Page 14 - แผนปฏิบัติการด้านการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม (พ.ศ. 2563-2565)
P. 14
บทที่ 2 สถานภาพการน างานวิจัยและ
นวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
2.1 ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1 ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
วช. ได้ริเริ่มจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563-
2565) ใน พ.ศ. 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำแผนดำเนินการฯ ไปใช้ในการกำหนดทิศการทำงานและเป็น
แนวปฏิบัติของบุคลากร วช. ซึ่งจะช่วยยกระดับงานวิจัยและนวัตกรรมภายในห้องปฏิบัติการ (หิ้ง) ไปสู่การใช้
ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ โดยแผนปฏิบัติการฯ ฉบับที่จัดทำขึ้นนี้ มีกลยุทธและแนวทาง/มาตรการที่สามารถ
ผลักดันไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานด้านการใช้ประโยชน์
งานวิจัยและนวัตกรรมมีความต่อเนื่อง ทันสมัย ครอบคลุมทุกบริบทของระบบการวิจัย และสอดคล้องกับ
กฎหมาย นโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) แผนแม่บทภายใต้
ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) (ร่าง) แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) นโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. และกฎหมายที่
เกี่ยวข้อง รวมถึงประเด็นยุทธศาสตร์ วช. (พ.ศ. 2561-2564) เพื่อนำไปสู่การประกาศ และใช้แผนปฏิบัติการฯ
หลักใน วช. โดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1.1 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
แผนปฏิบัติการฯ มีความเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ในด้านที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างขีด
ความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับศักยภาพในหลากหลายมิติ ประเด็นที่ 2.5 พัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐาน
ผู้ประกอบการยุคใหม่ โดยมุ่งเน้นการสร้างโอกาสการเข้าถึงข้อมูล และปรับบทบาทและโอกาสการเข้าถึง
บริการของภาครัฐ และด้านที่ 6 ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ประเด็นที่ 6.2 ภาครัฐบริหารงานแบบบูรณาการโดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายและเชื่อมโยงการพัฒนาใน
ทุกระดับ ทุกประเด็น ทุกภารกิจ และทุกพื้นที่ โดยมุ่งเน้นให้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนา
ประเทศ และระบบติดตามประเมินผลที่สะท้อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติในทุกระดับ
2.1.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
แผนแม่บทฉบับที่ 23 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม พ.ศ. 2561-2580 เกี่ยวข้องกับประเด็นการวิจัย
และพัฒนานวัตกรรม ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาปัจจัยสนับสนุน อาทิ โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก
ด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ระบบบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
การพัฒนามาตรการแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนวิจัยและนวัตกรรม การเพิ่มจำนวนบุคลากรวิจัย
และนวัตกรรมในภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน รวมทั้งการพัฒนามาตรฐาน ระบบคุณภาพ และการ
- 6 -