Page 3 - NRCT_119
P. 3

2 กุมภาพันธ

                                                        วันนักประดิษฐ




                                                                 นอมรําลึก
                                    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
                                               เนื่องในโอกาสทรงไดรับการทูลเกลาฯ จากสภาวิจัยแหงชาติ
                                                          ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ
                                               เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ 2536 จากการทรงประดิษฐคิดคน
                                                 “กังหันนํ้าชัยพัฒนา” ทรงไดรับพระราชสมัญญาวา
                                         “พระบิดาแหงการประดิษฐไทย” และ “พระบิดาแหงการประดิษฐโลก”








                 วันที่ 2 กุมภาพันธ 2536 เปนวันที่สภาวิจัยแหงชาติไดทูลเกลาฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวนํ้าหมุนชา
          แบบทุนลอย” หรือ “กังหันนํ้าชัยพัฒนา” แดพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งยังทรง
          พระชนมชีพอยู ซึ่งเปนผลงานที่พระองคทรงประดิษฐคิดคนอันเนื่องมาจากที่ทรงหวงใยตอสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยูในแหลงชุมชน
          เพื่อใชในการบําบัดนํ้าเสียที่เกิดจากแหลงชุมชนและแหลงอุตสาหกรรม นับวาเปนผลงานที่กอใหเกิดประโยชนตอประเทศชาติ ซึ่งนับไดวา
          เปนประดิษฐกรรมชิ้นที่ 9 ของโลก เปนประวัติศาสตรของการออกสิทธิบัตรแกสิ่งประดิษฐของไทย และทรงเปนพระมหากษัตริยพระองคแรก
          ของโลกที่ทรงไดรับสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ และเปนครั้งแรกที่ไดมีการจดทะเบียนออกสิทธิบัตรใหแกพระราชวงศ
                 โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 ไดกําหนดใหวันที่ 2 กุมภาพันธ ของทุกปเปน “วันนักประดิษฐ” เพื่อเทิดพระเกียรติ
          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการที่ไดทรงประดิษฐคิดคน “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวนํ้า
          หมุนชาแบบทุนลอย” หรือ “กังหันนํ้าชัยพัฒนา” และทรงไดรับการทูลเกลาฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ 2536 นอกจาก
          จะเปนการเทิดพระเกียรติแลว ยังเปนวันที่ระลึกถึงวันประวัติศาสตรของการจดทะเบียนและออก
          สิทธิบัตรใหแกพระมหากษัตริยพระองคแรกของโลก ที่ทรงคิดคนประดิษฐสิ่งที่เปนประโยชนตอ
          ประเทศชาติ และทรงไดรับพระราชสมัญญาวา “พระบิดาแหงการประดิษฐไทย”
                 ตอมาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2544 สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีไดแจงวา
          นายกรัฐมนตรีไดมีบัญชามอบหมายใหสํานักงานการวิจัยแหงชาติ (วช.) เปนหนวยงานกลาง
          ในการจัดงาน “วันนักประดิษฐ” ขึ้น เพื่อดําเนินการสงเสริมการคิดคนและประดิษฐสิ่งที่
          เปนประโยชนทางดานวิทยาศาสตร เทคโนโลยี และสิ่งแวดลอม อันนําไปสูการพัฒนาเศรษฐกิจ
          สังคม และความมั่นคงของประเทศ
                 นอกจากนี้ สํานักงานการวิจัยแหงชาติ (วช.) ยังไดรับการประสานจากสมาพันธ
          นักประดิษฐนานาชาติ (IFIA) สมาคมสงเสริมการประดิษฐ สาธารณรัฐเกาหลีใต หรือ “คิปา”
          (KIPA) และองคกรนักประดิษฐแหงรัสเซีย (Association Russian House) วา “ไดเตรียม
          ทูลเกลาฯ ถวายรางวัลนักประดิษฐโลกแดพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล
          อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระราชวังไกลกังวล ในวันที่ 9 กันยายน 2552 เพื่อ
          เทิดพระเกียรติพระองค และชื่นชมในพระปรีชาสามารถในการประดิษฐกังหันนํ้าชัยพัฒนา
          ฝนหลวง และแนวพระราชดําริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะผลงานกังหันนํ้า
          ชัยพัฒนา เปนสิ่งประดิษฐที่มาจากพระอัจฉริยภาพในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
          มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงคิดคนขึ้น เพื่อนํามาแกปญหาใหแก
          ประชาชน” จากพระอัจฉริยภาพดังกลาว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล
          อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ทรงไดรับการถวายพระราชสมัญญาจากองคกรการประดิษฐ
          นานาชาติวาเปน “พระบิดาแหงการประดิษฐโลก” และยังกําหนดใหวันที่ 2 กุมภาพันธ ของ
          ทุกปเปน “วันนักประดิษฐโลก (International Inventor Day Convention : IIDC)” ซึ่งแสดง
          ใหเห็นวาพระองคทรงเปนพระมหากษัตริยที่ไดรับการยกยองจากทั่วโลก

         สํานักงานการวิจัยแหงชาติ (วช.)
         National Research Council of Thailand (NRCT)                                                         3
   1   2   3   4   5   6   7   8