Page 72 - แผนปฏิบัติการด้านการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม (พ.ศ. 2563-2565)
P. 72

คำศัพท์                                     ความหมาย

                   วิสาหกิจ    กิจการที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1.กิจการผลิตสินค้าที่มีจำนวนการจ้างงานไม่เกินห้าสิบคน

                  ขนาดย่อม  หรือมีรายได้ต่อปีไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท 2. กิจการให้บริการ กิจการค้าส่ง หรือกิจการค้า
                               ปลีก ที่มีจำนวนการจ้างงานไม่เกินสามสิบคนหรือมีรายได้ต่อปีไม่เกินห้าสิบล้านบาท


                               อ้างอิง : กฎหมายกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2562

                   วิสาหกิจ    กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดย

                    ชุมชน      คณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว
                               ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใดหรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อ

                               การพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่

                               คณะกรรมการประกาศกำหนด

                               อ้างอิง : พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548


                   วิสาหกิจ    กิจกรรมขนาดเล็กที่กำลังเริ่มเติบโตและใช้นวัตกรรมในการผลิตสินค้าและบริการ มี
                    เริ่มต้น   หลักเกณฑ์ที่สำคัญที่ใช้ประกอบในการพิจารณาวิสาหกิจเริ่มต้น 3 ประการ ดังนี้ เกณฑ์

                               ลักษณะของกิจการ ระยะเวลาดำเนินกิจการ และผลประกอบการต่อปีของวิสาหกิจเริ่มต้น

                               อ้างอิง : Thailand Towards Startup Nation, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.), 2561


                 เศรษฐกิจฐาน ระบบเศรษฐกิจที่รวมเอาทั้งการผลิตสินค้า บริการ และการใช้ประโยชน์สิ่งเหล่านี้โดย
                   ชีวภาพ      อาศัยทรัพยากร กระบวนการ และหลักการต่าง ๆ ทางชีววิทยา


                               อ้างอิง: เศรษฐกิจฐานชีวภาพ BIOECONOMY สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
                               เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2561


                 เศรษฐกิจฐาน ระบบเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น ที่สามารถพึ่งตนเอง มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและ
                     ราก       กัน มีคุณธรรม และเป็นระบบเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ กัน

                               ในพื้นที่ ทั้งสังคม ผู้คน ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเข้มแข็ง
                               และยั่งยืน นอกจากนี้เศรษฐกิจฐานรากจะต้องมีแนวทางการพัฒน าและ

                               การจัดการโดยชุมชนท้องถิ่นให้ครบวงจรมากที่สุด มีการสร้างทุนและกองทุนที่เข้มแข็ง มี

                               การผลิตพื้นฐาน การแปรรูป การบริการ การตลาด การผลิตอาหาร และความจำเป็น
                               พื้นฐานต่าง ๆ สำหรับคนในพื้นที่อย่างพอเพียง และพัฒนาเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมหรือเป็น

                               ธุรกิจของชุมชน

                               อ้างอิง : คู่มือการส่งเสริมการพัฒนา “ระบบเศรษฐกิจฐานราก” สถาบันพัฒนาองค์กร

                               ชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์,



                                                                - 56 -
   67   68   69   70   71   72   73