วช. ลงนาม MOU ร่วมกับ สำนักงาน กปร. “นำองค์ความรู้จากการวิจัยสู่การใช้ประโยชน์”

วันพุธที่ 19  สิงหาคม 2558 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อขยายผลการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ให้แก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรในพื้นที่ความรับผิดชอบของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2558 (Thailand Research Expo 2015)”  ณ เวที Highlight Stage ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ (ชั้น 22) โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

_DSC0369ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการ วช. เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านต่างๆ ให้แก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรในพื้นที่ความรับผิดชอบของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภายใต้ความดูแลของสำนักงาน กปร. จำนวน 6 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ศึกษาฯ อ่าวคุ้งกระเบนฯ จ.จันทบุรี ศูนย์ศึกษาฯ ภูพานฯ จ.สกลนคร ศูนย์ศึกษาฯ ห้วยทรายฯ จ.เพชรบุรี ศูนย์ศึกษาฯ ห้วยฮ่องไคร้ฯ จ.เชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาฯ เขาหินซ้อนฯ จ.ฉะเชิงเทรา และศูนย์ศึกษาฯ พิกุลทองฯ จ.นราธิวาส รวมทั้ง โครงการฯ ปากพนังฯ จ.นครศรีธรรมราช ศูนย์ศึกษาฯ เขาชะงุ้มฯ จ.ราชบุรี และศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงฯ จ.ระยอง และเกษตรกรที่สนใจในพื้นที่ใกล้เคียง มาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ภายในศูนย์ศึกษาฯ รวมถึงเกษตรกรได้มีความรู้ และสามารถนำความรู้ไปพัฒนาและสร้างอาชีพให้แก่ครอบครัวและชุมชน ให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งและมีความยั่งยืน โดย วช. จะรวบรวมองค์ความรู้ เทคโนโลยีที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก วช. เสนอให้สำนักงาน กปร. ใช้เป็นข้อมูลในการสอบถามความต้องการไปยังเจ้าหน้าที่และเกษตรกร ก่อนดำเนินการถ่ายทอด เพื่อให้องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ วช. มีอยู่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของ วช. ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้จากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น

ในปีงบประมาณ 2558 วช. ได้พิจารณาเห็นว่าการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเจ้าหน้าที่และเกษตรกรในพื้นที่ความรับผิดชอบของศูนย์ศึกษาฯ จึงเห็นควรดำเนินการขยายผลการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้แก่ศูนย์ศึกษาฯ ต่าง ๆ ตามความต้องการต่อไป

 _DSC0382

5 total views, 5 views today

Thursday, August 27, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (1858)/Comments (0)/
Tags:

วช. ลงนาม MOU พัฒนาระบบสารสนเทศการวิจัย ร่วมกับ สนง.รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 25588  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศการวิจัยสู่ระบบบริการภาครัฐที่ใช้งานร่วมกัน (Common Service) ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2558 (Thailand Research Expo 2015)”  ณ เวที Highlight Stage ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ (ชั้น 22) โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

_DSC0396นางสาวสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ รองเลขาธิการ วช. เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีภารกิจตามกฎหมายในการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยของประเทศ รวมทั้งจัดระบบเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัย ภารกิจดังกล่าวมีความเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น เมื่อ วช. ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเจ้าภาพในการปฏิรูประบบวิจัยเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อวิสัยทัศน์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ใช้ชื่อในภาพรวมว่าเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) โดยขอบเขตการปฏิรูประบบวิจัยที่มีทั้งหมด 9 มิติ นั้น เรื่องของระบบสารสนเทศการวิจัยถูกจัดไว้ในมิติโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อปฏิรูปให้มีฐานข้อมูล การบริหารจัดการ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยให้ได้ประโยชน์สูงสุด และให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเหมาะสม

การปฏิรูปด้านข้อมูลการวิจัยดำเนินการโดยสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศที่ผลักดันโดย สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) โดยเฉพาะในแนวทางของการพัฒนาจากยุครัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไปสู่รัฐบาลดิจิทัลเพื่อสนับสนุนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ เป็นยุคแห่งการปฏิรูประบบสารสนเทศการวิจัยสู่ Open Data ในฐานะข้อมูลของภาครัฐที่สามารถนำมาใช้ได้โดยอิสระ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และแจกจ่ายได้โดยใครก็ตาม แต่ต้องระบุแหล่งที่มาหรือเจ้าของงานและต้องใช้สัญญาหรือเงื่อนไขเดียวกันกับที่มาหรือตามเจ้าของงานกำหนด

ด้วยแนวทางดังกล่าว ระบบสารสนเทศการวิจัยของประเทศซึ่งประกอบด้วยฐานข้อมูลจำนวนมากจึงได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมีมาตรฐานทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลผลงานวิจัยระหว่างฐานข้อมูลของหน่วยงานต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบดังกล่าวนี้ นำไปสู่ความต้องการโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เพียงพอและมีความมั่นคงปลอดภัยสูง การนำระบบสารสนเทศการวิจัยที่มีปริมาณข้อมูลขนาดใหญ่เข้าไว้ในระบบคลาวด์ภาครัฐ (G-Cloud) ซึ่งให้บริการโดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) จึงเป็นการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญของระบบสารสนเทศการวิจัยในการก้าวเข้าสู่ยุครัฐบาลดิจิทัล

_DSC0418

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

 

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

        สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์  (องค์การมหาชน) (สรอ.)

R&D Digital Gateway 

จากฐานข้อมูลต่างๆ ระบบสารสนเทศการวิจัย ทำให้เกิดการรวมระบบที่เรียกว่า Research and Development Digital Gateway (R&D Digital Gateway) เป็นการพัฒนาระบบที่เป็นเว็บพอร์ทอล (Web Portal System) สำหรับข้อมูลด้านการวิจัยทั้งหมดที่ถูกจัดเก็บอยู่ในระบบต่างๆ ในศูนย์สารสนเทศการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

รูปแบบการทำงานของระบบ R&D Digital Gateway 

เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลงานวิจัยทั้งหมดได้จากจุดเดียว (One Search) เช่น เมื่อค้นหาคำว่า   “ข้าว” ระบบจะทำการค้นหาจากทุกระบบพร้อมแสดงผลลัพธ์ที่ได้ ซึ่งเป็นระบบค้นหาแบบ One Search ส่งผลให้ทุกข้อมูลที่มีอยู่ในระบบสามารถแสดงได้ในจุดเดียวกัน

นอกจากนี้ ระบบจะนำผลลัพธ์จากการค้นหาที่ได้ทั้งหม

Thursday, August 27, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (1743)/Comments (0)/
Tags:

วช. ประกาศรางวัล TWAS Prize for Young Scientists in Thailand ประจำปี 2558

              สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้มีพิธีมอบรางวัล TWAS Prize for Young Scientists in Thailand ประจำปี 2558 ในพิธีเปิดงานภาคการประชุมในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2558 (Thailand Research Expo 2015)” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2558 ณ ห้องประชุมเวิลด์ บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งในปีนี้เป็นการมอบรางวัลใน
สาขาเคมี โดยผู้ที่ได้รับรางวัลคือ ดร.วรายุทธ  สะโจมแสง และ วช. ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล

_DSC0139ดร.วรายุทธ  สะโจมแสง ผู้ได้รับรางวัล TWAS Prize for Young Scientists in Thailand ประจำปี 2558 เป็นนักวิจัยอาวุโส จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งมีผลงานวิจัยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านเคมี ซึ่งมีการจดสิทธิบัตรถึง 7 เรื่อง และมีการพัฒนางานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม มีการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2551-2558 ผลงานได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่มี Impact factor สูงเป็นจำนวนมาก ผลงานวิจัยที่โดดเด่นคือ ผลงานวิจัยเรื่อง “อนุภาคนาโนไคโตซานวัสดุนำส่งมหัศจรรย์” ซึ่งได้มีการพัฒนากระบวนการสังเคราะห์และการเตรียมไคโตซานและอนุพันธ์ไคโตซานชนิดใหม่ให้อยู่ในรูปของอนุภาคขนาดนาโนเมตรด้วยเทคนิคต่างๆ เพื่อนำไปใช้เป็นวัสดุทางด้านการแพทย์และเภสัชสำหรับห่อหุ้มและนำส่งสารต่างๆ เช่น ยา โปรตีน แอนติเจน แอนติบอดี เป็นต้น เพื่อควบคุมการปลดปล่อยและเพิ่มประสิทธิภาพทั้งทางกายภาพและชีวภาพของสารเหล่านี้ต่อการบำบัดรักษาและป้องกันโรคต่างๆ

ทั้งนี้ โครงการรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ในประเทศไทย (TWAS Prize for Young Scientists in Thailand) นั้น เป็นโครงการที่ วช. ร่วมกับ สภาวิทยาศาสตร์สำหรับประเทศกำลังพัฒนา (The Academy of Sciences for the Developing World – TWAS) จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและประกาศเกียรติคุณนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของประเทศไทย (อายุไม่เกิน 40 ปี) ที่มีผลงานวิชาการดีเด่น เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน คือ สาขาชีววิทยา สาขาเคมี สาขาคณิตศาสตร์ และสาขาฟิสิกส์ โดยมีการมอบรางวัล TWAS ปีละ 1 รางวัล ในการนี้ มีผู้ได้รับรางวัลจนถึงปัจจุบันทั้งสิ้น จำนวน 18 ราย นักวิทยาศาสตร์ที่สนใจส่งผลงานและประวัติเพื่อขอรับการพิจารณาเสนอชื่อเข้ารับรางวัล สามารถติดตามข่าวการประกาศรับสมัครได้ผ่านทาง http://www.nrct.go.th ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

โดยในปี พ.ศ. 2559 จะเป็นการมอบรางวัลในสาขาคณิตศาสตร์

27 total views, 27 views today

Thursday, August 27, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (1683)/Comments (0)/
Tags:

วช. จัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2558 (Thailand Research Expo 2015)”

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ จัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2558 (Thailand Research Expo 2015)” ระหว่างวันที่ 16 – 20 สิงหาคม 2558 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

     DSC_2349_resize IMG_0746_resize IMG_0924_resizeDSC_2349_resize

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการ วช. กล่าวว่า มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ (Thailand Research Expo) เป็นกิจกรรมสำคัญที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี 2549 และจัดต่อเนื่องกันเป็นประจำทุกปี ซึ่งปีนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 แล้ว ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ ในการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ มีศักยภาพ พร้อมที่จะนำไปใช้ประโยชน์สู่กลุ่มเป้าหมายในมิติต่างๆ ทั้งมิติเชิงนโยบาย เชิงวิชาการ เชิงสังคม/ชุมชน เชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม ในการจัดงานที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของการวิจัยอย่างแท้จริงที่เริ่มต้นจากการวิจัยเพื่อหาความรู้ สู่การเรียนรู้ และการนำไปใช้ประโยชน์ ที่เรียกว่า “การนำผลงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง”

     สำหรับ 1 ทศวรรษของการจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2558 หรือ Thailand Research Expo 2015” ซึ่งเวียนมาบรรจบครบรอบ (10 ปี) ในปี 2558 นี้ วัตถุประสงค์หลักของการจัดงาน คือ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558 และให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ ในการนำผลงานวิจัยที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นผลผลิตจากการวิจัยมาสู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำไปสู่ “สังคมแห่งการเรียนรู้” ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน (Research for Quality of Life, Sustainable Economy and Society)โดยมีนกเจ้าฟ้าเป็น Mascot ของงาน กิจกรรมภายในงานแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การแสดงนิทรรศการ ประกอบด้วย นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ โครงการฟาร์มตัวอย่างแบบผสมผสาน จังหวัดเพชรบุรี นิทรรศการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการตามแนวพระราชดำริในด้านต่าง ๆ นิทรรศการของพระบรมวงศานุวงศ์ นิทรรศการผลงานวิจัยและกิจกรรมการวิจัยจากหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ รวมแล้วมากกว่า 130 หน่วยงาน นำเสนอผลงานมากกว่า 400 ผลงาน ใน 9 ประเด็นกลุ่มเรื่องวิจัย ได้แก่ งานวิจัยเพื่อการพัฒนาเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป งานวิจัยเพื่อพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม งานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับภาคอุตสาหกรรม งานวิจัยเพื่อสร้างธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาด

Thursday, August 27, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (1791)/Comments (0)/
Tags:
Thursday, August 27, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (1481)/Comments (0)/
Tags:
RSS
First 137138139140141142143144145146 Last