สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการประจำปี เรื่อง "จดหมายเหตุเยอรมัน และการเปิดตัวของหอจดหมายเหตุต่างประเทศ ทูลกระหม

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการประจำปี เรื่อง "จดหมายเหตุเยอรมัน และการเปิดตัวของหอจดหมายเหตุต่างประเทศ ทูลกระหม













วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.15 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังกองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ทรงเป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการประจำปีเฉลิมพระเกียรติ "พลเอกหญิง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ด็อกเตอร์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 69 พรรษา 2 เมษายน 2567" เรื่อง "จดหมายเหตุเยอรมัน และการเปิดตัวของหอจดหมายเหตุต่างประเทศ ทูลกระหม่อมอาจารย์ ครั้งที่ 7" จัดโดยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มีนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และผู้เข้าร่วมสัมมนาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

โอกาสนี้ ทรงแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง "จดหมายเหตุเยอรมัน" ทรงถ่ายทอดพระประสบการณ์ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนหอจดหมายเหตุ หอสมุด และสถาบันการศึกษาของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในหลายโอกาส การใช้และเนื้อหาของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย จากมุมมองของเยอรมนี ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเยอรมนีในอดีตถึงปัจจุบัน อาทิ เอกสารบันทึกระหว่างข้าราชการระดับสูงของราชอาณาจักรไบเอิร์นกับปรัสเซีย เรื่องเตรียมการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยือนรัฐไบเอิร์น ในปี 2450 แต่ไม่ได้เสด็จพระราชดำเนิน เนื่องจากทรงพระประชวรอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน, ภาพถ่ายและเอกสารเรื่องการเสด็จพระราชดำเนินเยือนบ้านเด็กกำพร้า นครมิวนิก ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อปี 2509
หลังการแสดงปาฐกถาพิเศษ ทรงร่วมสัมมนาในหัวข้อ "การเปิดตัวของหอจดหมายเหตุต่างประเทศทูลกระหม่อมอาจารย์ ครั้งที่ 7 : งานแปลเอกสารสำคัญจากเกาหลีใต้ จีน ฝรั่งเศส เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา" โดยวิทยากรจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา เกาหลีใต้ และมหาวิทยาลัยปารีส 1 ซอร์บอนน์ นำเสนอผลงานแปลเอกสารทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเก็บรักษาในหอจดหมายเหตุทั่วโลก โดยนักวิชาการอาวุโส และหัวหน้าโครงการวิจัย นำเสนอที่มาและลักษณะพิเศษของเอกสาร การแปล และเนื้อหาของเอกสาร โดยคำนึงถึงบริบทเฉพาะของแต่ละประเทศ
Print