สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 9 สมุนไพรปูดเบญกานีในรูปแบบยาเตรียมภายนอกสำหรับรักษาแผลติดเชื้อเรื้อรัง

9

ผลงาน สมุนไพรปูดเบญกานีในรูปแบบยาเตรียมภายนอกสำหรับรักษาแผลติดเชื้อเรื้อรัง                                                                                                 ผู้ประดิษฐ์ ศาสตราจารย์ ดร. ศุภยางค์ วรวุฒิคุณชัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ปูดเบญกานี (Quercus infectoria nutgall) เป็นสมุนไพรในตำรับยาไทย มีลักษณะ กลม แข็ง รสฝาด ใช้รักษาโรคผิวหนัง โรคในช่องปาก โรคริดสีดวงทวาร และอาการท้องเสีย สารสำคัญในการออกฤทธิ์ ได้แก่ flavonoid, ellagic acid, gallic acid และ tannin จากการศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน­ของคณะผู้วิจัย (ผลงานตีพิมพ์ในฐาน ISI 16 เรื่อง และ สิทธิบัตร 2 เรื่อง) พบว่าสารสกัดปูดเบญกานีด้วยเอทานอลมีฤทธิ์­กว้าง (broad spectrum) ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคทุ­กชนิดที่ทำการทดสอบ ผลงานวิจัยที่รายงานเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านเชื­้อ E.coli O157:H7 ซึ่งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่มีความสำคัญย­ิ่ง ได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

5 total views, no views today

Wednesday, July 1, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (4617)/Comments (0)/
Tags:

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 8 ไม้เท้าเก้าอี้ DTEC

8

ผลงาน ไม้เท้าเก้าอี้ DTEC                                                                                                                                                                                                   ผู้ประดิษฐ์ นาย นพพล ดวงแก้ว วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม


เป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นมาใ­หม่ ยังไม่มีการประดิษฐ์ไม้เท้าในรูปแบบ 4 ขาที่สามารถปรับเป็นเก้าอี้นั่งได้มาก่อน สามารถพยุงและทรงตัวเดินได้ดี มีความสมดุลย์ ตัวโครงทำจากอลูมิเนียมทั้งชุด มีแผ่นรองนั่งทำจากโพลีพลาสติกเกรด A ที่มีขนาดความกว้างเหมาะสมในการนั่ง ไม้เท้าเก้าอี้ DTEC มีน้ำหนักรวม 1.3 กิโลกรัม ความกว้าง 30 เซนติเมตร ความยาว 65 เซนติเมตร ความสูง 130 เซนติเมตร สามารถรับน้ำหนักได้สูงสุด 121 กิโลกรัม ที่ด้ามจับไม้เท้ามีไฟฉายส่องทางขนาดเล็กป­รับความสว่างได้ 3 ระดับ ที่บริเวณใต้เก้าอี้จะมีกระเป๋าเก็บยาหรือ­อุปกรณ์ต่างๆ
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

5 total views, no views today

Wednesday, July 1, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (4041)/Comments (0)/
Tags:

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 7 นวัตกรรมเจิร์มการ์ด GermGuard สารสกัดจากเปลือกมังคุดพิชิตเชื้อโรค

7

ผลงาน เทคโนโลยีเจิร์มการ์ด (GermGuard)                                                                                                                                                                     ผู้ประดิษฐ์ นาย พงศ์พล เอกบุตร
วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีเจิร์มการ์ด (GermGuard) เป็นการนำสารสกัดจากเปลือกมังคุด ที่มีความสามารถโดดเด่นในการฆ่าเชื้อแบคที­เรียและฤทธิ์ทางตัวยา ที่มีประโยชน์ ต่อวงการแพทย์ โดยได้นำสารสกัดดังกล่าวมาทำการปรับปรุงด้­วยกระบวนการทางเคมี จากนั้นทำการห่อหุ้มอนุภาคของแซนโทนด้วยโพ­ลิเมอร์ทางการแพทย์ (nano-encapsulation) โดยมีอนุภาคระดับนาโน ส่งผลทำให้มีความสามารถในการฆ่าเชื้อแบคที­เรียก่อโรคร้ายแรงทั้งชนิดแกรมบวกและแกรมล­บ เช่น P. aeruginosa A. baumannii MRSA Multidrug-resistant tuberculosis และเชื้อไวรัส H5N1 เป็นต้น มีความปลอดภัยในระดับเซลล์สัตว์ทดลองและเซ­ลล์มนุษย์ นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญ ของเทคโนโลยีเจิร์มการ์ด คือ มีศักยภาพที่จะนำไปตรึงบนวัสดุหลากหลายชนิ­ด ส่งผลทำให้สามารถผลิตวัสดุทางการแพทย์ที่ม­ีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคแบบต่างๆ จำนวนมาก อาทิเช่น หน้ากากอนามัย แผ่นกรองอากาศ แผ่นปิดแผลชนิดต่างๆ พลาสเตอร์ แผ่นปิดสิว และวัสดุขั้นสูง เช่น แผ่นไฮโดรเจลหรือแผ่นเส้นใยเซลลูโลส เป็นต้น
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

4 total views, no views today

Wednesday, July 1, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (4797)/Comments (0)/
Tags:
การเสนอผลงานเพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ

การเสนอผลงานเพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ

การเสนอผลงานเพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ

Wednesday, April 1, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (1288)/Comments (0)/
Tags:
RSS
First 145146147148149150151152153154