรมมรดกโลก “เสียงใหม่ที่บ้านเชียง”อุดรธานี

  • 1 April 2023
  • Author: PMG
  • Number of views: 371
อว.นำวิจัยประสานการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ผ่านดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า ณ พื้นที่ลือเลื่องแหล่งอารยธรรมมรดกโลก “เสียงใหม่ที่บ้านเชียง”อุดรธานี
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรมการถ่ายทอดงานวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ผ่านการบรรเลงดนตรีสากลเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ภายใต้แนวคิด “เสียงใหม่ที่บ้านเชียง” โดยได้รับเกียรติจาก ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในการเปิดงานฯ พร้อมกันนี้ ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และคณะผู้บริหารของจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย นายนิติพัฒน์ ลีลาเลิศแล้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายสมศักดิ์ แสนอินทร์ นายอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ร่วมให้การต้อนรับ

การแสดงในครั้งนี้ เป็นกระบวนการสำคัญในการถ่ายทอดความรู้จากการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นขอโครงการเรื่อง “โครงการพื้นที่วัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาสร้างสรรค์จินตนาการ เสียงใหม่” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมนี้ มีการควบคุมการบรรเลงวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า โดย พันเอก ดร. ประทีป สุพรรณโรจน์ และสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมประกอบบทเพลง โดย ดร.สุชาติ วงษ์ทอง พร้อมนี้ คณะผู้บริหาร อว. คณะผู้บริหารหน่วยงานจังหวัดอุดรธานี สื่อมวลชน และประชาชนในพื้นที่ได้เข้าร่วมรับชมการถ่ายทอดประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ผ่านการบรรเลงดนตรีออเคสตร้า ณ ลานวัฒนธรรมชุมชนบ้านเชียงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า กล่าวว่า อว. ได้เริ่มศึกษาและดำเนินโครงการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน ซึ่ง โครงการวิจัยเรื่องวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาสร้างสรรค์จินตนาการเสียงใหม่การแสดงดนตรี ณ ลานวัฒนธรรมชุมชนบ้านเชียง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง นับเป็นการเปิดโลกวัฒนธรรมของท้องถิ่นเพื่อค้นหาร่องรอยในอดีต ซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี วรรณคดี อันนำไปสู่การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสังคมวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่มาแสดงออกในรูปแบบของวงซิมโฟนีออร์เคสตร้า สร้างความสุข ความประทับใจให้แก่ผู้รับฟัง ได้เห็นรอยยิ้มของผู้ฟัง ได้สัมผัสกับความเบิกบานใจในทุกพื้นที่สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้แก่สังคมไทยและวงการศึกษาดนตรีของไทย เพราะเพลงคลาสสิกไม่ได้จำกัดอยู่ที่เพลงของชาวตะวันตกอีกต่อไป ซึ่งอีกด้านหนึ่งเป็นการอนุรักษ์และต่อยอด รวมทั้งพัฒนาด้วยดนตรีพื้นบ้านอันเป็นสมบัติที่ล้ำค่าของคนไทย โดย “มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข” ดำเนินการ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข ในการวิจัยเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมการค้นหาเพลงเก่าของชุมชนในพื้นที่เพื่อนำมาเรียบเรียงใหม่ พร้อมเล่นผ่านวงดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า เพื่อรักษาเพลงเก่า นำมาเสนอในรูปแบบใหม่ เป็นการรังสรรค์ท่วงทำนองคีตศิลป์กระตุ้นให้เกิดสิ่งใหม่บนรากฐานสิ่งเก่า นำไปสู่การส่งเสริมการรังสรรค์คีตศิลป์ผ่านบทเพลงและท่วงทำนองอันเป็นเอกลักษณ์เป็นการสร้างผลงานศิลปะทางวัฒนธรรมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมการอนุรักษ์และต่อยอด รวมไปถึงการแสดงของวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตราที่เป็นวงดนตรีคลาสสิกมีนักดนตรีชาวไทยที่มีฝีมือสูงผ่านการฝึกฝนจนมีความเชี่ยวชาญ ออกมาแสดงให้ผู้ชมในท้องถิ่นซึ่งเป็นชาวบ้านได้ชื่นชมบทเพลงของตัวเองที่สำคัญมาก ๆ คือผู้คนในท้องถิ่นได้ให้ความร่วมมือร่วมใจกันช่วยทำให้งานเกิดขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่า อาจารย์สุกรี เจริญสุข และคณะจะเป็นตัวอย่างในการสร้างสรรค์ท่วงทำนองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งการรักษาอดีตเพื่อไปต่อยอดในอนาคต การมองเห็นสมบัติของแผ่นดินเกิดการสานต่อสิ่งที่บรรพบุรุษของเราหลงเหลือไว้ เรามีศิลปะสุนทรียะที่ไม่สามารถลบล้างไปได้ง่ายอันทรงคุณค่าและควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ผลักดันการเป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติในระดับโลก

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง เป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ การขุนค้นพบหม้อไหถ้วยชามที่เป็นภาชนะเครื่องปั้นดินเผา รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ของชาวบ้านชาวนาการค้นพบวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่ร่วมกันด้วยความสงบ การค้นพบโครงกระดูกที่มีส่วนประกอบสมบูรณ์ เป็นชุมชนที่อยู่อย่างสงบร่มเย็นต่อเนื่องกันมาร่วม 600 ปี ชุมชนบ้านเชียงยังได้แสดงให้เห็นหลักฐานทางโบราณคดีและทางประวัติศาสตร์ว่า ในพื้นที่แห่งนี้มีผู้คนอาศัยมาก่อนร่วม 3,000 ปี โดยเฉพาะวิถีชีวิตความเป็นอยู่รวมถึงวัฒนธรรมประเพณีที่เกิดขึ้น และมีประเด็นที่โครงการวิจัยเรื่องวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาสร้างสรรค์จินตนาการเสียงใหม่ สามารถศึกษาและค้นคว้าเรื่องของเสียงดนตรีที่ยังหลงเหลือร่องรอยทางประวัติศาสตร์ และนำเสียงมาสร้างจินตนาการใหม่ ของภาชนะเครื่องปั้นดินเผา ประกอบเสียงพิณ เสียงแคน เสียงการเคาะไห โดยการเลียนแบบจากเสียงธรรมชาติ (Acoustic) ซึ่งเป็นบริบทที่สำคัญของชุมชน ที่จะมีการพัฒนาให้เป็นมาตรฐานของสินค้า ที่สามารถสื่อสารออกไปสู่สากลได้ นับเป็นวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าและสร้างสรรค์ (Soft Power) ซึ่งสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ในงานศาสตร์และศิลป์ ซึ่งการทำงานวิจัยที่บ้านเชียง อุดรธานี จึงเป็นพื้นประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ต่อใช้กลไกการแสดงดนตรีและการถ่ายทอดผ่านบทเพลง เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจในโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ความภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ พร้อมกับเป็นพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจะเข้ามาร่วมชื่นชมอัตลักษณ์ของท้องถิ่น และเป็นSoft power อย่างยั่งยืน

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข หัวหน้าโครงการวิจัย มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข กล่าวว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง เป็นพื้นที่สำคัญในประวัติศาสตร์แหล่งโบราณคดีที่นี่เต็มไปด้วยร่องรอยของผู้คนเคยเป็นที่ตั้งชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในอุษาคเนย์ อายุประมาณ 3,500 ปี ทำให้เราย้อนนึกถึงรากเหง้าและความใกล้ชิดระหว่างคนและธรรมชาติ วัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยความสวยงามผสมผสานกับดนตรีพื้นบ้านการนำวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้ามาแสดงที่จังหวัดอุดรธานีในครั้งนี้ สู่การนำเสนอต่อสังคมใหม่เป็นการเสนอรูปแบบเสียงใหม่โดยการนำเสียงอดีตมาเสนอเป็นต้นแบบ นวัตกรรมเสียงดนตรี เพื่อสร้างอนาคต โดยใช้ศักยภาพความเป็นเลิศทางดนตรีอย่างลงตัว ซึ่งอาศัยนักดนตรีที่มีฝีมือ
และฝีมือของวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตราโดยเอากลิ่นอายของเสียง สีเสียง จิตวิญญาณของเสียง เอาเลือดเนื้อเชื้อไขพันธุกรรมของเสียงเก่า ๆ นำเอาบรรยากาศของท้องถิ่น ซึ่งเป็นบริบทของเสียงดั้งเดิมมาปรุงแต่งให้เป็นเสียงใหม่ เพื่อสร้างสรรค์ให้เป็นเพลงใหม่เป้าหมายของเสียงใหม่ที่เป็นรูปธรรม โดยการสร้างเสียงใหม่ของเสียงอีสานเพื่อใช้ในพิพิธภัณฑ์บ้านเชียง ผ่านจิตวิญญาณ ศึกษาพันธุกรรมเพลง กลิ่นของบรรยากาศ อารมณ์ที่เป็นบริบทของชุมชนเครื่องดนตรีดั้งเดิม การผสมเสียงกับเครื่องดนตรีที่แตกต่าง รวมทั้งเสียงที่ออกมาเป็นวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตราต่อจากนั้นก็จะเริ่มคิดพลิกแพลงก่อกวนทางปัญญากระบวนการวิจัยเป็นการก่อกวนทางวิชาการชนิดหนึ่งการค้นหาคำตอบใหม่สร้างสรรค์จินตนาการเสียงใหม่มาต่อยอดและสืบทอดอายุเพลงให้มีชีวิตใหม่ เพื่อให้เป็นที่รู้จักในสังคมไทยและเป็นที่รู้จักของประชาคมนานาชาติ

ในโอกาสนี้การแสดงดนตรีเสียงใหม่ที่บ้านเชียงในครั้งนี้โดย วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Thai Symphony Orchestra) พร้อมด้วยนักดนตรีและหมอลำอาชีพกว่า 100 คน ในการนำเสนอเพลงต้นฉบับที่มีมาแล้วแต่ดั้งเดิมของอีสาน ผ่านการแสดงบทเพลง ลำล่อง ลำผู้ไทสามเผ่าลำตังหวาย ลำคอนสวรรค์ ลำเต้ย ลายศรีโคตรบูรณ์ ลำแมงตับเต่า ลายลำเพลินสังสินไซ ลำเพลินประยุกต์ ลายเซิ้งบั้งไฟ ลำเพลิน ลายใหญ่ ลายน้อย พิณพระอินทร์สายกลางนำทางสำเร็จ ต้อนวัวขึ้นภู ลมพัดพร้าว สุดสะแนน แมลงภู่ตอมดอกไม้ของวงปล่อยแก่ อุดรธานี พร้อมด้วย เพลงฮักอีสานบ้านเฮา เพลงแคนลำโขง และเพลงปล่อยแก่ นับเป็นการแสดงบทเพลงที่เข้าถึงผู้ฟังและสร้างความประทับใจให้กับผู้รับฟัง ซึ่งโครงการวิจัยดังกล่าวจะนำไปสู่การสร้างสรรค์ดนตรีควบคู่กับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อ เป็นศิลปะในการสื่อสาร ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ไปสู่ผู้ฟัง ดนตรีเป็นภาษาสากลที่ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด ภาษาใด ก็สามารถรับรู้ และเข้าใจอรรถรสของดนตรีได้ผ่านด้วยเสียงเพลง
Print
Tags:
Rate this article:
No rating
«January 2025»
MonTueWedThuFriSatSun
303112345
6789101112
13141516171819
20212223242526
272829303112
3456789