วช. มอบรางวัลนักวิจัยดีเด่นที่ใช้สัตว์ทดลอง และพนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลองดีเด่น ประจำปี 2558

วันที่ 27 กรกฎาคม 2558 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดพิธีมอบรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นที่ใช้สัตว์ทดลอง (รางวัลไบโอลาสโก้ ประเทศไทย) และพนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลองดีเด่น (รางวัลที อี คิว) ประจำปี 2558  ณ ห้องประชุมจูปิเตอร์ ชั้น 1 อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดย ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ  ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบรางวัล

ดร.ปัทมารัตน์ กุญชร ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบวิจัย เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ประกาศให้มีจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ และหลักการ 3Rs (Replacement Reduction and Refinement) มาตั้งแต่ปี 2542 และได้ดำเนินการพัฒนางานเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องและให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานสัตว์ทดลอง โดยเฉพาะนักวิจัยผู้ใช้สัตว์ทดลองและพนักงานผู้เลี้ยงสัตว์ทดลอง เนื่องจากต้องเลือกชนิด/สายพันธุ์สัตว์ สถานที่เลี้ยงสัตว์ วิธีการเลี้ยง และการนำสัตว์มาใช้ทดลองเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับจรรยาบรรณการใช้สัตว์ สภาวิจัยแห่งชาติ และได้ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคมและผู้วิจัยมีความตระหนักและให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อสัตว์ ในการนี้ วช. จึงร่วมกับ บริษัท ไบโอลาสโก้ ประเทศไทย จำกัด จัดให้มีรางวัล ไบโอลาสโก้ ประเทศไทย (BioLASCO Thailand Award) เพื่อมอบให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นที่ใช้สัตว์ทดลอง โดยคัดเลือกจากผู้ปฏิบัติการวิจัยที่ใช้สัตว์ทดลองตามจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ และยึดหลักการ 3Rs อย่างเคร่งครัดตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดงานวิจัย และมีผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปี 2558 นี้ วช. ได้พิจารณาให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิง พินภัทร  ไตรภัทร แห่งคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นที่ใช้สัตว์ทดลอง (รางวัล ไบโอลาสโก้ ประเทศไทย) จากผลงานวิจัย เรื่อง “การศึกษาความปลอดภัยของยาหอมนวโกศซึ่งมีไคร้เครือผสมอยู่ในหนูวิสตาร์” โดยจะได้รับเงินรางวัลสนับสนุนจากบริษัท ไบโอลาสโก้ ประเทศไทย จำกัด จำนวน 100,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณ

DSC_0041

สำหรับรางวัลพนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลองดีเด่น รางวัล ที อี คิว (TEQ Award) วช. ร่วมกับ บริษัท ที อี คิว จำกัด  จัดให้มีขึ้น เพื่อให้ผู้บริหารหน่วยงานที่มีการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองได้ตระหนักถึงความสำคัญของพนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลอง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ และเพื่อเชิดชูเกียรติพนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลอง ซึ่งในปี 2558 วช. ได้พิจารณาให้นายภักดี  ไข่ลือนาม แห่งศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลพนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลองดีเด่น โดยจะได้รับเงินรางวัลสนับสนุนจากบริษัท ที อี คิว จำกัด จำนวน 30,000 บาท โล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณหน่วยงานที่สังกัดและคณะกรรมการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์ของสถาบัน นอกจากนี้ ยังมีรางวัลชมเชยให้แก่พนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลองดีเด่นอีก 2 รางวัล ได้แก่ นายอุทัย  ทองบาง แห่งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนายสมจิตร  สุระสา แห่งศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งจะได้รับเงินรางวัล รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณฯ

DSC_0051 DSC_0054 DSC_0055Wednesday, July 29, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (1883)/Comments (0)/

Tags:

วช. จัดเสวนา “วิกฤตภัยแล้งและแนวทางแก้ไข

วันที่ 20 กรกฎาคม 2558 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (สพภ.) จัดการเสวนา เรื่อง “วิกฤตภัยแล้งและแนวทางแก้ไข”  ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร  จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการเสวนา   

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการ วช. เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อประชากรเป็นอย่างมาก ทั้งอุทกภัย แผ่นดินไหว และภัยแล้ง โดยภัยธรรมชาติเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของภูมิอากาศ เช่น ปริมาณฝน อุณหภูมิ และความชื้น ดังจะเห็นได้จากสภาวะอากาศในฤดูร้อนที่ร้อนมากกว่าปกติ และปริมาณน้ำฝนที่น้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญในตลาดโลก รวมทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ภาวะการขาดแคลนน้ำอย่างหนักจากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและเขื่อนขนาดใหญ่ของไทยลดลง ทำให้ไม่เพียงพอสำหรับการทำนาปลูกข้าวของเกษตรกร ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงพยายามหามาตรการเพื่อบรรเทาภัยแล้งและประหยัดน้ำในช่วงหน้าแล้ง เช่น ลดปริมาณการระบายน้ำจากเขื่อนหลักลง ชะลอการปลูกข้าวนาปีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นต้น

_DSC0016 _DSC0020 _DSC0060 _DSC0069

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของวิกฤตภัยแล้ง จึงร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (สพภ.) จัดการเสวนาครั้งนี้เพื่อหาแนวทางแก้ไขสถานการณ์วิกฤตภัยแล้งและเป็นเวทีเผยแพร่ความรู้จากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับวิกฤตภัยแล้ง เพื่อให้ได้แนวทางการแก้ไขสถานการณ์วิกฤตภัยแล้งในประเทศไทยต่อไป

63 total views, 63 views today

Wednesday, July 29, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (1391)/Comments (0)/
Tags:
Friday, July 24, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (1670)/Comments (0)/
Tags:
Tuesday, July 21, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (1223)/Comments (0)/
Tags:
Tuesday, July 21, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (1132)/Comments (0)/
Tags:
RSS
First 141142143144145146147148149150