02 579 1370     ติดต่อ วช. contact here
ค้นหา
เปลี่ยนการแสดงผล smaller  smaller  larger style1  style2  style3

ทุนความร่วมมือภายใต้ MOU


หลักการและเหตุผล

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะหน่วยงานประสานงานกลางของชาติด้านการวิจัยกับต่างประเทศได้ริเริ่มโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยกับต่างประเทศขึ้น โดยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding, MOU) ร่วมกับหน่วยงานส่งเสริมการวิจัยนานาชาติทั้งในทวีปยุโรปและเอเชีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการวิจัยของไทยให้ได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทางการวิจัยให้มีความเชี่ยวชาญ/สามารถมากยิ่งขึ้นไปในสาขาความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับการวิจัยและพัฒนาของไทยให้ก้าวหน้ามากขึ้น  ในการนี้ วช. ได้จัดสรรทุนอุดหนุนการวิจัยตามโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยกับต่างประเทศเพื่อรองรับกิจกรรมตามข้อตกลงด้านการวิจัยกับต่างประเทศ


สาขาและกิจกรรมความร่วมมือ

สาขาและกิจกรรมความร่วมมือภายใต้โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยกับต่างประเทศของ วช. จะครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์  สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์  ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ วช. ได้จัดทำไว้กับแต่ละหน่วยงานต่างประเทศ

การสนับสนุนงบประมาณ

วช. สนับสนุนงบประมาณการทำวิจัย/กิจกรรมวิจัยแก่นักวิจัยไทย และหน่วยงานต่างประเทศสนับสนุนงบประมาณแก่นักวิจัยของตน แบ่งออกเป็น

 1. การทำวิจัยร่วม: NRF และ วช. และหน่วยงานต่างประเทศ ต่างฝ่ายต่างสนับสนุนงบประมาณการวิจัยแก่นักวิจัยประเทศตนเอง

          2. การจัดสัมมนาร่วม: ประเทศผู้ส่งนักวิจัยเข้าร่วมการสัมมนาจะรับผิดชอบค่าเดินทางระหว่างประเทศ  และประเทศผู้จัดสัมมนาจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดสัมมนา ค่าที่พักของนักวิจัยต่างประเทศที่เข้าร่วมสัมมนา รวมถึงค่าพาหนะเดินทางภายในประเทศ

          3. การแลกเปลี่ยนนักวิจัย: ประเทศผู้ส่งนักวิจัยจะเป็นผู้สนับสนุนค่าเดินทางระหว่างประเทศ และประเทศผู้รับรองนักวิจัยจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในประเทศ ได้แก่ ค่าที่พัก ค่าพาหนะเดินทางภายในประเทศ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทุนความร่วมมือระหว่างประเทศ ภายใต้ MOU

  ปัจจุบัน วช. ดำเนินการให้ทุนวิจัยและกิจกรรมวิจัยร่วมภายใต้โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยกับหน่วยงานต่างประเทศ ดังนี้

 

 

โครงการความร่วมมือระหว่าง                             หน่วยงานต่างประเทศที่สนับสนุนงบประมาณร่วมกับ วช.

                               มูลนิธิวิจัยแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Deutsche Forschungsgemeinschaft, DFG)

                                องค์การส่งเสริมวิชาการแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Society for the Promotion of Science, JSPS)

                               มูลนิธิวิจัยวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (National Natural Science Foundation of China, NSFC)

                                สถาบันสังคมศาสตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Chinese Academy of Social Sciences, CASS)

                                มหาวิทยาลัยหัวเฉียวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Huaqiao University, HQU)

                                มูลนิธิวิจัยแห่งสาธารณรัฐเกาหลี  (National Research Foundation of Korea, NRF)

                                สภาวิจัยสังคมศาสตร์แห่งสาธารณรัฐอินเดีย (Indian Council of Social Science Research, ICSSR)

 

การเสนอขอรับทุน

นักวิจัยไทยยื่นข้อเสนอการวิจัยต่อ วช. และนักวิจัยต่างประเทศยื่นข้อเสนองานวิจัยต่อหน่วยงานต่างประเทศในประเทศของตน


การพิจารณา

วช. โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่ วช. แต่งตั้ง จะเป็นผู้พิจารณาทางวิชาการข้อเสนอการวิจัยของนักวิจัยไทยตามแนวทางที่ วช. กำหนดและหน่วยงานต่างประเทศเป็นผู้พิจารณาข้อเสนอการวิจัยของนักวิจัยตน


การอนุมัติทุนและจัดทำสัญญารับทุน

การทำวิจัยจะเริ่มขึ้นเมื่อทั้ง วช. และหน่วยงานต่างประเทศให้ความเห็นชอบกับข้อเสนอการวิจัยร่วมกัน  โดย วช. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้ทุนวิจัยแก่นักวิจัยไทยและหน่วยงานต่างประเทศพิจารณาอนุมัติและให้ทุนวิจัยแก่นักวิจัย

 

การติดตามและประเมินผลโครงการวิจัยที่ได้รับทุน

วช. โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่ วช. แต่งตั้ง จะทำหน้าที่เป็นผู้ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของการวิจัยที่ได้รับทุนจาก วช. ตามแนวทางที่ วช. กำหนด