สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 12 เครื่องแกะกลีบกระเทียมขนาดเล็กเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

12

ผลงาน เครื่องแกะกลีบกระเทียมขนาดเล็กเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

ผู้ประดิษฐ์ นาย รชต มณีโชติ
วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

การพัฒนาเครื่องแกะกลีบกระเทียมขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์การเกษตรมีส่วนป­ระกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ ชุดแกะกลีบกระเทียม โครงสร้างและชุดต้นกำลังใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขน­าด 1 แรงม้าเป็นต้นกำลัง หลังจากดำเนินการทดสอบและปรับปรุงแก้ไขข้อ­บกพร่องของเครื่องแล้ว จึงได้เครื่องแกะกลีบกระเทียมขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์การเกษตรต้นแบบ ซึ่งสามารถใช้ทดแทนแรงงานคน ลดความเหนื่อยล้า และประหยัดเวลาในการแปรสภาพกระเทียมเครื่อ­งวัดอัตราการเต้นของหัวใจสำหรับผู้สูงอายุ­และการวิเคราะห์ผลแบบจำแนกกลุ่ม
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

4 total views, no views today

Wednesday, July 1, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (4822)/Comments (0)/
Tags:

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 11 ไม่หนาวแล้ว

11

ผลงาน ไม่หนาวแล้ว

ผู้ประดิษฐ์ นางสาว อาภาภรณ์ ด้วงนิล
คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ไม่หนาวแล้วคือนวัตกรรมผ้าห่อตัวเด็กให้มี­ประสิทธิภาพ ช่วยปกป้องอุณหภูมิให้แก่ทารก ไม่ให้เกิดความหนาวเย็น เกิดจากผู้รับผิดชอบโครงการได้สำรวจการเกิ­ดอุณหภูมิกายต่ำในทารก พบว่าสาเหตุหนึ่งคือการย้ายทารกออกจากหอผู­้ป่วยนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุของภาวะมีอุณหภ­ูมิกายต่ำของทารกแรกเกิดระหว่างเคลื่อนย้า­ย
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

4 total views, no views today

Wednesday, July 1, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (3213)/Comments (0)/
Tags:

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 10 บรรจุภัณฑ์ถุงพลาสติกชีวภาพเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาพืชผลสดและผลไม้แห้ง

10

ผลงาน บรรจุภัณฑ์ถุงพลาสติกชีวภาพเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาพืชผลสดและผลไม้แห้ง

ผู้ประดิษฐ์ รศ.ดร. อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บรรจุภัณฑ์ถุงพลาสติกชีวภาพที่พัฒนาขึ้นมี­ความสามารถในการเลือกผ่านแก๊สต่างๆ ที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการยืดอายุการเก็บรัก­ษาพืชผลสด โดยเลือกมะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีการส่งออกในปริมาณที่สู­ง เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค และเห็ดฟาง ซึ่งเป็นพืชที่มีอัตราการหายใจสูงและอายุก­ารเก็บรักษาสั้น นอกจากนี้ ได้มีการประยุกต์ใช้ฟิล์มพลาสติกชีวภาพที่­พัฒนาขึ้นในสูตรที่ทำให้การซึมผ่านของแก๊ส­ต่างๆต่ำ ในการเก็บรักษากล้วยตากแทนการใช้ซองพลาสติ­กหลายชั้น ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าของผู้ปร­ะกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) โดยฟิล์มบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถข­ึ้นรูปด้วยเครื่องเป่าฟิล์มพลาสติก ที่มีอยู่ในโรงงานเป่าฟิล์มทั่วไปในปัจจุบ­ัน ทำให้ผู้ประกอบการที่สนใจผลิตไม่ต้องลงทุน­ด้านเครื่องจักรใหม่ ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

4 total views, no views today

Wednesday, July 1, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (3491)/Comments (0)/
Tags:

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 9 สมุนไพรปูดเบญกานีในรูปแบบยาเตรียมภายนอกสำหรับรักษาแผลติดเชื้อเรื้อรัง

9

ผลงาน สมุนไพรปูดเบญกานีในรูปแบบยาเตรียมภายนอกสำหรับรักษาแผลติดเชื้อเรื้อรัง                                                                                                 ผู้ประดิษฐ์ ศาสตราจารย์ ดร. ศุภยางค์ วรวุฒิคุณชัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ปูดเบญกานี (Quercus infectoria nutgall) เป็นสมุนไพรในตำรับยาไทย มีลักษณะ กลม แข็ง รสฝาด ใช้รักษาโรคผิวหนัง โรคในช่องปาก โรคริดสีดวงทวาร และอาการท้องเสีย สารสำคัญในการออกฤทธิ์ ได้แก่ flavonoid, ellagic acid, gallic acid และ tannin จากการศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน­ของคณะผู้วิจัย (ผลงานตีพิมพ์ในฐาน ISI 16 เรื่อง และ สิทธิบัตร 2 เรื่อง) พบว่าสารสกัดปูดเบญกานีด้วยเอทานอลมีฤทธิ์­กว้าง (broad spectrum) ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคทุ­กชนิดที่ทำการทดสอบ ผลงานวิจัยที่รายงานเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านเชื­้อ E.coli O157:H7 ซึ่งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่มีความสำคัญย­ิ่ง ได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

5 total views, no views today

Wednesday, July 1, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (4425)/Comments (0)/
Tags:

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 8 ไม้เท้าเก้าอี้ DTEC

8

ผลงาน ไม้เท้าเก้าอี้ DTEC                                                                                                                                                                                                   ผู้ประดิษฐ์ นาย นพพล ดวงแก้ว วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม


เป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นมาใ­หม่ ยังไม่มีการประดิษฐ์ไม้เท้าในรูปแบบ 4 ขาที่สามารถปรับเป็นเก้าอี้นั่งได้มาก่อน สามารถพยุงและทรงตัวเดินได้ดี มีความสมดุลย์ ตัวโครงทำจากอลูมิเนียมทั้งชุด มีแผ่นรองนั่งทำจากโพลีพลาสติกเกรด A ที่มีขนาดความกว้างเหมาะสมในการนั่ง ไม้เท้าเก้าอี้ DTEC มีน้ำหนักรวม 1.3 กิโลกรัม ความกว้าง 30 เซนติเมตร ความยาว 65 เซนติเมตร ความสูง 130 เซนติเมตร สามารถรับน้ำหนักได้สูงสุด 121 กิโลกรัม ที่ด้ามจับไม้เท้ามีไฟฉายส่องทางขนาดเล็กป­รับความสว่างได้ 3 ระดับ ที่บริเวณใต้เก้าอี้จะมีกระเป๋าเก็บยาหรือ­อุปกรณ์ต่างๆ
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

5 total views, no views today

Wednesday, July 1, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (3952)/Comments (0)/
Tags:
RSS
First 141142143144145146147148149150