Page 8 - แผนปฏิบัติการด้านการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม (พ.ศ. 2563-2565)
P. 8

บทที่ 1 บทน า



                   1.1 หลักการและเหตุผล


                       ประเทศไทยต้อง เผชิญกับปัญหาการผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมไม่ตรงกับ

               ความต้องการ และไม่ถึงขั้นที่จะใช้ประโยชน์ทางปฏิบัติได้จริงจัง เนื่องจากภาครัฐและเอกชนยังขาด
               ความเป็นเอกภาพ และมีช่องว่างในการขับเคลื่อนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรม และ

               ภาคเอกชนยังขาดความเชื่อมั่นในผลงานวิจัยของนักวิจัยไทย ทำให้การดัดแปลงหรือปรับปรุงเทคโนโลยีนำเข้า
               และการพัฒนาเทคโนโลยีภายในเป็นไปด้วยความเชื่องช้า ในขณะที่สาขาเกษตร การกระจายและเผยแพร่

               เทคโนโลยีสู่ชนบท และ/หรือชุมชนท้องถิ่นมีข้อจำกัด เนื่องจากเทคโนโลยีที่ใช้ไม่เหมาะสมกับสภาวะท้องถิ่น

               ในขณะที่ธุรกิจ SMEs ไม่มีโอกาสได้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสอดคล้องกับภูมิประเทศเพื่อมาใช้ในการบริหาร
               การผลิต ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ค่อนข้างต่ำ และไม่สามารถแข่งขันได้ ประกอบกับขาดการผนึกกำลัง

               ระหว่างหน่วยงานภายใต้หน่วยงานของรัฐ จึงทำให้การพัฒนาและการนำเทคโนโลยีไปสู่การใช้ประโยชน์ยัง

               ไม่ครบวงจร และยังไม่สามารถลงทุนวิจัยและพัฒนาได้ตามเป้าหมายที่กำหนดได้ ทำให้ประเทศไทยเผชิญกับ
               กับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) ดังนั้น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 5

               ถึงปัจจุบัน จึงให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ

               สิ่งแวดล้อม ทั้งในเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และการเข้าถึงองค์ความรู้

                       ส านักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในช่วงปี พ.ศ. 2502-

               2562 มีบทบาทและหน้าที่ในการส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ได้มีสร้างกลไก ตลาดวิจัย และ

               เครื่องมือในการถ่ายทอด ต่อยอด และขยายผลผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ภายใต้แผนปฏิบัติ
               การ วช. อาทิ การจัดเวทีแสดงผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ (งานวันนักประดิษฐ์ และมหกรรมงานวิจัย

               แห่งชาติ (Thailand Research Expo) การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองด้วยวิจัยและนวัตกรรม (โครงการ
               จัดการความรู้การวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ โครงการการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อชุมชน

               สังคม) การพัฒนาเครือข่ายวิจัยภูมิภาคและศูนย์วิจัยชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก แผนงานการพัฒนา

               เศรษฐกิจอย่างยั่งยืนเพื่อยกระดับชุมชนฐานรากในเชิงพื้นที่บนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโด
               จีน เมาะลำใย รวมทั้งยังได้พัฒนาเครื่องมือวัดระดับความพร้อมใช้ทางด้านเทคโนโลยี (Technology

               Readiness Level) และทางด้านสังคม (Societal Readiness Level) เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานวิจัยและ

               นวัตกรรมมีความพร้อมใช้จริง









                                                          - 1 -
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13