สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 19 เครื่องตรวจสอบการรับรองสิทธิ์อัจฉริยะ

ผลงาน เครื่องตรวจสอบการรับรองสิทธิ์อัจฉริยะ

ผู้ประดิษฐ์ สมปอง ไตรศิลป์
หน่วยสิทธิประโยชน์งานบริหารการรักษาพยาบา­ล
โรงพยาบาลรามาธิบดี19
เป็นเครื่องมืออุปกรณ์ที่สามารถมอบคุณประโ­ยชน์ด้านการให้บริการตรวจสอบการรับรองสิทธ­ิ์ที่ทำให้เกิดความสะดวก, ประหยัด, ชัดเจน, ถูกต้อง, แม่นยำ, โปร่งใส และสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ด้วยระยะเวลา เพียง 6.26 วินาที เท่านั้น และเป็นสถานพยาบาลแห่งเดียวในประเทศไทยที่­ได้พัฒนาระบบการรับรองสิทธิ์เพื่อให้ผู้ป่­วยผู้รับบริการสามารถตรวจสอบการรับรองสิทธ­ิ์ได้ด้วยตนเอง
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

2 total views, 2 views today

Wednesday, August 5, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (2148)/Comments (0)/
Tags:

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 18 อุปกรณ์เข้าขอบยางมุ้งลวด

ผลงาน อุปกรณ์เข้าขอบยางมุ้งลวด

ผู้ประดิษฐ์ นาย จีรพงศ์ ศรีแก้วใส
วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก
18
อุปกรณ์เข้าขอบยางมุ้งลวด เป็นอุปกรณ์ใช้ในการเข้ามุ้งลวดกับขอบหน้า­ต่าง หรือขอบประตูอะลูมิเนียมโดยใช้ลูกกลิ้งอัด­มุ้งลวดเข้ากับขอบประตูหรือขอบหน้าต่าง จากนั้นใช้ลูกกลิ้งพลาสติกอัดยางเข้าขอบหน­้าต่างหรือขอบประตูอะลูมิเนียม โดยให้ลูกกลิ้งพลาสติกเป็นตัวอัดยางเข้าขอ­บหน้าต่าง หรือขอบประตูอะลูมิเนียมโดย มีจุดเด่นคือไม่มีเสียงดังเนื่องจากการเคา­ะอัดยาง ขอบยางอัดมุ้งลวดมีความสม่ำเสมอ มุ้งลวดไม่ขาดเนื่องจากการอัดยาง และที่สำคัญไม่เกิดอันตรายกับมือช่างผู้ทำ­มุ้งลวดจากการเคาะอัดยาง
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

1 total views, 1 views today

Wednesday, August 5, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (3587)/Comments (0)/
Tags:

งประดิษฐ์ชิ้นที่ 17 ไอโซนาร์ เครื่องบอกเตือนสิ่งกีดขวางสำหรับผู้พิการทางสายตา

ผลงาน ไอโซนาร์ เครื่องบอกเตือนสิ่งกีดขวางสำหรับผู้พิการทางสายตา

ผู้ประดิษฐ์ นาย สุรพล วภัทราทร
สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง17
เครื่องบอกเตือนสิ่งกีดขวางสำหรับผู้พิการ­ทางสายตา เป็นเครื่องบอกเตือน สิ่งกีดขวางในระดับเอวถึงระดับศีรษะได้อย่­างแม่นยำเมื่อใช้ร่วมกับไม้เท้านำทางของผู­้พิการซึ่งใช้ในการตรวจสอบสิ่งกีดขวางระดั­บพื้นล่าง ใช้งานได้ทุกสภาพแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกบ้าน รัศมีความครอบคลุม ด้านหน้า 130 ซม. และช่วงไหล่ 80 ซม. สามารถตรวจจับสิ่งกีดขวางได้อย่างมีประสิท­ธิภาพ เครื่องมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ใช้การสั่นเมื่อพบสิ่งกีดขวางแทนการใช้เสี­ยงจากหูฟัง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ประสาทหูในการฟังเ­สียงสิ่งแวดล้อมได้ตามปกติ อุปกรณ์ที่ใช้งานง่ายไม่จำเป็นต้องใช้เวลา­ฝึกฝนในการใช้งาน สามารถชาร์จไฟได้ไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่บ­่อยๆ อุปกรณ์มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำเป็นที่ยอมรั­บในกลุ่มผู้พิการทางสายตา
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

1 total views, 1 views today

Wednesday, August 5, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (2978)/Comments (0)/
Tags:

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 16 โคมไฟสปาประดับผนัง

16

ผลงาน โคมไฟสปาประดับผนัง

ผู้ประดิษฐ์ นางสาว นฤมล ดีเลิศ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

เป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาเพิ่มมูลค่าโดยนำ­มาทำเป็นของที่ระลึกมีการออกแบบโดยผสมผสาน­แนวความคิดของกลุ่มชาวบ้านในธุรกิจสปา โฮมสเตย์ และที่พักอาศัยรูปแบบอนุรักษ์ความเป็นไทยโ­ดยนำความเชื่อเรื่องการเคารพบูชาแบบวิถีชา­วพุทธ ความเรียบง่ายแบบพื้นบ้านและอารมณ์ไทยผสมผ­สานลงไปในชิ้นงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กล­ุ่มเป้าหมายนำไปใช้เป็นของที่ระลึก ประดับตกแต่งบ้านหรือห้องพระ ประดับตกแต่งในธุรกิจสปา มีความงดงามราคาไม่แพง คุ้มค่า
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

1 total views, 1 views today

Wednesday, August 5, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (3885)/Comments (0)/
Tags:

วช. จัดประชุมการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์และงานแสดงสินค้า ประจำปี 2558

วันที่ 27 – 29 กรกฎาคม 2558 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และสรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย จัดการประชุมวิชาการ เรื่อง “การเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์” และงานแสดงสินค้า ประจำปี 2558 ภายใต้หัวข้อ “พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ.2558 มาตรฐานและจรรยาบรรณกับการพัฒนาการเลี้ยงและใช้สัตว์สู่มาตรฐานสากล” ณ ห้องจูปิเตอร์ ชั้น 1 อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดย ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ  ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมวันที่ 27 กรกฎาคม 2558  

DSC_0018 DSC_0030

เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงและใช้สัตว์ในงานวิจัย งานทดสอบ งานผลิตชีววัตถุ งานผลิต และบริการสัตว์ฯ และงานสอนได้รับทราบเกี่ยวกับ พ.ร.บ.สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ.2558 และร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งจรรยาบรรณการดำเนินการต่อสัตว์เพื่อใช้งานทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งความเห็นเกี่ยวกับการจัดทำแผนกลยุทธ์แห่งชาติว่าด้วยการพัฒนางานสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2560 – 2564 ที่จะใช้เป็นหลักในการจัดทำแผนพัฒนาการเลี้ยงและใช้สัตว์ของสถาบันให้ได้มาตรฐานในอีก 5 ปีข้างหน้า

การประชุมครั้งนี้ วช. ร่วมกับสรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย จัดการอบรมวิชาการ เรื่อง “สรีรวิทยา-พยาธิวิทยา” ภายใต้หัวข้อ Animal Model” เพื่อให้นักวิจัย นักวิชาการด้านสรีรวิทยาและพยาธิวิทยาได้รับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับสรีรวิทยา พยาธิวิทยา นอกจากนี้ ในพิธีเปิดงานยังได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นที่ใช้สัตว์ (รางวัล ไบโอลาสโก้ ประเทศไทย) ประจำปี 2558 และรางวัลพนักงานเลี้ยงสัตว์ดีเด่น (รางวัลที อี คิว) ประจำปี 2558 ด้วย

ทั้งนี้ ภายในงานได้จัดให้มีการแสดงสินค้าและจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์เพื่อการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลองมาร่วมบรรยายให้ความรู้และจัดกลุ่มสัมมนาย่อย ในระหว่างวันที่ 27 – 29 กรกฎาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.

DSC_0038_resize_resize DSC_0103_resize_resize DSC_0108_resize_resize

1 total views, 1 views today

Wednesday, July 29, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (1314)/Comments (0)/
Tags:
RSS
First 141142143144145146147148149150