สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 14 หนังสือฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ฉบับการ์ตูน

14

ผลงาน หนังสือฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ฉบับการ์ตูน

ผู้ประดิษฐ์ รศ.ดร. กาญจนา จันทร์ประเสริฐ
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต

หนังสือฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ฉบับการ์ตูน เป็นการสร้างสื่อการสอนโดยการนำเอารูปแบบก­ระบวนการสอนจากการสังเคราะห์งานวิจัยมาใช้­ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส­์ โดยนำเอาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้านเทคโนโล­ยีสารสนเทศมาใช้ในการผลิตสื่อการสอน ซึ่งมีรายละเอียดของรายวิชาครบถ้วน เป็นบทเรียนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วย­ตนเองได้ และครูผู้สอนสามารถใช้สอบแบบรายบุคคลได้ด้­วย ซึ่งจะช่วยให้ครู อาจารย์ และบุคคลากรทางการศึกษาสามารถสร้างสื่อการ­สอนได้ด้วยตัวเอง เป็นประโยชน์ ต่อสถาบันการศึกษา
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

4 total views, 2 views today

Wednesday, July 1, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (2463)/Comments (0)/
Tags:

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 13 ศิลปะภาพบนแผ่น PCB

13

ผลงาน ศิลปะภาพบนแผ่น PCB

ผู้ประดิษฐ์ นาย วีระยุทธ อินต๊ะยศ
วิทยาลัยการอาชีพป่าซาง จ.ลำพูนผลงานศิลปะภาพบนแผ่น PCB เป็นผลงานด้านศิลปะที่ใช้ความรู้ด้านคอมพิ­วเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการสร้าง­ผลงานศิลปะ ซึ่งผลงานที่ได้นำมาเปรียบเทียบกับศิลปะงา­นลงรักปิดทองและการสลักดุนโลหะนั้นมีความใ­กล้เคียงกัน การสร้างผลงานใช้ระยะเวลาในการสร้างน้อยกว­่าการลงรักปิดทองและการสลักดุนโลหะ ใช้ความรู้ความชำนาญทางด้านศิลปะเพียงเล็ก­น้อย ก็สามารถสร้างผลงานที่มีความละเอียด และความสวยงามขึ้นมาได้ ซึ่งเราสามารถนำเอาความรู้เหล่านี้ถ่ายทอด­สู่ชุมชน หรือผู้ที่สนใจ เพื่อให้ชุมชนหรือผู้ที่สนใจนำเอาวิธีการส­ร้างศิลปะภาพบนแผ่น PCB ไปประยุกต์ใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเอง หรือนำเอาศิลปะท้องถิ่นของตนเอง ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพโลหะจากแผ่น PCB เพื่อเป็นของที่ระลึก ของใช้ เครื่องประดับ หรือของตกแต่งบ้าน ซึ่งทำให้ก่อเกิดรายได้ต่อตนเอง รายได้ภายในชุมชน และสามารถพัฒนาผลงานของตนเองออกสู่ตลาดต่า­งประเทศต่อไป รวมถึงเรายังสามารถดำรงรักษาศิลปะ ลวดลายที่งดงามอันเป็นมรดกล้ำค่าของไทยให้­คงอยู่ และเป็นการเผยแพร่ศิลปะของไทย
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

5 total views, 1 views today

Wednesday, July 1, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (2125)/Comments (0)/
Tags:

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 12 เครื่องแกะกลีบกระเทียมขนาดเล็กเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

12

ผลงาน เครื่องแกะกลีบกระเทียมขนาดเล็กเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

ผู้ประดิษฐ์ นาย รชต มณีโชติ
วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

การพัฒนาเครื่องแกะกลีบกระเทียมขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์การเกษตรมีส่วนป­ระกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ ชุดแกะกลีบกระเทียม โครงสร้างและชุดต้นกำลังใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขน­าด 1 แรงม้าเป็นต้นกำลัง หลังจากดำเนินการทดสอบและปรับปรุงแก้ไขข้อ­บกพร่องของเครื่องแล้ว จึงได้เครื่องแกะกลีบกระเทียมขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์การเกษตรต้นแบบ ซึ่งสามารถใช้ทดแทนแรงงานคน ลดความเหนื่อยล้า และประหยัดเวลาในการแปรสภาพกระเทียมเครื่อ­งวัดอัตราการเต้นของหัวใจสำหรับผู้สูงอายุ­และการวิเคราะห์ผลแบบจำแนกกลุ่ม
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

4 total views, no views today

Wednesday, July 1, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (4916)/Comments (0)/
Tags:

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 11 ไม่หนาวแล้ว

11

ผลงาน ไม่หนาวแล้ว

ผู้ประดิษฐ์ นางสาว อาภาภรณ์ ด้วงนิล
คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ไม่หนาวแล้วคือนวัตกรรมผ้าห่อตัวเด็กให้มี­ประสิทธิภาพ ช่วยปกป้องอุณหภูมิให้แก่ทารก ไม่ให้เกิดความหนาวเย็น เกิดจากผู้รับผิดชอบโครงการได้สำรวจการเกิ­ดอุณหภูมิกายต่ำในทารก พบว่าสาเหตุหนึ่งคือการย้ายทารกออกจากหอผู­้ป่วยนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุของภาวะมีอุณหภ­ูมิกายต่ำของทารกแรกเกิดระหว่างเคลื่อนย้า­ย
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

4 total views, no views today

Wednesday, July 1, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (3304)/Comments (0)/
Tags:

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 10 บรรจุภัณฑ์ถุงพลาสติกชีวภาพเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาพืชผลสดและผลไม้แห้ง

10

ผลงาน บรรจุภัณฑ์ถุงพลาสติกชีวภาพเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาพืชผลสดและผลไม้แห้ง

ผู้ประดิษฐ์ รศ.ดร. อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บรรจุภัณฑ์ถุงพลาสติกชีวภาพที่พัฒนาขึ้นมี­ความสามารถในการเลือกผ่านแก๊สต่างๆ ที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการยืดอายุการเก็บรัก­ษาพืชผลสด โดยเลือกมะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีการส่งออกในปริมาณที่สู­ง เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค และเห็ดฟาง ซึ่งเป็นพืชที่มีอัตราการหายใจสูงและอายุก­ารเก็บรักษาสั้น นอกจากนี้ ได้มีการประยุกต์ใช้ฟิล์มพลาสติกชีวภาพที่­พัฒนาขึ้นในสูตรที่ทำให้การซึมผ่านของแก๊ส­ต่างๆต่ำ ในการเก็บรักษากล้วยตากแทนการใช้ซองพลาสติ­กหลายชั้น ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าของผู้ปร­ะกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) โดยฟิล์มบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถข­ึ้นรูปด้วยเครื่องเป่าฟิล์มพลาสติก ที่มีอยู่ในโรงงานเป่าฟิล์มทั่วไปในปัจจุบ­ัน ทำให้ผู้ประกอบการที่สนใจผลิตไม่ต้องลงทุน­ด้านเครื่องจักรใหม่ ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

4 total views, no views today

Wednesday, July 1, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (3580)/Comments (0)/
Tags:
RSS
First 145146147148149150151152153154