Page 17 - แผนปฏิบัติการด้านการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม (พ.ศ. 2563-2565)
P. 17
2. นโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. พ.ศ. 2563-2565
(ฉบับปรับปรุงส าหรับปี งบประมาณ 2565) ทบทวนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์
ชาติเฉพาะกิจจากสถานการณ์โควิด-19 พ.ศ. 2564-2565
นโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. ภายใต้แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.
2563-2565 ฉบับปรับปรุง สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับปรุงเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ
โดยมีแผนงานเชิงกลยุทธ์ด้าน ววน. สำหรับการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมในปีงบประมาณ 2565 โดย
การเพิ่มโปรแกรมที่ 17 การแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 เพื่อให้มีความ
สอดคล้องกับสถานการณ์ นโยบายของรัฐบาล และการพลิกโฉมฉับพลัน (Disruptive Technology) สอดรับ
กับการดำเนินชีวิตในวิถีชีวิตปกติแบบใหม่ (New normal) และกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. พ.ศ.
2566-2570 ได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564 โดยมุ่งหวังให้ความสำคัญ
กับการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและการแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศที่เป็นปัญหา
เร่งด่วน ทำให้ประเทศไทยมีความสามารถในการจัดการและฟื้นตัวอย่างมีประสิทธิภาพ (Resilience) มี
ศักยภาพในการพึ่งตนเองด้านความรู้กำลังคนและโครงสร้างพื้นฐานด้าน ววน. เพื่อสนับสนุนการจัดการภาวะ
วิกฤติเร่งด่วนและการฟื้นตัวหลังภาวะวิกฤติ และกำหนดเป้าหมายผลสัมฤทธิ์เพื่อให้ประเทศไทยมี
ความสามารถในการจัดการและฟื้นตัวอย่างมีประสิทธิภาพ (Resilience) ต่อการเกิดภาวะวิกฤติเร่งด่วนของ
ประเทศ (O17a) และเพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการพึ่งตนเองด้านความรู้ กำลังคนและโครงสร้าง
พื้นฐานด้าน ววน. เพื่อสนับสนุนการจัดการวิกฤติเร่งด่วนและการฟื้นตัวหลังภาวะวิกฤติ (O17b)
2.1.6 (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและ
นวัตกรรม พ.ศ. ….
ประเทศไทยได้พัฒนากฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย
และนวัตกรรม รวมทั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัดทำกฎหมาย ลำดับ
รองที่ต้องออกภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม โดยมี
หลักการสำคัญเพื่อขจัดอุปสรรคในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยการมอบ
สิทธิความเป็นเจ้าของในผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากการสนับสนุนทุนจากหน่วยงานให้ทุนของรัฐ ให้แก่
ผู้รับทุนซึ่งส่วนใหญ่ โดยจะทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรม และกระตุ้น
ให้หน่วยงานผู้รับทุนสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรม ทำให้ระบบวิจัยและ
นวัตกรรมของประเทศเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น จากสถานการณ์ที่ผ่านมาการสนับสนุน/การลงทุน โดยภาครัฐยังไม่
สามารถก่อให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายประการ
อย่างไรก็ดีสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้เท่าที่ควรคือ
ผู้ทำวิจัย ขาดแรงจูงใจในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และขาดกฎหมายและระเบียบที่เอื้อต่อการสร้าง
- 9 -