วช. มอบรางวัลติดดาว ผลงานเด่นอาชีวศึกษา ในกิจกรรมบ่มเพาะ Smart Invention & Innovation ภาคกลางและภาคตะวันออก

  • 22 December 2023
  • Author: PMG
  • Number of views: 343
วช. มอบรางวัลติดดาว ผลงานเด่นอาชีวศึกษา ในกิจกรรมบ่มเพาะ Smart Invention & Innovation ภาคกลางและภาคตะวันออก

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มอบรางวัลผลงานเด่นอาชีวศึกษาและเกียรติบัตรนพิธีปิดกิจกรรมการบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovation ประจำปี 2567ภาคกลางและภาคตะวันออก ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานพิธีปิดกิจกรรม และกล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว.ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดกิจกรรมการบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovation ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรสายอาชีวศึกษาทั้งคณาจารย์และนักศึกษา ที่ร่วมกันเรียนรู้จากการบ่มเพาะจากผู้ทรงคุณวุฒิตลอด 3 วันที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 18 – 20 ธันวาคม 2566 อีกทั้งเป็นการพัฒนาทักษะและเทคนิคด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมให้สามารถร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนางานประดิษฐ์คิดค้นสร้างแรงบันดาลใจที่จะนำพลังของคนอาชีวะไปเพิ่มประสิทธิภาพของงานสิ่งประดิษฐ์ที่รองรับความต้องการของชุมชน สังคม และประเทศในอนาคตได้อย่างเต็มภาคภูมิและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
สำหรับรางวัลติดดาวของทีมอาชีวศึกษาที่มีผลงานและการนำเสนอได้อย่างโดดเด่น จำนวน 19 ผลงาน
ใน 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่
กลุ่ม 1) ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
1.ชุดอุปกรณ์ตรวจจับโรคใบจุด (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
2.อาหารเป็ดสาวจากหอยเชอรี่ป่น (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี
3.เครื่องตัดใบสับปะรด (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
4.อุปกรณ์โยนกิ่งทุเรียน (รางวัลระดับ 5 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคตราด
กลุ่ม 2) ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
5.โต๊ะซ่อมนาฬิกาขนาดเล็กเพื่อสุขภาพ (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
6.เครื่องฆ่าเชื้อเสมหะผู้ป่วยวัณโรค (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว
7.เครื่องฝึกสหสัมพันธ์ของมือและตา (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
8.ชุดป้อนลวดเชื่อมแก๊สสำหรับผู้พิการทางมือ (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
กลุ่ม 3) การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และอุปกรณ์อัจฉริยะ
9.สื่อการเรียนรู้โลจิสติกส์ เรื่อง กิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัย
เทคโนโลยีเกวลินบริหารธุรกิจ
10.แคชเชียร์ตรวจจับสินค้าด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษา
ชลบุรี
11.แอปพลิเคชันเกมจำลองโลกเสมือนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์ทาง
แขนและมือจากภาวะโรคหลอดเลือดในสมอง (รางวัลระดับ 5 ดาว) จาก วิทยาลัยอาชีวะศึกษาเพชรบุรี
กลุ่ม 4) ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
12.เตาปิ้งย่างไร้ควันลดโลกร้อน (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีวิศวกรรมแหลมฉบัง
13.เครื่องอบแห้งอัจฉริยะพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดหมุนเวียนความร้อน (รางวัลระดับ 3 ดาว)
จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี
14.ชุดเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าระบบอัตโนมัติ (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิค
ชลบุรี
15.เครื่องลดฝุ่นควันเตาเผามะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยการอาชีพบ้าน
แพ้ว
กลุ่ม 5) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจสร้างสรรค์
16.การส่งเสริมการออมโดยการสร้างบอร์ดเกม The Rise of Life (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัย
เทคโนโลยีสารสาสน์
17.เกมวิชวลโนเวลเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิปัญญาไทย ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ (รางวัลระดับ 3
ดาว) จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ
18.อุปกรณ์ช่วยปูเตียง (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
19.หม้อทองไอศกรีมรสหม้อแกง (รางวัลระดับ 5 ดาว) จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี
ทั้งนี้ คณะผู้ทรงคุณวุฒิของ วช. ที่ร่วมเป็นวิทยากรในการบ่มเพาะบุคลากรสายอาชีวศึกษา ได้ร่วมมอบ
เกียรติบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะทุกสถาบันการศึกษา ที่ร่วมเตรียมความพร้อมในการพัฒนาสมรรถนะในครั้งนี้ด้วย สำหรับกิจกรรม “การบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา: Smart Invention & Innovation ประจำปี 2567” วช. ได้ร่วมกับ สอศ. จัดขึ้นเพื่อร่วมกันวางกลไกและจัดทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและบุคลากรขอสถาบันการศึกษาได้พัฒนาศักยภาพบุคลากร ให้มีทักษะและคุณลักษณะที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของโลก สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ซึ่งจัดกิจกรรมในรูปแบบการบ่มเพาะให้ความรู้และเทคนิคแนวการคิดในระยะเวลา 3 วัน โดยคณาจารย์ พร้อมด้วยนักศึกษา จากสถาบันอาชีวศึกษาที่เข้ารับการอบรม จะนำเอกสาร
เชิงแนวคิด หรือ Concept Paper มาให้ผู้ทรงคุณวุฒิและคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำ เพื่อนำไปปรับปรุงและเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป
Print
Tags: