วช. สนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมไปสร้างความปลอดภัยในชีวิตและสวัสดิภาพสาธารณะของสังคมไทย

  • 26 January 2024
  • Author: PMG
  • Number of views: 282
วช. สนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมไปสร้างความปลอดภัยในชีวิตและสวัสดิภาพสาธารณะของสังคมไทย

วันที่ 24-25 มกราคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ ดร.ยุพิน เลิศบุรุษ ผู้อำนวยกลุ่มงานพัฒนาเชิงพื้นที่และชุมชน นำคณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. ท่านธานินทร์ ผะเอม ท่านสมบูรณ์ วงค์กาด และ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า ใน 2 โครงการ
1.) โครงการ “การพัฒนาระบบฝึกทักษะการดับไฟป่าสำหรับอาสาสมัครดับไฟป่าโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” ซึ่งมี ดร.กรด เหล็กสมบูรณ์ สังกัด สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นหัวหน้าโครงการ โดยโครงการดังกล่าวฯ มีการดำเนินงานครอบคลุมขั้นตอนและกระบวนการดับไฟป่า ที่จำลองเสมือนจริง
ของรูปแบบการเกิดไฟป่า และวิธีการใช้อุปกรณ์ดับไฟป่าประเภทต่างๆ รวมถึงการเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อรักษาชีวิต โดยดำเนินการในพื้นที่นำร่องป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่ และร่วมมือกับเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าเชียงใหม่ ทั้งนี้
คณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. ได้เยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าเชียงใหม่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการไฟป่า โดยเปิดรับอาสาสมัครคนในพื้นที่ และได้รับการตอบรับเป็นจำนวนมาก
2) โครงการ “กลไกระดมทุนใหม่เพื่อยกระดับสวัสดิภาพสาธารณะของคนชายขอบในเขตภาคเหนือตอนบน” โดยมี นางปองทิพย์ เที่ยงบูรณธรรม สังกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด เฮซ ฟรี เป็นหัวหน้าโครงการ ได้มีการพบปะกับกลุ่มเกษตรกร และเยี่ยมชมพื้นที่แปลงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยตอง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นแบบ ด้วยการนำองค์ความรู้และการปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานใหม่ เพื่อเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้าด้วยกัน สนับสนุนด้านการตลาด และคุณภาพของผลผลิต การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถเปลี่ยนแนวความคิดของกลุ่มคนชายขอบให้หันมาใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างยั่งยืนได้ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิจาก วช. ได้เยี่ยมชมศูนย์รวบรวมผลผลิต Haze Free (Haze Free Social Enterprise วิสาหกิจเพื่อสังคมไร้ควัน) จากกลุ่มเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ และชมกระบวนการขั้นตอนการจัดเก็บ คัดแยก เพื่อส่งออกไปสู่ตลาด
Print
Tags: