Page 5 - แผนปฏิบัติการด้านการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม (พ.ศ. 2563-2565)
P. 5

บทสรุปผู้บริหาร


                       ประเทศไทย ต้องเผชิญกับปัญหาการผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมไม่ตรงกับความต้องการ

               และไม่ถึงขั้นที่จะใช้ประโยชน์ทางปฏิบัติได้จริงจัง เนื่องจากภาครัฐและเอกชนยังขาดความเป็นเอกภาพ และ

               มีช่องว่างในการขับเคลื่อนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรม และภาคเอกชนยังขาดความ

               เชื่อมั่นในผลงานวิจัยของนักวิจัยไทย ทำให้การดัดแปลงหรือปรับปรุงเทคโนโลยีนำเข้าและการพัฒนา
               เทคโนโลยีภายในเป็นไปด้วยความเชื่องช้า ในขณะที่สาขาเกษตร การกระจายและเผยแพร่เทคโนโลยีสู่ชนบท

               มีข้อจำกัด เนื่องจากเทคโนโลยีที่ใช้ไม่เหมาะสมกับสภาวะท้องถิ่น ในขณะที่ธุรกิจ SMEs ไม่มีโอกาสได้มี

               เทคโนโลยีที่ทันสมัยและสอดคล้องกับภูมิประเทศมาใช้ในการบริหารการผลิต ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์

               ค่อนข้างต่ำ และไม่สามารถแข่งขันได้ ประกอบกับขาดการผนึกกำลังระหว่างหน่วยภายใต้หน่วยงานของรัฐ

               จึงทำให้การพัฒนาและการนำเทคโนโลยีไปสู่การใช้ประโยชน์ยังไม่ครบวงจร และยังไม่สามารถลงทุนวิจัยและ
               พัฒนาได้ตามเป้าหมายที่กำหนดได้ ทำให้ประเทศไทยเผชิญการกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income

               Trap) ดังนั้น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 5 ถึงปัจจุบัน จึงให้ความสำคัญกับการใช้

               ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งในเชิงพื้นที่เพื่อลดความ

               เหลื่อมล้ำ และการเข้าถึงองค์ความรู้



                       ส านักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา
               วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการทุนวิจัยตาม

               อำนาจและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีพันธกิจด้านการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ ซึ่งได้มี

               แผนการนำงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เป็นรายปี และเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ได้รับ
               มอบหมาย ต่อมาได้ทบทวนและจัดทำแผนระยะ 3 ปี คือ “แผนปฏิบัติการด้านการใช้ประโยชน์งานวิจัยและ

               นวัตกรรม ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565)” ขึ้น เพื่อเป็นแผนที่นำทางในการดำเนินงานของบุคลากร วช.
               อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล




                            เป้ าประสงค์           เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการถ่ายทอด ต่อยอด

               ประยุกต์ใช้และขยายผลองค์ความรู้ ผลงานวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการใช้

               ประโยชน์ในเชิงนโยบาย เชิงสังคม เชิงเศรษฐกิจ (เกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ บริการ) เชิงสิ่งแวดล้อม และ
               เชิงวิชาการ เกิดเป็นผลสัมฤทธิ์ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศสู่อนาคต อีกทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของ

               ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการตอบโจทย์ท้าทายสังคมและสิ่งแวดล้อม เพิ่มขีดความสามารถในการ

               แข่งขันและยกระดับการพึ่งพาตนเองของประเทศ กระจายความเจริญสู่ภูมิภาคและลดความเหลื่อมล้ำในระดับ

               พื้นที่ด้วยการสร้างศักยภาพ และยกระดับการพึ่งพาตนเองของชุมชนและท้องถิ่นทั่วประเทศ สอดคล้องกับ

               ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนระดับประเทศ รวมทั้งยุทธศาสตร์และแผน ววน.

                                                          - ก -
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10